البحث

عبارات مقترحة:

الآخر

(الآخِر) كلمة تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

المصور

كلمة (المصور) في اللغة اسم فاعل من الفعل صوَّر ومضارعه يُصَوِّر،...

المليك

كلمة (المَليك) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعيل) بمعنى (فاعل)...

ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ฟัยซอล อับดุลฮาดี ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الوضوء - فضائل العبادات - فضل الوضوء
ระบุถึงความประเสริฐบางประการของการรักษาน้ำละหมาดหรือวุฎูอ์ตลอดเวลา ซึ่งส่งเสริมให้มุสลิมยึดปฏิบัติ พร้อมหลักฐานอ้างอิงจากหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด               การรักษาน้ำละหมาดหมายถึง การอาบน้ำละหมาดอย่างดีและสมบูรณ์ และอาจหมายถึงการรักษาให้มีน้ำละหมาดอยู่ตลอดเวลา               การรักษาน้ำละหมาดมีความประเสริฐหลายประการ และส่วนหนึ่งจากความประเสริฐเหล่านั้นคือ   1. อัลลอฮฺทรงรัก             พระองค์ได้ตรัสว่า: ﴿لَمَسْجِدٌ أُسِّسَ عَلَى التَّقْوَى مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ أَحَقُّ أَنْ تَقُومَ فِيهِ، فِيهِ رِجَالٌ يُحِبُّونَ أَنْ يَتَطَهَّرُوا وَاللهُ يُحِبُّ الْمُطَّهِّرِينَ﴾ ความว่า: “แน่นอน มัสญิดที่ถูกวางรากฐานบนความยำเกรงตั้งแต่วันแรกนั้น สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าจะเข้าไปยืนละหมาดในนั้น เพราะในมัสญิดนั้นมีคณะบุคคลที่ชอบจะชำระตัวให้บริสุทธิ์ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ” [อัต-เตาบะฮฺ : 108]   "ผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์" หมายถึงผู้ที่รักษาการอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ และรักษาจากการเปรอะเปื้อนของสิ่งสกปรกโสโครก [ตัฟสีรฺ อิบนุกะษีรฺ 4/216]   2. เป็นลักษณะของผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์             ท่านเษาบาน เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: «وَلاَ يُحَافِظُ عَلَى الْوُضُوءِ إِلاَّ مُؤْمِنٌ» ความว่า: “และไม่มีผู้ใดรักษาน้ำละหมาดนอกจากผู้ศรัทธา” [บันทึกโดย อิบนุ มาญะฮฺ เลขที่: 277, และอะหฺมัด เลขที่: 22467 ]   อัล-มุนาวีย์กล่าว่า: "คือการดูแลรักษาน้ำละหมาดให้คงอยู่ตลอดเวลา"  และความหมายของผู้ศรัทธา ณ ที่นี้คือ "ผู้ศรัทธาที่มีความศรัทธาอย่างสมบูรณ์" [มิรฺอาตอัล-มะฟาตีหฺ 2/13]   3. เป็นลักษณะพิเศษของบรรดามุสลิมในวันกิยามะฮฺ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: «إِنَّ أُمَّتِي يُدْعَوْنَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ غُرًّا مُحَجَّلِينَ مِنْ آثَارِ الْوُضُوءِ» ความว่า: “แท้จริง ประชาติของฉันจะถูกเรียกเชิญในวันกิยามะฮฺในสภาพที่มีรัศมีเปล่งประกาย จากร่องรอยของการอาบน้ำละหมาด” [อัล-บุคอรีย์ เลขที่: 136, มุสลิม เลขที่ 246]   4. อัลลอฮฺจะยกฐานะและลบล้างความผิด ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เล่าว่า: «أَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى مَا يَمْحُو اللهُ بِهِ الْخَطَايَا وَيَرْفَعُ بِهِ الدَّرَجَاتِ. قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ اللهِ. قَالَ : إِسْبَاغُ الْوُضُوءِ عَلَى الْمَكَارِهِ ... » ความว่า: “เอาไหม ถ้าฉันจะบอกพวกท่านซึ่งการงานที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิดและจะยกฐานะให้ บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า แน่นอนที่สุด โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านจึงตอบว่า : การอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ในช่วงที่ท่านไม่ชอบ (หมายถึงช่วงอากาศหนาวเย็น) ...”  [มุสลิม เลขที่: 251]               และจากอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า: «مَنْ تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الوُضُوءَ خَرَجَتْ خَطَايَاهُ مِنْ جَسَدِهِ حَتَّى تَـخْرُجَ مِنْ تَـحْتِ أَظْفَارِهِ» ความว่า:  “ผู้ใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาด ด้วยลักษณะที่ดีที่สุด มวลบาปของเขาจะหลุดออกจากตัวเขา จนแม้กระทั่งบาปที่อยู่ใต้เล็บของเขา” [มุสลิม เลขที่: 245]   5. เป็นสาเหตุของการตอบรับดุอาอ์ ท่านมุอาซ อิบนุ ญะบัล ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า: «مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَبِيتُ عَلَى ذِكْرٍ طَاهِرًا، فَيَتَعَارُّ مِنْ اللَّيْلِ فَيَسْأَلُ اللهَ خَيْرًا مِنْ الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ إِلَّا أَعْطَاهُ إِيَّاهُ»  ความว่า:  “ไม่มีมุสลิมคนใดที่นอนในสภาพที่รำลึกถึงอัลลอฮฺและสะอาด(อาบน้ำละหมาด) เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนและเขาก็ได้ขอจากอัลลอฮฺซึ่งความดีงามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากพระองค์จะทรงให้ตามที่เขาได้ขอ” [อบู ดาวูด เลขที่: 5044]   6. ละหมาดสองร็อกอัตหลังจากอาบน้ำละหมาดคือสาเหตุที่ทำให้ได้เข้าสวนสวรรค์ ท่านอุกบะฮฺ อิบนุ อามิรฺ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า: «مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَتَوَضَّأُ فَيُحْسِنُ وُضُوءَهُ ثُمَّ يَقُومُ فَيُصَلِّى رَكْعَتَيْنِ مُقْبِلٌ عَلَيْهِمَا بِقَلْبِهِ وَوَجْهِهِ إِلاَّ وَجَبَتْ لَهُ الْجَنَّةُ» ความว่า: “ไม่มีมุสลิมคนใดที่อาบน้ำละหมาดซึ่งเขาก็ได้อาบน้ำละหมาดอย่างดีและประณีต หลังจากนั้นเขาได้ละหมาดสองร็อกอัตด้วยการมุ่งทั้งจิตและกาย นอกจากสวนสวรรค์จะเป็นที่แน่นอนแล้วสำหรับเขา” [มุสลิม เลขที่: 234]   และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามบิลาลว่า: «يَا بِلَالُ حَدِّثْنِي بِأَرْجَى عَمَلٍ عَمِلْتَهُ فِي الْإِسْلَامِ، فَإِنِّي سَمِعْتُ دَفَّ نَعْلَيْكَ بَيْنَ يَدَيَّ فِي الْجَنَّةِ، قَالَ : مَا عَمِلْتُ عَمَلًا أَرْجَى عِنْدِي، أَنِّي لَمْ أَتَطَهَّرْ طُهُورًا فِي سَاعَةِ لَيْلٍ أَوْ نَهَارٍ؛ إِلَّا صَلَّيْتُ بِذَلِكَ الطُّهُورِ مَا كُتِبَ لِي أَنْ أُصَلِّيَ» ความว่า: “โอ้บิลาลเอ๋ย ท่านจงบอกฉันถึงการงานที่ท่านหวังมากที่สุดกับมันที่ท่านได้ปฏิบัติมา แท้จริงฉันได้ยินเสียงร้องเท้าสองข้างของท่านเคลื่อนไหวอยู่เบื้องหน้าฉันในสวนสวรรค์ บิลาลตอบว่า ฉันไม่ได้ปฏิบัติการงานใดเลยที่ฉันหวังมากที่สุดนอกจากว่า ฉันจะเคยไม่อาบน้ำละหมาดในช่วงเวลาไหนก็ตามทั้งกลางคืนและกลางวัน เว้นแต่ฉันจะต้องละหมาดด้วยน้ำละหมาดนั้นเท่าที่ถูกกำหนดให้ฉันสามารถละหมาดได้” [อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1149, มุสลิม 6478]

المرفقات

2

ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด
ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด