البحث

عبارات مقترحة:

المبين

كلمة (المُبِين) في اللغة اسمُ فاعل من الفعل (أبان)، ومعناه:...

الخبير

كلمةُ (الخبير) في اللغةِ صفة مشبَّهة، مشتقة من الفعل (خبَرَ)،...

الله

أسماء الله الحسنى وصفاته أصل الإيمان، وهي نوع من أنواع التوحيد...

อธิบายความหมายสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات التفسير - تفسير القرآن
บทความอรรถาธิบายความหมายสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ โดยสรุป ด้วยการแยกอธิบายแต่่ละอายะฮฺ พร้อมเสริมข้อคิดต่างๆ ที่ได้รับจากสูเราะฮฺนี้ และ้ย้ำถึงความสำคัญของสูเราะฮฺ ทีุ่มุสลิมจำเป็นจะเรียนรู้และปฏิบัติ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

التفاصيل

อธิบายสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ﴿تفسير سورة الفاتحة﴾ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์แปลโดย : ซุฟอัม อุษมานผู้ตรวจทาน : ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมออธิบายสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺมวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแห่งเอกองค์อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ความจำเริญและความศานติจงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา รวมถึงวงศ์วานของท่านและเหล่าสาวกของท่านทั้งมวล ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺผู้เดียวโดยไม่มีภาคีใดๆ ร่วมกับพระองค์ และขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ อนึ่ง แท้จริงแล้วในบรรดาสูเราะฮฺต่างๆ ของอัลกุรอานอันยิ่งใหญ่ที่เราอ่านกันทุกวันในละหมาด ทั้งที่เป็นฟัรฎูและสุนัต คือสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ มันคือสูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสูเราะฮฺต่างๆ ของอัลกุรอาน มีบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์จากหะดีษของ อบู สะอีด บิน อัล-มุอัลลา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า كُنْتُ أُصَلِّي فِي الْمَسْجِدِ فَدَعَانِي رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَلَمْ أُجِبْهُ، فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ، إِنِّي كُنْتُ أُصَلِّي، فَقَالَ: «أَلَمْ يَقُلْ اللَّهُ ﴿اسْتَجِيبُوا لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمْ لِمَا يُحْيِيكُمْ﴾»، ثُمَّ قَالَ لِي : «لَأُعَلِّمَنَّكَ سُورَةً هِيَ أَعْظَمُ السُّوَرِ فِي الْقُرْآنِ قَبْلَ أَنْ تَخْرُجَ مِنْ الْمَسْجِدِ»، ثُمَّ أَخَذَ بِيَدِي، فَلَمَّا أَرَادَ أَنْ يَخْرُجَ، قُلْتُ لَهُ: أَلَمْ تَقُلْ لَأُعَلِّمَنَّكَ سُورَةً هِيَ أَعْظَمُ سُورَةٍ فِي الْقُرْآنِ، قَالَ: ﴿الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ﴾ هِيَ السَّبْعُ الْمَثَانِي وَالْقُرْآنُ الْعَظِيمُ الَّذِي أُوتِيتُهُ». ความว่า  ครั้งหนึ่ง ขณะที่ฉันละหมาดอยู่ในมัสยิด แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้เรียกฉัน แต่ฉันก็ไม่ได้ขานรับท่าน เมื่อฉันเสร็จจากละหมาดฉันก็ได้กล่าวว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริง ตอนที่ท่านเรียกนั้นฉันกำลังละหมาดอยู่ ท่านกล่าวว่า “อัลลอฮฺไม่ได้ตรัสดอกหรือว่า ﴿اسْتَجِيبُواْ لِلّهِِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُم لِمَا يُحْيِيكُمْ﴾ (الأنفال : 24 )ความว่า “จงขานรับต่ออัลลอฮฺและศาสนทูต เมื่อเขาได้เรียกพวกเจ้าสู่สิ่งที่ให้ชีวิตแก่พวกเจ้าเอง” (อัล-อันฟาล 24)แล้วท่านก็บอกว่า “ฉันจะสอนเจ้าถึงสูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอาน ก่อนที่เจ้าจะออกไปจากมัสยิด” แล้วท่านก็จับมือฉันไว้ เมื่อถึงเวลาที่ท่านจะออกไป ฉันก็กล่าวแก่ท่านว่า ท่านไม่ได้บอกแก่ฉันดอกหรือว่าจะสอนสูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอานให้? ท่านก็ตอบฉันว่า “คือ อัลหัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีน (หมายถึง สูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ) มันคือเจ็ดอายะฮฺที่ถูกทวนอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นอัลกุรอานอันยิ่งใหญ่ที่ถูกมอบให้แก่ฉัน” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 4474)อัต-ติรมิซีย์ ได้บันทึกในตำราอัส-สุนันของท่านจากหะดีษของอุบัยย์ บิน กะอับ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، مَا أُنْزِلَتْ فِي التَّوْرَاةِ وَلَا فِي الْإِنْجِيلِ وَلَا فِي الزَّبُورِ وَلَا فِي الْفُرْقَانِ مِثْلُهَا، وَإِنَّهَا سَبْعٌ مِنْ الْمَثَانِي وَالْقُرْآنُ الْعَظِيمُ الَّذِي أُعْطِيتُهُ» ความว่า “ขอสาบานด้วยผู้ซึ่งชีวิตข้าอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่ถูกประทานลงมาในคัมภีร์เตารอต คัมภีร์อินญีล คัมภีร์ซะบูรฺ และคัมภีร์ อัลกุรอาน ที่เทียบเท่าเหมือนกับสูเราะฮฺนี้ แท้จริงมันคือเจ็ดโองการที่ถูกอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเป็นอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกมอบให้แก่ฉัน” (อัต-ติรมิซีย์ หะดีษที่ 2875)อิมามมุสลิมในตำราเศาะฮีหฺของท่าน ได้บันทึกหะดีษจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า بَيْنَمَا جِبْرِيلُ قَاعِدٌ عِنْدَ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- سَمِعَ نَقِيضًا مِنْ فَوْقِهِ فَرَفَعَ رَأْسَهُ فَقَالَ هَذَا بَابٌ مِنَ السَّمَاءِ فُتِحَ الْيَوْمَ لَمْ يُفْتَحْ قَطُّ إِلاَّ الْيَوْمَ فَنَزَلَ مِنْهُ مَلَكٌ فَقَالَ هَذَا مَلَكٌ نَزَلَ إِلَى الأَرْضِ لَمْ يَنْزِلْ قَطُّ إِلاَّ الْيَوْمَ فَسَلَّمَ وَقَالَ أَبْشِرْ بِنُورَيْنِ أُوتِيتَهُمَا لَمْ يُؤْتَهُمَا نَبِىٌّ قَبْلَكَ فَاتِحَةُ الْكِتَابِ وَخَوَاتِيمُ سُورَةِ الْبَقَرَةِ لَنْ تَقْرَأَ بِحَرْفٍ مِنْهُمَا إِلاَّ أُعْطِيتَهُ.ความว่า  ขณะที่มะลาอิกะฮฺญิบรีลนั่งอยู่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็พลันได้ยินเสียงหนึ่งจากเบื้องบน ท่านได้เงยหน้าขึ้นและกล่าวว่า นี่คือประตูหนึ่งแห่งท้องฟ้าที่ถูกเปิดออก มันไม่เคยถูกเปิดเลยนอกเสียจากในวันนี้เท่านั้น แล้วมะลาอิกะฮฺท่านหนึ่งก็ลงมาจากประตูนั้น ญิบรีลได้กล่าวว่า นี่คือมะลาอิกะฮฺที่ลงมายังโลก เขาไม่เคยลงมาเลยนอกจากในวันนี้เท่านั้น แล้วมะลาอิกะฮฺตนนั้นก็ให้สลาม จากนั้นก็กล่าวว่า ท่านจงรับข่าวดีเถิด ด้วยสองรัศมีที่ถูกมอบให้แก่ท่าน มันไม่เคยถูกมอบให้แก่นบีคนใดก่อนหน้าท่านมาก่อนเลย นั่นคือ สูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ และโองการปิดท้ายสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ท่านจะไม่อ่านอายะฮฺใดของมันเว้นแต่จะถูกมอบให้ตามที่อ่านนั้น (มุสลิม หะดีษที่ 806)พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า  ﴿الْحَمْدُ للّهِِ﴾ “มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแห่ง อัลลอฮฺ” คำว่า อัล-หัมดุ คือการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺด้วยคุณลักษณะต่างๆ อันสมบูรณ์ และด้วยกิริยาการกระทำต่างๆ ของพระองค์ที่เวียนอยู่ระหว่างความเอื้อเฟื้อการุณและความยุติธรรม ดังนั้น การสรรเสริญอันสมบูรณ์นั้นจึงเป็นสิทธิแห่งพระองค์ในทุกด้านๆคำว่า ﴿رَبِّ الْعَالَمِينَ﴾ “พระผู้อภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย”  อัร-ร็อบบ์ หมายถึง ผู้ที่รับผิดชอบดูแลโลกต่างๆ ทั้งหลาย เป็นผู้ที่ให้บังเกิดสรรพสิ่งจากที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นผู้ประทานปัจจัยต่างๆ อันยิ่งใหญ่ซึ่งถ้าไม่มีปัจจัยเหล่านี้พวกเขาก็จะไม่สามารถคงอยู่ได้ ดังนั้น ไม่ว่านิอฺมัตหนึ่งนิอฺมัตใดก็ล้วนแล้วมาจากพระองค์ทั้งสิ้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า﴿وَمَا بِكُم مِّن نِّعْمَةٍ فَمِنَ اللّهِِ﴾ (النحل : 53 )ความว่า “ไม่ว่านิอฺมัตใดที่อยู่กับเจ้า ก็ล้วนแล้วแต่มาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น” (อัน-นะหฺลุ 53)อัร-ร็อบบ์ หมายถึงผู้ครอบครอง ผู้คอยจัดการดูแล ในทางภาษาใช้กับผู้ที่เป็นเจ้านาย และผู้ที่รับหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย คำนี้จะไม่ถูกใช้กับผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺเว้นแต่ต้องมีคำอื่นมาพาดพิงเสริมอยู่ด้วย เช่น ร็อบบ์ อัด-ดารฺ (เจ้าของบ้าน) และจะต้องไม่กล่าวคำว่า อัร-ร็อบบ์ ตัวเดียวโดดๆ กับผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺเท่านั้นพระดำรัสที่ว่า ﴿لرَّحْمٰـنِ الرَّحِيمِ﴾  “ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตายิ่ง”  เป็นสองพระนามที่บ่งถึงว่าพระองค์อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอันกว้างขวางยิ่งใหญ่ ที่ห้อมล้อมครอบคลุมทุกๆ สิ่ง รวมถึงสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต พระองค์ได้กำหนดความเมตตาของพระองค์ให้กับบรรดาผู้คนที่ยำเกรง ที่ได้ปฏิบัติตามเหล่านบีและเราะสูลของพระองค์ ผู้คนเหล่านี้จะได้รับความเมตตาโดยไม่จำกัด ส่วนคนอื่นๆ นั้นจะได้รับเมตตาเพียงบางส่วนเท่านั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า﴿وَرَحْمَتِي وَسِعَتْ كُلَّ شَيْءٍ فَسَأَكْتُبُهَا لِلَّذِينَ يَتَّقُونَ﴾ (الأعراف : 156 )ความว่า “และเมตตาของข้านั้นกว้างขวางครอบคลุมทุกๆ สิ่ง  ดังนั้น ข้าจะกำหนดมันให้กับบรรดาผู้ที่ยำเกรงทั้งหลาย” (อัล-อะอฺรอฟ 156)อิมามมุสลิมได้บันทึกหะดีษจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «لَوْ يَعْلَمُ الْمُؤْمِنُ مَا عِنْدَ اللَّهِ مِنَ الْعُقُوبَةِ مَا طَمِعَ بِجَنَّتِهِ أَحَدٌ، وَلَوْ يَعْلَمُ الْكَافِرُ مَا عِنْدَ اللَّهِ مِنَ الرَّحْمَةِ مَا قَنِطَ مِنْ جَنَّتِهِ أَحَدٌ»ความว่า “หากว่าผู้ศรัทธารู้ถึงการลงโทษของอัลลอฮฺ ก็จะไม่มีใครสักคนหนึ่งเลยที่ยังหวังในสวรรค์ของพระองค์อีก และหากผู้ปฏิเสธศรัทธารู้ถึงความเมตตาของอัลลอฮฺ ก็จะไม่มีใครสักคนเลยที่รู้สึกสิ้นหวังว่าจะได้เข้าสวรรค์ของพระองค์” (มุสลิม หะดีษที่ 2755)พระดำรัสของพระองค์ที่ว่า﴿مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ﴾  “ผู้ทรงครอบครองในวันแห่งการตอบแทน” หมายถึง ผู้ทรงจัดการทุกสิ่งในวันนั้น การที่ระบุเจาะจงว่าทรงครอบครองในวันแห่งการตอบแทนนั้น ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ไม่ทรงถือสิทธิการครอบครองในวันอื่นๆ เพราะพระองค์เป็นผู้ครอบครองทั้งในโลกนี้และวันอาคิเราะฮฺ แต่ที่ระบุเจาะจงถึงวันแห่งการตอบแทนนั้นก็เพราะว่าในวันนั้นไม่มีผู้ใดอีกที่อาจหาญกล่าวอ้างต่อหน้าพระองค์ ในวันนั้นใครก็ตามไม่สามารถที่จะกล่าวถ้อยคำใดๆ ได้เว้นแต่ด้วยการอนุมัติของพระองค์เท่านั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า﴿يَوْمَ يَقُومُ الرُّوحُ وَالْمَلَائِكَةُ صَفّاً لَّا يَتَكَلَّمُونَ إِلَّا مَنْ أَذِنَ لَهُ الرحْمَـٰنُ وَقَالَ صَوَاباً﴾ (النبأ : 38 )ความว่า “วันที่ญิบรีลและมะลาอิกะฮฺทั้งหลายจะยืนเป็นแถว พวกเขาไม่มีใครที่กล่าวถ้อยคำออกมาเว้นแต่ผู้ที่พระองค์ผู้ทรงเมตตาได้อนุมัติเท่านั้น และเขาจะกล่าวแต่ความสัจจริง” (อัน-นะบะอ์ 38)อัลลอฮฺยังได้ตรัสอีกว่า﴿وَمَا أَدْرَاكَ مَا يَوْمُ الدِّينِ، ثُمَّ مَا أَدْرَاكَ مَا يَوْمُ الدِّينِ، يَوْمَ لَا تَمْلِكُ نَفْسٌ لِّنَفْسٍ شَيْئاً وَالْأَمْرُ يَوْمَئِذٍ لِلَّهِ﴾ (الإنفطار : 17 - 19)ความว่า “อะไรที่เจ้ารู้เกี่ยวกับวันแห่งการตอบแทน แล้วอะไรเล่าคือสิ่งที่เจ้ารู้เกี่ยวกับวันแห่งการตอบแทน วันที่ชีวิตหนึ่งไม่สามารถให้สิ่งใดแก่อีกชีวิตหนึ่งได้ การจัดการในวันนั้นเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺผู้เดียวเท่านั้น” (อัล-อินฟิฏอรฺ 17-19)﴿رَفِيعُ الدَّرَجَاتِ ذُو الْعَرْشِ يُلْقِي الرُّوحَ مِنْ أَمْرِهِ عَلَى مَن يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ لِيُنذِرَ يَوْمَ التَّلَاقِ، يَوْمَ هُم بَارِزُونَ لَا يَخْفَى عَلَى اللَّهِ مِنْهُمْ شَيْءٌ لِّمَنِ الْمُلْكُ الْيَوْمَ لِلَّهِ الْوَاحِدِ الْقَهَّارِ﴾ (غافر :15- 16)ความว่า “ผู้ทรงตำแหน่งอันสูง เจ้าแห่งบัลลังก์ ทรงประทานวิวรณ์ตามพระบัญชาของพระองค์แก่ผู้ที่ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ เพื่อเตือนให้รำลึกถึงวันแห่งการพบปะร่วมกัน (วันกิยามะฮฺ) วันที่พวกเขาจะปรากฏตัวออกมา ไม่มีสิ่งใดในตัวพวกเขาที่จะซ่อนเร้นไปจากอัลลอฮฺ  อำนาจในวันนี้เป็นของผู้ใดเล่า? แน่นอน มันเป็นของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะผู้ทรงพิชิตโดยเด็ดขาด” (ฆอฟิรฺ 15-16)อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม ได้บันทึกหะดีษจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «يَا فَاطِمَةُ بِنْتَ رَسُولِ اللَّهِ، سَلِينِي مَا شِئْتِ مِنْ مَالِيْ، لاَ أُغْنِي عَنْكِ مِنَ اللَّهِ شَيْئًا»ความว่า “โอ้ ฟาฏิมะฮฺ บุตรีของเราะสูลุลลอฮฺ จงขอสิ่งที่เธอต้องการจากทรัพย์สินของฉันเถิด(หมายถึงให้ขออะไรก็ตามในสิ่งที่ท่านสามารถช่วยเหลือได้ในโลกดุนยา) เพราะฉันไม่สามารถที่จะช่วยเธอจากอัลลอฮฺแม้แต่ประการเดียวได้เลย” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 2753 มุสลิม 204)อิบนุ อับบาส กล่าวว่า ไม่มีผู้ใดที่มีสิทธิครอบครองการตัดสินในวันนั้นพร้อมกับอัลลอฮฺเหมือนที่พวกเขาเคยครอบครองในโลกดุนยา วันแห่งการตอบแทนก็คือวันแห่งการสอบสวนสรรพสิ่งทั้งมวล มันคือวันกิยามะฮฺ พระองค์จะทรงตอบแทนพวกเขาด้วยการงานของพวกเขา ถ้าดีก็จะได้ผลตอบแทนที่ดี ถ้าชั่วก็จะได้ผลตอบแทนชั่ว ยกเว้นผู้ที่พระองค์ทรงอภัยให้บรรดาเศาะหาบะฮฺและตาบิอีนหลายคนได้ให้ความหมายในเชิงเดียวกันนี้พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ﴾  ﴿  ความว่า “พระองค์เท่านั้นที่พวกเราเคารพอิบาดะฮฺ และพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ”  คำว่า อิบาดะฮฺ นั้นคือความรักที่สมบูรณ์ การน้อบน้อมที่สมบูรณ์ เป็นความหวาดเกรงและรู้สึกต่ำต้อย การที่นำเอา มัฟอูลฺ(ประโยคกรรม) คือคำว่า “อิยยากะ” ขึ้นมาก่อนและทวนอีกครั้งนั้น ก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญและการเจาะจง ความหมายของมันก็คือ เราจะไม่อิบาดะฮฺต่อผู้ใดนอกจากต่อพระองค์เท่านั้น เราจะไม่พึ่งพิงผู้ใดนอกจากพระองค์ นี่คือสภาพของการเชื่อฟังโดยสมบูรณ์ คำสอนทั้งหมดในศาสนาอิสลามจะยึดและนำกลับไปสู่หลักสองประการนี้ นี่คือเหตุผลที่สะลัฟบางท่านกล่าวว่า อัล-ฟาติหะฮฺ คือความลับของอัลกุรอาน และความลับของอัล-ฟาติหะฮฺก็คือประโยคที่ว่า إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ﴾  ﴿  ท่อนแรก “อิยฺยากะนะอฺบุดุ” คือการปัดและปฏิเสธการตั้งภาคี ส่วนท่อนที่สอง “อิยฺยากะนัสตะอีน” คือการปัดและปฏิเสธความสามารถและพลังอำนาจอื่นจากอัลลอฮฺแม้แต่การละหมาดก็ยังถือว่าใช้ไม่ได้หากผู้ละหมาดไม่อ่านสูเราะฮฺนี้ อัล-บุคอรีย์และมุสลิมได้รายงานหะดีษจาก อุบาดะฮฺ บิน อัศ-ศอมิต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «لَا صَلَاةَ لِمَنْ لَمْ يَقْرَأْ بِفَاتِحَةِ الْكِتَابِ»ความว่า “ไม่มีการละหมาด สำหรับผู้ที่ไม่ได้อ่านอัล-ฟาติหะฮฺ” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 756 มุสลิม หะดีษที่ 394)พระดำรัสที่ว่า  ﴿اهدِنَـا الصِّرَاطَ المُستَقِيمَ﴾ “ขอทรงชี้ทางเราสู่ทางอันเที่ยงตรงด้วยเถิด” นี่คือการขอดุอาอ์อันชัดเจน คือส่วนที่บ่าวจะได้รับจากอัลลอฮฺ เป็นการนอบน้อมและวอนขอจากพระองค์อย่างจริงจังเพื่อให้พระองค์ประทานความปรารถนาอันยิ่งใหญ่นี้ ไม่มีสิ่งใดอีกที่ถูกมอบให้กับใครก็ตามในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺจะยิ่งใหญ่ไปกว่าสิ่งนี้ เช่นที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงบุญคุณที่ได้มอบให้กับศาสนทูตของพระองค์หลังการพิชิตมักกะฮฺว่า ﴿وَيَهْدِيَكَ صِرَاطاً مُّسْتَقِيماً﴾ (الفتح : 2 )ความว่า “และเพื่อพระองค์จะทรงชี้ทางเจ้าสู่ทางอันเที่ยงตรง” (อัล-ฟัตหฺ 2)คำว่า ฮิดายะฮฺ หรือการชี้ทางตรงนี้ หมายถึงการประทานเตาฟีกและการแนะนำ ดังนั้น ให้บ่าวของอัลลอฮฺได้พิจารณาดูสิว่าเขามีความจำเป็นต่อเรื่องนี้มากเพียงใด การชี้ทางดังที่ว่านี้หมายรวมถึงการให้ความรู้ที่มีประโยชน์ การทำอะมัลที่ดีอย่างต่อเนื่อง สมบูรณ์ และยืนหยัดมั่นคงบนเส้นทางดังกล่าวจนกว่าวันที่เขาจะได้พบกับอัลลอฮฺ คำว่า อัศ-ศิรอฏ หมายถึง เส้นทางที่ชัดเจนและเที่ยงตรงไม่มีการบิดเบี้ยวคดเคี้ยว ความหมายของมันก็คือศาสนาที่พระองค์ประทานลงมายังศาสนทูตของพระองค์ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นเส้นทางที่พระองค์ได้ชี้ให้แก่ท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน พระองค์ได้ตรัสว่า ﴿وَمَن يُطِعِ اللهَ وَالرَّسُولَ فَأُوْلَـئِكَ مَعَ الَّذِينَ أَنْعَمَ اللهُ عَلَيْهِم مِّنَ النَّبِيِّينَ وَالصِّدِّيقِينَ وَالشُّهَدَاء وَالصَّالِحِينَ وَحَسُنَ أُولَـئِكَ رَفِيقاً﴾ (النساء : 69)ความว่า “ผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺและศาสนทูต ชนเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงกรุณาเมตตาแก่พวกเขา อันได้แก่บรรดานบี(อันบิยาอ์) บรรดาผู้ที่เชื่อโดยดุษฎี(ศิดดีกีน) บรรดาผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ(ชุฮะดาอ์) และบรรดาผู้ที่ประพฤติดี(ศอลิหูน) และชนเหล่านี้แหละเป็นเพื่อนที่ดียิ่งแล้ว” (อัน-นิสาอ์ 69)ตัวท่านเองเวลาที่ท่านละหมาด ท่านก็ได้ขอให้อัลลอฮฺประทานการชี้นำให้ท่านได้อยู่บนเส้นทางของพวกเขาเหล่านั้น และนับเป็นหน้าที่ประการหนึ่งสำหรับท่านที่จะต้องเชื่อว่าเส้นทางของอัลลอฮฺนั้นคือเส้นทางที่เที่ยงตรง และสิ่งที่ค้านกับเส้นทางนั้นไม่ว่าจะเป็นความรู้หรือการอิบาดะฮฺต่างๆ ล้วนแล้วไม่เที่ยงตรง ทว่ามันย่อมคดเคี้ยวแน่นอน นี่คือภารกิจแรกที่แฝงอยู่ในอายะฮฺนี้ ซึ่งจำเป็นต้องเชื่อตามที่ได้กล่าวมาด้วยหัวใจ และผู้ศรัทธาจำเป็นที่จะต้องระวังจากการล่อลวงของชัยฏอน การล่อลวงดังกล่าวก็คือการที่เราเชื่อแบบรวมๆ แต่กลับละทิ้งในรายละเอียดปลีกย่อย เพราะคนส่วนใหญ่ที่ตกศาสนานั้นมักจะเชื่อว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อยู่บนเส้นทางแห่งสัจธรรมและเชื่อว่าสิ่งที่ค้านกับท่านย่อมเป็นสิ่งที่โมฆะ แต่เมื่อปรากฏสิ่งใดที่ค้านกับอารมณ์ของตนก็จะกลับลำและมีสภาพเหมือนที่อัลลอฮฺได้อธิบายว่า﴿كُلَّمَا جَاءهُمْ رَسُولٌ بِمَا لاَ تَهْوَى أَنْفُسُهُمْ فَرِيقاً كَذَّبُواْ وَفَرِيقاً يَقْتُلُونَ﴾ (المائدة : 70)ความว่า “ทุกครั้งที่ศาสนทูตได้นำมาซึ่งสิ่งที่อารมณ์ของพวกเขาไม่เห็นชอบ กลุ่มหนึ่งก็ปฏิเสธ และอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ก่อการฆาตกรรม(ศาสนทูตของ อัลลอฮฺ)” (อัล-มาอิดะฮฺ 70)ส่วนพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า ﴿غَيرِ المَغضُوبِ عَلَيهِمْ وَلاَ الضَّالِّين﴾ “ไม่ใช่หนทางของบรรดาผู้ที่ถูกโกรธกริ้วและบรรดาผู้ที่หลงทาง”  ผู้ที่ถูกโกรธ หมายถึง บรรดาผู้รู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขารู้ ส่วนผู้หลงทางก็คือผู้ที่ทำโดยปราศจากความรู้ อันแรกนั้นคือคุณลักษณะของพวกยิว ส่วนอันที่สองคือคุณลักษณะของพวกคริสต์ พวกเราหลายคนเวลาดูตัฟซีรอรรถาธิบายอัลกุรอานก็จะพบว่าคนที่ถูกโกรธคือพวกยิว และคนที่หลงทางคือพวกคริสต์ แล้วคนที่ไม่รู้เรื่องบางคนก็จะคาดเดาว่าอายะฮฺนี้เจาะจงคนทั้งสองกลุ่มนี้เท่านั้นไม่ได้หมายรวมถึงเขาด้วย ทั้งๆ ที่เขายอมรับว่าอัลลอฮฺได้กำหนดให้เขาขอด้วยดุอาอ์นี้ และต้องขอความคุ้มครองจากคุณลักษณะต่างๆ ดังกล่าวด้วย สุบหานัลลอฮฺ ! เป็นได้อย่างไรกันเล่า ทั้งๆ ที่อัลลอฮฺได้สอนดุอาอ์นี้แก่เขา ได้เลือกมันให้เขาแล้ว ได้บังคับให้เขาขอด้วยดุอาอ์ดังกล่าว แต่เขากลับไม่ระวังตัวจากคุณลักษณะที่ว่านั้นเลย ไม่เคยนึกว่าตัวเองจะประพฤติตนเช่นคนเหล่านั้น นี่แหละที่เรียกว่าการคาดเดาไม่ดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ดู ริสาละฮฺ อัช-ชัยคฺ มุหัมมัด บิน อับดิลวะฮาบ ในการตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ หน้า 18-27)เป็นการมุสตะหับ(ส่งเสริมให้ทำ)สำหรับผู้ที่อ่านสูเราะฮฺนี้จบ ให้เขากล่าวว่า “อามีน” ความหมายของมันก็คือ โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงตอบรับด้วยเถิด อัล-บุคอรีย์และมุสลิมได้รายงานหะดีษจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า «إِذَا أَمَّنَ الإِمَامُ فَأَمِّنُوا، فَإِنَّ مَنْ وَافَقَ تَأْمِينُهُ تَأْمِينَ الْمَلاَئِكَةِ غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ»ความว่า “เมื่ออิมามกล่าวอามีน พวกท่านก็จงกล่าวอามีนตาม เพราะแท้จริงแล้ว ผู้ใดที่กล่าวอามีนตรงกับการกล่าวอามีนของมะลาอิกะฮฺ เขาก็จะถูกอภัยโทษในบาปที่ผ่านมา” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 780 มุสลิม หะดีษที่ 410)โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานให้อัลกุรอานนี้เป็นที่ร่มรื่นแก่หัวใจเรา เป็นรัศมีแก่อกของเรา เป็นการปัดเป่าความทุกข์โศกของเรา เป็นการขจัดความกังวลของเรา ขอทรงทำให้มันเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเรา และเป็นหลักฐานพยานแก่เราในวันกิยามะฮฺด้วยเถิดมวลการสรรเสริญนั้นเป็นของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอพระองค์ทรงประทานความจำเริญและความศานติแด่นบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่านและบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งมวลเทอญ