البحث

عبارات مقترحة:

النصير

كلمة (النصير) في اللغة (فعيل) بمعنى (فاعل) أي الناصر، ومعناه العون...

الجواد

كلمة (الجواد) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فَعال) وهو الكريم...

الرب

كلمة (الرب) في اللغة تعود إلى معنى التربية وهي الإنشاء...

ละหมาดเมื่อถึงเวลา

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الصلاة
หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.

التفاصيل

มีโองการจากอัลกุรอานและจากอัลหะดีษหลายบทด้วยกันที่กำชับมิให้เราละทิ้งการละหมาดโดยไม่มีเหตุที่ถูกต้องทางศาสนา อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า فَوَيْلٌ لِّلْمُصَلِّينَ، الَّذِينَ هُمْ عَن صَلَاتِهِمْ سَاهُونَ (سورة الماعون:4-5) “ดังนั้นความหายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำละหมาด โดยที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา (หมายถึงปล่อยปะละเลยการละหมาด จนต้องละหมาดนอกเวลา)” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอูน: 4-5)  อัลลอฮฺได้กล่าวถึงคุณลักษณะคนมุนาฟิกไว้ว่า وَإِذَا قَامُواْ إِلَى الصَّلاَةِ قَامُواْ كُسَالَى (سورة النساء:142)  “และเมื่อพวกเขา (พวกมุนาฟิก) ยืนทำการละหมาด พวกเขาจะกระทำด้วยความเกียจคร้าน” (อัลกุรอาน    สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ: 142) ผู้ที่ประกอบการละหมาดด้วยความเกียจคร้าน ทำเพื่อให้เสร็จแล้วๆ โดยไม่คำนึงถึงความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์อัลลอฮฺหรือความถูกต้องสมบูรณ์ของการละหมาดในแต่ละครั้ง คือ คุณลักษณะของคน       มุนาฟิก ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนที่เจ็บปวดในวันอาคิเราะฮฺ นั่นคือการลงโทษในนรกชั้นต่ำสุด การละหมาดตรงต่อเวลาถือเป็นภารกิจที่ประเสริฐยิ่งกว่าการทำดีต่อพ่อแม่และการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ ซึ่งมีระบุในหะดีษว่า มีผู้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าศาสนกิจอะไรที่ประเสริฐที่สุด? ท่านตอบว่า “การละหมาดตรงต่อเวลา หลังจากนั้นก็คือการทำดีต่อพ่อแม่ และหลังจากนั้นก็คือการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม) อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน คือ การละหมาดร่วมกันหรือที่เรียกกันว่า “ละหมาดญะมาอะฮฺ”   ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชาติของท่านประกอบการละหมาด        ญะมาอะฮฺในมัสญิด โดยที่ผู้ที่ประกอบการละหมาดแบบญะมาอะฮฺนั้นจะดีกว่าผู้ที่ละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า ดังที่มีหะดีษความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺจะดีกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า” (รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์) การที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ส่งเสริมให้ประกอบการละหมาดญะมาอะฮฺในมัสญิดนั้นก็เพราะว่ามัสญิดคือศูนย์กลางของการพัฒนาและขัดเขลาจิตใจของมุสลิมในสังคม ฉะนั้นการที่เราประกอบการละหมาดญะมาอะฮฺในมัสญิด จึงเป็นการแสดงออกและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอิสลาม อัลลอฮฺได้ชมเชยแก่ผู้ที่ประกอบการละหมาดในมัสญิดว่าเป็นผู้ที่ช่วยฟื้นฟูบทบาทของมัสญิด และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ย้ำอีกว่า ผู้ที่ประกอบการละหมาดที่มัสญิดคือผู้ศรัทธา ดังหะดีษที่มีความว่า “เมื่อใดในหมู่พวกเจ้าได้เห็นชายผู้หนึ่งไปมาหาสู่ที่มัสญิดเป็นประจำ จงเป็นพยานได้เลยว่าเขาคือผู้ศรัทธา” (รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ) ความหมายของเสียงอาซาน ประโยคแรกและสอง คือ «اللهُ أَكْبَرُ، اللهُ أَكْبَرُ، أَشْهَدُ أَنْ لاَّ إِلـٰهَ إلاَّ الله» ความว่า “อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ (สองครั้ง) ข้าขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ”    ทั้งสองประโยคจะสอนให้เราทราบว่า อิสลามประกอบด้วยโครงสร้างด้านการศรัทธาหรืออากีดะฮฺ ที่มุสลิมทุกคนจะต้องยึดมั่นที่สำคัญคือ การยอมจำนนและนอบน้อมต่อพระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง           ประโยคที่สาม «أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَّسُوْلُ اللهِ» (สองครั้ง) ความว่า “ข้าขอปฏิญาณตนว่า มุหัมมัด คือศาสนทูตของอัลลอฮฺ”   จากประโยคนี้แสดงว่า เราพร้อมที่จะยอมรับว่าท่าน   รอซูลของเราคือแบบอย่างที่ดีของเราในการที่จะเอาบทบัญญัติต่างๆของอัลลอฮฺมาปฏิบัติ           ประโยคที่สี่ «حَيَّ عَلىَ الصَّلاَةِ» (สองครั้ง) ความว่า “เรามาละหมาดพร้อมๆ กันเถิด” ซึ่งสอนให้ทราบว่า อุดมการณ์ของศาสนาอิสลามนั้น คือ สอนให้คนทำแต่ความดี ซึ่งส่วนหนึ่งของความดีนั้นก็คือ  การละหมาดร่วมกัน เพราะถ้าเราสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือพิธีกรรมของการละหมาดตั้งแต่ต้นจนจบ เราจะทราบว่า ทุกๆ อิริยาบถของของการละหมาด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำล้วนแต่มีประโยชน์ หรือจะอยู่ในรูปของการพูดก็จะสอนให้พูดแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น การละหมาดร่วมกันที่มัสญิดจะเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างผู้ละหมาด และเป็นการสอนวิธีการเคารพและทำตามคำสั่งของผู้นำ           ประโยคที่ห้า «حَيَّ عَلىَ الفَلاَحِ» (สองครั้ง) ความว่า “โอ้พวกเรา มาสู่หลักชัยแห่งความสำเร็จกันเถิด”   แสดงให้เห็นว่า ศาสนาอิสลามพยายามเชิญชวนและสอนในสิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งโลกนี้และโลกหน้า นั่นก็คือให้มุ่งมั่นทำแต่ความดี หนึ่งในความดีนั้นก็คือการละหมาด           ข้อสังเกตหนึ่งที่เห็นได้ว่าบทอาซานนั้นจะเริ่มด้วยหลักการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและนอบน้อมต่อพระองค์ และจะจบด้วยประโยคนี้เช่นกัน แสดงว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทำในโลกนี้จะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ทำเพื่ออัลลอฮฺ และเราจะต้องกลับสู่อัลลอฮฺ - ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน 1.การละหมาดเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่ต้องปฏิบัติอย่างตรงต่อเวลาสม่ำเสมอ 2.อิสลามสนับสนุนให้ละหมาดญะมาอะฮฺเพราะมีความสำคัญและความประเสริฐใหญ่หลวงยิ่ง 3.การเกียจคร้านในการละหมาดเป็นลักษณะที่คล้ายกับนิสัยของพวกมุนาฟิก 4.เสียงอะซานมีความหมายในการเชิญชวนให้มนุษย์หันมาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อรอซูล และมุ่งมั่นทำความดีเพื่อความสำเร็จในโลกนี้และโลกหน้า - คำถามหลังบทเรียน 1.ท่านเห็นว่าการละหมาดครบห้าครั้งในแต่ละวันให้ตรงต่อเวลามีความสำคัญอย่างไรบ้าง? 2. เพื่อเป็นมุสลิมที่ดี ท่านต้องทำอย่างไรเมื่อได้ยินเสียงอะซาน?