البحث

عبارات مقترحة:

الطيب

كلمة الطيب في اللغة صيغة مبالغة من الطيب الذي هو عكس الخبث، واسم...

المقيت

كلمة (المُقيت) في اللغة اسم فاعل من الفعل (أقاتَ) ومضارعه...

الأكرم

اسمُ (الأكرم) على وزن (أفعل)، مِن الكَرَم، وهو اسمٌ من أسماء الله...

ความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ ، แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الفضائل - فضائل القرآن الكريم
บทความเกี่ยวกับความประเสริฐของอัลกุรอาน และการอ่านอัลกุรอาน อธิบายบทบาทและความสำัคัญของอัลกุรอานต่อมวลมนุษย์ พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จากพระัดำรัสของอัลลอฮฺและหะีดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

التفاصيل

ความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน﴿فضائل القرآن وقراءته﴾ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซอบรี แวยะโก๊ะผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดีย์ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน           มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ความจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ แน่แท้ อัลกุรอานคือคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ประดุจเส้นเชือกอันมั่นคง และเป็นแนวทางอันเที่ยงธรรม ผู้ใดที่ยึดมั่นในคำสอนอัลกุรอานเขาก็ย่อมได้รับทางนำ และผู้ใดที่ผินหลังให้     อัลกุรอานเขาก็ย่อมอยู่ในความหลงผิดและความหายนะ อัลลอฮฺทรงสรรเสริญอัลกุรอานในอายะฮฺต่างๆ อย่างมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อชี้แจงถึงความประเสริฐของอัลกุรอาน และให้ข้อชี้ชัดแก่มวลมนุษย์ถึงตำแหน่งและสถานภาพของอัลกุรอาน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า﴿إِنَّا جَعَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ، وَإِنَّهُ فِي أُمِّ الْكِتَابِ لَدَيْنَا لَعَلِيٌّ حَكِيمٌ﴾ความว่า “แท้จริงเราได้ทำให้คัมภีร์เป็นกุรอานภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา และแท้จริงอัลกุรอานซึ่งอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ ณ ที่เรานั้นคือสิ่งที่สูงส่ง พรั่งพร้อมด้วยปรัชญา” (สูเราะฮฺ อัซ-ซุครุฟ : 3-4)อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสอีกว่า﴿إِنَّ الَّذِينَ كَفَرُوا بِالذِّكْرِ لَمَّا جَاءَهُمْ ۖ وَإِنَّهُ لَكِتَابٌ عَزِيزٌ ، لَّا يَأْتِيهِ الْبَاطِلُ مِن بَيْنِ يَدَيْهِ وَلَا مِنْ خَلْفِهِ ۖ تَنزِيلٌ مِّنْ حَكِيمٍ حَمِيدٍ ﴾ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) เมื่อได้มีมายังพวกเขา และแท้จริงอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีอำนาจยิ่ง ความเท็จจากข้างหน้าและจากข้างหลังจะไม่คืบคลานเข้าไปสู่อัลกุรอานได้ (เพราะ) เป็นการประทานจากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ” (สูเราะฮฺ ฟุศศิลัต : 41-42)ย่อมไม่มีความเท็จใดๆ เว้นแต่อัลกุรอานจะทำลายให้มลายสิ้นไป และไม่มีข้อสงสัยใดๆเว้นแต่อัลกุรอานจะอธิบายถึงความมดเท็จของมัน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสไว้ว่า﴿وَلَا يَأْتُونَكَ بِمَثَلٍ إِلَّا جِئْنَاكَ بِالْحَقِّ وَأَحْسَنَ تَفْسِيرًا ﴾ความว่า “และพวกเขาจะไม่นำข้อเปรียบเทียบ(ข้อสงสัย)ใดๆ มายังเจ้า เว้นแต่เราจะได้นำความจริงและนำการอธิบายที่ดีกว่ามาให้เจ้า” (สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน : 33)พระองค์ตรัสอีกว่า﴿بَلْ نَقْذِفُ بِالْحَقِّ عَلَى الْبَاطِلِ فَيَدْمَغُهُ فَإِذَا هُوَ زَاهِقٌ ۚ وَلَكُمُ الْوَيْلُ مِمَّا تَصِفُونَ ﴾ความว่า “แต่ว่าเราได้ให้ความจริงทำลายความเท็จ มันจะทำให้ความเท็จเสียหาย แล้วมันก็จะมลายสิ้นไป และความหายนะจะประสบแก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวเสกสรรปั้นแต่งต่ออัลลอฮฺ” (สูเราะฮฺ อัล-อัมบิยาอ์ : 18)อัลลอฮฺทรงขนานนามอัลกุรอานไว้ว่า “นูรฺ-แสงสว่าง-” และทรงให้อัลกุรอานเป็นการบำบัดแก่มวลมนุษย์ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า ﴿وَكَذَٰلِكَ أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ رُوحًا مِّنْ أَمْرِنَا ۚ مَا كُنتَ تَدْرِي مَا الْكِتَابُ وَلَا الْإِيمَانُ وَلَـٰكِن جَعَلْنَاهُ نُورًا نَّهْدِي بِهِ مَن نَّشَاءُ مِنْ عِبَادِنَا ۚ وَإِنَّكَ لَتَهْدِي إِلَىٰ صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ ﴾ความว่า “และเช่นนั้นแหละเราได้วะฮียฺอัลกุรอานแก่เจ้า ตามบัญชาของเรา เจ้าไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าอะไรคือคัมภีร์ และอะไรคือการศรัทธา แต่ว่าเราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นแสงสว่างเพื่อชี้แนะทางด้วยมันแก่ผู้ที่เราประสงค์จากปวงบ่าวของเรา และแท้จริง เจ้าคือผู้ชี้แนะสู่ทางอันเที่ยงธรรม” (สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ : 52)พระองค์ตรัสอีกว่า﴿يَا أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ جَاءَتْكُم مَّوْعِظَةٌ مِّن رَّبِّكُمْ وَشِفَاءٌ لِّمَا فِي الصُّدُورِ وَهُدًى وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ﴾ความว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย ! แท้จริงข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)จากพระเจ้าของพวกท่านได้มายังพวกท่านแล้ว และ(มัน)เป็นการบำบัดสิ่งที่มีอยู่ในทรวงอก และเป็นการชี้แนะทาง และเป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา” (สูเราะฮฺ ยูนุส : 57)หมู่ญินจำนวนหนึ่งต่างประหลาดใจเมื่อได้สดับฟังอัลกุรอาน ดังนั้นพวกมันจึงศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน﴿قُلْ أُوحِيَ إِلَيَّ أَنَّهُ اسْتَمَعَ نَفَرٌ مِّنَ الْجِنِّ فَقَالُوا إِنَّا سَمِعْنَا قُرْآنًا عَجَبًا، يَهْدِي إِلَى الرُّشْدِ فَآمَنَّا بِهِ ۖ وَلَن نُّشْرِكَ بِرَبِّنَا أَحَدًا﴾ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัดว่า ได้มีวะฮียฺมายังฉันว่า แท้จริงพวกญินจำนวนหนึ่งได้สดับฟังฉัน(อ่านกุรอาน) และพวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราได้ยินกุรอานที่แปลกประหลาด นำไปสู่ทางที่ถูกต้อง ดังนั้นพวกเราจึงศรัทธาต่ออัลกุรอานนั้น และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระเจ้าของเรา” (สูเราะฮฺ ญิน : 1-2)อัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะปกปักรักษาอัลกุรอาน ซึ่งบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายมิอาจนำกุคัมภีร์ขึ้นมาเช่นอัลกุรอานนี้ได้ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า﴿إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ ﴾ความว่า “แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้ปกปักรักษามันอย่างแน่นอน” (สูเราะฮฺอัล-หิจญ์รฺ : 9)พระองค์ตรัสอีกว่า﴿قُل لَّئِنِ اجْتَمَعَتِ الْإِنسُ وَالْجِنُّ عَلَىٰ أَن يَأْتُوا بِمِثْلِ هَـٰذَا الْقُرْآنِ لَا يَأْتُونَ بِمِثْلِهِ وَلَوْ كَانَ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ ظَهِيرًا ﴾ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำถ้อยคำอื่นมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม” (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออ์ : 88)ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «إِنَّ اللَّهَ يَرْفَعُ بِهَذَا الْكِتَابِ أَقْوَامًا وَيَضَعُ بِهِ آخَرِينَ»ความว่า “แท้จริง อัลลอฮฺได้ยกระดับกลุ่มชนต่างๆ ด้วยคัมภีร์เล่มนี้ และได้ทำให้กลุ่มชนอื่นๆ ตกต่ำด้วยคัมภีร์เล่มนี้ ” (บันทึกโดยมุสลิม : 817)ด้วยความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ของคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮฺจึงทรงสั่งใช้ให้อ่านและปฏิบัติตามคำสอนของมัน พร้อมทั้งให้พินิจพิจารณาถึงสิ่งที่มีอยู่ในอัลกุรอาน ดังที่พระองค์ตรัสว่า ﴿إِنَّ الَّذِينَ يَتْلُونَ كِتَابَ اللَّـهِ وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ وَأَنفَقُوا مِمَّا رَزَقْنَاهُمْ سِرًّا وَعَلَانِيَةً يَرْجُونَ تِجَارَةً لَّن تَبُورَ ، لِيُوَفِّيَهُمْ أُجُورَهُمْ وَيَزِيدَهُم مِّن فَضْلِهِ ۚ إِنَّهُ غَفُورٌ شَكُورٌ ﴾ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้อ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และดำรงการละหมาด และบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา โดยซ่อนเร้นและเปิดเผย โดยหวังการค้าที่ไม่ซบเซา(หมายถึงผลบุญในอาคิเราะฮฺ) เพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนรางวัลของพวกเขาให้แก่พวกเขาอย่างครบถ้วนและจะทรงเพิ่มความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่พวกเขา แท้จริง พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงชื่นชม (เพราะการภักดีของพวกเขา)” (สูเราะฮฺ ฟาฏิรฺ : 29-30)และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กล่าวถึงผู้ที่อ่านอัลกุรอานว่า พวกเขาย่อมได้รับความดีงามอย่างมากมายจากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «مَنْ قَرَأَ حَرْفًا مِنْ كِتَابِ اللَّهِ فَلَهُ بِهِ حَسَنَةٌ، وَالْحَسَنَةُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا، لاَ أَقُولُ الم حَرْفٌ، وَلَكِنْ أَلِفٌ حَرْفٌ، وَلاَمٌ حَرْفٌ، وَمِيمٌ حَرْفٌ»ความว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานหนึ่งตัวอักษรเขาจะได้รับหนึ่งความดีงาม โดยหนึ่งความดีงามนั้นจะเพิ่มทวีคูณเป็นสิบเท่า ฉันไม่ได้บอกว่า อลิฟ ลาม มีม เป็นหนึ่งอักษร แต่อลิฟ เป็นหนึ่งอักษร ลาม เป็นหนึ่งอักษร มีม ก็เป็นอีกหนึ่งอักษร” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ : 2910 ท่านได้กล่าวว่า เป็นหะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ เฆาะรีบ) จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า «المَاهِرُ بِالقُرْآنِ مَعَ السَّفَرَةِ الكِـَرامِ البَرَرَةِ، وَالَّذِي يَـقْرَأُ القُرْآنَ وَيَتَتَعْتَعُ فِيهِ، وَهُوَ عَلَيهِ شَاقٌّ، لَـهُ أَجْرَانِ». متفق عليه.ความว่า “ผู้ที่ชำนาญในการอ่านอัลกุรอานนั้นจะอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺผู้จดบันทึกอีกทั้งมีเกียรติ และผู้ที่อ่านอัลกุรอานอย่างตะกุกตะกัก(ไม่คล่อง) แต่เขาก็พยามยามอ่าน เขาจะได้สองผลบุญ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ : 4937 , มุสลิม : 798)ในวันแห่งการพิพากษานั้นความประเสริฐของผู้ที่อ่านอัลกุรอานก็จะเป็นที่เห็นอย่างประจักษ์ชัด นั่นคือ อัลกุรอานจะให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่อ่าน และจะยกระดับชั้นสวรรค์แก่เขา ตามที่เขาได้อ่าน ดังที่ท่านอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  «اقْرَؤُوا القُرْآنَ، فَإنَّهُ يِأتِي يَوْمَ القِيَامَةِ شَفِيعاً لأَصْحَابِـهِ»ความว่า “พวกท่านทั้งหลายจงอ่านอัลกุรอาน เพราะอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือต่อสหายของมันในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม : 804)จากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า«يُـقَالُ لِصَاحِبِ القُرآنِ اقْرَأ وَارْتَقِ وَرَتِّلْ كَمَا كُنْتَ تُرَتِّلُ فِي الدُّنْيَا، فَإنَّ مَنْزِلَكَ عِنْدَ آخِرِ آيَةٍ تَقْرَؤُهَا». أخرجه أبو داود والترمذي.ความว่า “(ในวันอาคิเราะฮฺ)จะถูกกล่าวแก่ผู้ที่อ่านอัลกุรอานว่า จงอ่านและจงเลื่อนขึ้นตามระดับขั้น(ในสวรรค์) และจงอ่านอย่างชัดถ้อยชัดคำ ดังที่ท่านเคยอ่านในโลกดุนยามาก่อน เพราะชั้นสวรรค์ที่เจ้าจะได้รับคืออายะฮฺสุดท้ายที่ท่านได้อ่านอัลกุรอานจบ” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2914 ท่านได้กล่าวว่าเป็นหะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ) ช่างน่าประหลาดใจยิ่งนัก ต่อชนส่วนมากจากหมู่พวกเราที่เพิกเฉยต่อการอ่านคัมภีร์ของพระผู้ทรงอภิบาลของพวกเขา รวมทั้งการใคร่ครวญและการปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน ทั้งๆที่เขาทราบดีถึงความประเสริฐและภาคผลของอัลกุรอานท่านอะมีรุล มุอ์มินีน อุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “หากหัวใจเรามีความบริสุทธิ์ มันย่อมรู้สึกไม่อิ่มกับคำดำรัสของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา อย่างแน่นอน(หมายถึงยังคงมีความต้องการที่จะเพิ่มมันอยู่ตลอดเวลา)” ซึ่งในนัยนี้เองที่บ่งถึงคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ﴿وَإِذَا مَا أُنزِلَتْ سُورَةٌ فَمِنْهُم مَّن يَقُولُ أَيُّكُمْ زَادَتْهُ هَـٰذِهِ إِيمَانًا ۚ فَأَمَّا الَّذِينَ آمَنُوا فَزَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَهُمْ يَسْتَبْشِرُونَ ، وَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٌ فَزَادَتْهُمْ رِجْسًا إِلَىٰ رِجْسِهِمْ وَمَاتُوا وَهُمْ كَافِرُونَ﴾ความว่า “และเมื่อมีบทหนึ่งบทใดของอัลกรุอานถูกประทานลงมา ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้กล่าวขึ้นว่า “มีใครบ้างในพวกท่านที่บทนี้ทำให้ศรัทธาเพิ่มขึ้น ?” สำหรับบรรดาผู้ที่มีความศรัทธานั้น บทนี้ได้ทำให้การศรัทธาเพิ่มขึ้นแก่พวกเขา แล้วพวกเขาก็มีความปิติยินดี และสำหรับบรรดาผู้ที่มีโรคอยู่ในจิตใจของพวกเขา บทนี้ก็ยิ่งจะเพิ่มความสกปรกให้แก่พวกเขามากยิ่งขึ้นไปอีก และพวกเขาจะตายไปในสภาพที่เป็นพวกปฏิเสธศรัทธา” (สูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ 124-125)โองการอัลกุรอานข้างต้นนี้ ได้อธิบายถึงสภาพของหมู่ชนผู้ศรัทธากับสภาพของเหล่า        มุนาฟิกหรือผู้กลับกลอกทั้งหลายในช่วงเวลาที่ได้สดับฟังและอ่านอัลกุรอาน และเป็นการเตือนสติแด่ผู้ศรัทธาเพื่อไม่ให้มีคุณลักษณะนิสัยของผู้ที่ขาดทุน นั้นคือมันไม่ได้ทำให้(การศรัทธาของเขา)เพิ่มพูนขึ้นใดๆเลยเมื่อได้สดับฟังอัลกุรอาน เว้นแต่ความขาดทุนด้วยเหตุนี้ สมควรยิ่งนักที่ผู้ศรัทธาต้องเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านี้หนึ่ง : อ่านอัลกุรอานด้วยการพินิจพิจารณาอย่างตั้งใจ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า ﴿كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ مُبَارَكٌ لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُولُو الْأَلْبَابِ﴾ความว่า “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายะฮฺต่างๆ ของอัลกุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ” (สูเราะฮฺศอดฺ : 29)ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “พวกท่านอย่าแพร่กระจายอัลกุรอานดังที่พวกท่านได้โปรยผงทราย และพวกท่านอย่าอ่านอัลกุรอานดังที่พวกท่านได้ร่ายบทกลอน แต่พวกท่านจงหยุดพินิจพิจารณาเมื่อถึงเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์ พร้อมทั้งกระตุ้นหัวใจของพวกท่านเมื่อได้พบเจอมัน โดยอย่าให้ความตั้งใจของคนหนึ่งใดในหมู่พวกท่าน เพียงแค่การอ่านให้จบถึงอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺหนึ่งๆ เท่านั้น ”สอง : ทบทวนในสิ่งที่ท่องจำ ดังที่ท่านอบีมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า«تَعَاهَدُوا القُرْآنَ فَوَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَـهُوَ أَشَدُّ تَفَصِّياً مِنَ الإبِلِ فِي عُقُلِـهَا». متفق عليهความว่า “พวกท่านจงทวน(เอาใจใส่)กับอัลกุรอานให้มาก ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตของมุหัมหมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ อัลกุรอานนั้นเปรียวยิ่งกว่าอูฐที่ถูกผูกไว้เสียอีก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ : 5033 , มุสลิม : 791)สาม : มีสมาธิเมื่ออ่านอัลกุรอาน ดังที่ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ    เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวแก่ฉันว่า «اقْرَأْ عَلَيَّ»، قُلْتُ: آقْرَأُ عَلَيْكَ وَعَلَيْكَ أُنْزِلَ؟ قَالَ: «فَإِنِّي أُحِبُّ أَنْ أَسْمَعَهُ مِنْ غَيْرِي» فَقَرَأْتُ عَلَيْهِ سُورَةَ النِّسَاءِ حَتَّى بَلَغْتُ ﴿فَكَيْفَ إِذَا جِئْنَا مِنْ كُلِّ أُمَّةٍ بِشَهِيدٍ وَجِئْنَا بِكَ عَلَى هَؤُلَاءِ شَهِيدًا﴾ قَالَ: «أَمْسِكْ» فَإِذَا عَيْنَاهُ تَذْرِفَانِความว่า: “จงอ่านอัลกุรอานให้ฉันฟังซิ ฉันจึงกล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันจะอ่านให้ท่านฟังได้อย่างไร ทั้งที่มันถูกประทานลงมาแก่ท่าน ท่านเราะสูลกล่าวว่า ฉันอยากฟังอัลกุรอานจากคนอื่นนอกจากฉัน ฉันจึงอ่านสูเราะฮฺ อันนิสาอ์ จนฉันอ่านไปถึงอายะฮฺ “แล้วอย่างไรเล่า เมื่อเรานำพยานคนหนึ่งจากแต่ละประชาชาติมา และเราได้นำเจ้ามาเป็นพยานต่อชนเหล่านี้ (สูเราะฮฺอันนิสาอ์ 41)” ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า เพียงพอแล้ว ฉันจึงหันไปมองยังท่าน แล้วเห็นน้ำตาได้ไหลอกมาจากสองตาของท่าน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ : 5050 , มุสลิม : 800)สี่ : อย่าทอดทิ้งอัลกุรอาน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า                 ﴿وَقَالَ الرَّسُولُ يَا رَبِّ إِنَّ قَوْمِي اتَّخَذُوا هَـٰذَا الْقُرْآنَ مَهْجُورًا ﴾ความว่า “และท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงชนชาติของข้าพระองค์ได้ยึดเอาอัลกุรอานนี้เป็นที่ทอดทิ้งเสียแล้ว” (สูเราะฮฺ: อัล-ฟุรกอน : 30)การทอดทิ้ง ณ ที่นี้ ได้หมายรวมถึงการทอดทิ้งจากการอ่าน การพินิจพิจารณา การปฏิบัติตามคำสอน และการตัดสินกรณีพิพาทด้วยอัลกุรอาน ดังที่ท่านอิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ดังนั้น มีความจำเป็นยิ่งนักที่ต้องเอาใจใส่ในคำดำรัสของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลฺ ด้วยการท่องจำ การอ่าน การปฏิบัติตามคำสอน กระทั่งผู้ศรัทธานั้นได้เป็นหมู่ชนแห่งกุรอาน นั้นคือหมู่ชนแห่งอัลลอฮฺโดยเฉพาะ  มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก และขอโปรดให้อัลลอฮฺทรงประทานความจำเริญและความศานติแด่ท่านนบีของเรา “มุหัมมัด” และแด่เครือญาติของท่าน ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งปวง

المرفقات

2

ความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน
ความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน