البحث

عبارات مقترحة:

القدوس

كلمة (قُدُّوس) في اللغة صيغة مبالغة من القداسة، ومعناها في...

الباسط

كلمة (الباسط) في اللغة اسم فاعل من البسط، وهو النشر والمدّ، وهو...

الغفار

كلمة (غفّار) في اللغة صيغة مبالغة من الفعل (غَفَرَ يغْفِرُ)،...

คุณค่าของชีวิต

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الدعوة إلى الإسلام - حاجة البشرية إلى الإسلام
หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.

التفاصيل

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประเสริฐ ซึ่งอัลลอฮฺได้ให้บังเกิดมาบนโลกนี้ อัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์ให้มีรูปลักษณ์ที่งดงาม เพียบพร้อมด้วยสติปัญญาและความนึกคิด ไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า لَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ فِي أَحْسَنِ تَقْوِيمٍ  (سورة التين:4) “แท้จริงแล้วเราได้สร้างมนุษย์ขึ้นด้วยลักษณะที่ดียิ่ง” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัต-ตีน: 4) พระองค์ได้กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมายแก่เผ่าพันธุ์มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณต่างๆ สัตว์ทุกชนิดทุกประเภท และธรรมชาติอื่นๆ อีกมากมาย เช่นที่พระองค์ได้มีดำรัสไว้ว่า هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُم مَّا فِي الأَرْضِ جَمِيعاً (سورة البقرة:29) “พระองค์คือผู้ทรงสร้างสิ่งต่างๆ ทั้งหมดบนแผ่นดินเพื่อพวกเจ้า” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 29) สิ่งเหล่านี้นับเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติและคุณค่าที่อัลลอฮฺได้ให้ความสำคัญกับมนุษย์ พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า وَلَقَدْ كَرَّمْنَا بَنِي آدَمَ وَحَمَلْنَاهُمْ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ وَرَزَقْنَاهُم مِّنَ الطَّيِّبَاتِ وَفَضَّلْنَاهُمْ عَلَى كَثِيرٍ مِّمَّنْ خَلَقْنَا تَفْضِيلاً (سورة الإسراء:70)  “และแท้จริงแล้วเราได้มอบเกียรติให้แก่ลูกหลานอาดัม (คือเผ่าพันธุ์มนุษย์) เราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางน้ำ ได้ประทานปัจจัยที่ดีต่างๆ และได้ยกย่องให้เกียรติพวกเขาเหนือสิ่งอื่นที่เราได้สร้างขึ้นมา” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ: 70) มนุษย์จึงต้องรู้จักคุณค่าของตัวเอง ว่าตนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างที่ได้รับการประทานมากมายจากอัลลอฮฺ ทั้งนี้ เพื่อให้มนุษย์รู้จักใช้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี พร้อมทั้งระลึกถึงคุณความดีของอัลลอฮฺที่ได้ประทานปัจจัยต่างๆ มากมายให้แก่เขา ชีวิตของมนุษย์จะไม่มีคุณค่าใดๆ ถ้าหากไม่สำนึกตนว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ และดำเนินชีวิตบนเส้นทางแห่งคุณธรรมตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ ยิ่งถ้าหากเขาใช้สิ่งต่างๆ ที่พระองค์ประทานให้มาในทางที่ผิด ประกอบความชั่ว และไม่ระลึกถึงคุณของพระองค์ ชีวิตของเขาก็จะเป็นชีวิตที่น่าเหยียดหยาม เพราะกลายเป็นผู้เนรคุณและไม่รู้จักตัวเอง คุณค่าของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการรู้จักธาตุแท้ของตัวเองเป็นอันดับแรก รู้จักว่าตนนั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความกรุณาของอัลลอฮฺ เมื่อรู้เช่นนั้นแล้วก็ต้องแสดงความขอบคุณต่อพระองค์ด้วยการปฏิบัติตนตามคำสั่งที่พระองค์ได้สั่งใช้ การปฏิบัติตนด้วยความเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺจะก่อให้เกิดผลดีต่อตัวมนุษย์เอง เพราะเป็นการผูกสัมพันธ์กับพระองค์ตลอดเวลา สิ่งนี้นั่นเองที่ทำให้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีคุณค่า และทำให้มนุษย์รู้จักคุณค่าของตัวเอง นอกจากการสร้างความผูกพันกับอัลลอฮฺเพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเองแล้ว การอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมก็เป็นคุณค่าของชีวิตอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่าคุณค่าในระดับแรก การอุทิศตนอาจจะอยู่ในรูปแบบของการช่วยส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของสังคม การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ การร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมที่ดีและช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดความชั่วร้ายในสังคม เป็นต้น อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า وَمَنْ أَحْسَنُ قَوْلاً مِّمَّن دَعَا إِلَى اللَّهِ وَعَمِلَ صَالِحاً وَقَالَ إِنَّنِي مِنَ الْمُسْلِمِينَ (سورة فصلت:33)  “ผู้ใดอีกที่จะดีกว่าบุคคลผู้ซึ่งเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ (คือร่วมกันเชิญชวนผู้คนให้เคารพภักดีอัลลอฮฺและดำเนินชีวิตตามหนทางของพระองค์) โดยเขาได้ปฏิบัติความดีงามและได้กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นหนึ่งในบรรดามุสลิมผู้มอบตน (ต่ออัลลอฮฺ)” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ ฟุศศิลัต: 33) - ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน 1.คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่การรู้จักตัวเองว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและดำเนินชีวิตอยู่ในหนทางของพระองค์ 2.มนุษย์ควรระลึกถึงคุณความดีและเกียรติที่อัลลอฮฺได้ประทานให้แก่เขาอยู่เสมอ 3. การเชื่อฟังและเคารพภักดีอัลลอฮฺจะก่อให้เกิดคุณค่ากับตัวมนุษย์เอง เพราะเป็นการสร้างสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ 4.การอุทิศตนเพื่อความดีงามของสังคมโดยส่วนรวมเป็นคุณค่าที่อิสลามสนับสนุนให้ทำเป็นอย่างยิ่ง - คำถามหลังบทเรียน 1. ท่านคิดว่ามนุษย์ประเสริฐกว่าสิ่งอื่นๆ อย่างไรบ้าง? 2.ท่านคิดว่าชีวิตของท่านมีคุณค่าหรือไม่? และอะไรคือคุณค่าในชีวิตของท่าน? ท่านคิดว่าท่านสามารถสร้างคุณค่าในชีวิตของท่านได้อย่างไรบ้าง?