البحث

عبارات مقترحة:

الأول

(الأوَّل) كلمةٌ تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

الغفور

كلمة (غفور) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعول) نحو: شَكور، رؤوف،...

المولى

كلمة (المولى) في اللغة اسم مكان على وزن (مَفْعَل) أي محل الولاية...

ตำหนิการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ ، อันซอรี เพ็ชรทองคำ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الرقائق والمواعظ
ตำหนิการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย บทความที่สะกิดและเตือนใจเกี่ยวกับใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ตามใจตัวเองและอารมณ์ใฝ่ต่ำ พร้อมทั้งระบุผลเสียบางประการจากการใช้ชีวิตในรูปแบบหรูหราฟุ่มเฟือย จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

التفاصيل

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   ตำหนิการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย   มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งโลกทั้งผอง  ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่านโดยทั่วกัน ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว และไม่มีภาคีใดๆร่วมกับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่า ท่านนบีมูฮำหมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า ﴿وَإِذَا أَرَدْنَا أَن نُّهْلِكَ قَرْيَةً أَمَرْنَا مُتْرَفِيهَا فَفَسَقُوا فِيهَا فَحَقَّ عَلَيْهَا الْقَوْلُ فَدَمَّرْنَاهَا تَدْمِيرًا﴾ [الإسراء:16 ] ความว่า “และเมื่อเราปรารถนาที่จะทำลายหมู่บ้านใด เราได้บัญชาให้พวกฟุ่มเฟือยของมันแล้วพวกเขาก็ฝ่าฝืน ดังนั้น พระดำรัส(การลงโทษ)สมควรแล้วแก่มันฉะนั้นเราจะได้ทำลายมันอย่างพินาศ” (อัลอิสรออ์: 16)   ผู้ที่ฟุ่มเฟือยหมายถึงผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายและเพลิดเพลินไปกับดุนยาและอารมณ์ใคร่ใฝ่ต่ำ ส่วนความหมายในอายะห์นี้นั้น อัลลอฮฺทรงใช้ให้บรรดาผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสำราญเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์ แต่พวกเขาหาได้ปฏิบัติตามไม่ นอกจากจะไม่ปฏิบัติตามแล้วพวกเขายังละเมิดและก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้เองจึงสมควรที่พวกเขาจะได้รับความพินาศและการลงโทษ พระองค์ทรงบรรยายลักษณะของกลุ่มคนเหล่านี้ไว้ว่า เมื่อมีสัญญานและการตักเตือนจากอัลลอฮฺมายังพวกเขา พวกเขาจะแสดงท่าทีต่อต้าน หยิ่งยโส ไม่สนใจไยดี พระองค์จึงทรงลงโทษพวกเขาอัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า حَتَّىٰ إِذَا أَخَذْنَا مُتْرَفِيهِم بِالْعَذَابِ إِذَا هُمْ يَجْأَرُونَ ﴿٦٤﴾ لَا تَجْأَرُوا الْيَوْمَ  إِنَّكُم مِّنَّا لَا تُنصَرُونَ ﴿٦٥﴾ قَدْ كَانَتْ آيَاتِي تُتْلَىٰ عَلَيْكُمْ فَكُنتُمْ عَلَىٰ أَعْقَابِكُمْ تَنكِصُونَ ﴿٦٦﴾ مُسْتَكْبِرِينَ بِهِ سَامِرًا تَهْجُرُونَ ﴿٦٧﴾ أَفَلَمْ يَدَّبَّرُوا الْقَوْلَ أَمْ جَاءَهُم مَّا لَمْ يَأْتِ آبَاءَهُمُ الْأَوَّلِينَ ﴿٦٨﴾ [المؤمنون : 64-68] ความว่า “จนกระทั่งเมื่อเราได้คร่าเอาชีวิตพวกที่อยู่ในความสุขสำราญของพวกเขาด้วยการลงโทษ เมื่อนั้นพวกเขาก็ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ (64) พวกเจ้าอย่าได้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือเลยในวันนี้ แท้จริงพวกเจ้าจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเราดอก (65) แน่นอนโองการทั้งหลายของเราถูกนำมาอ่านแก่พวกเจ้าแล้วพวกเจ้าก็หันสันเท้าของพวกเจ้ากลับ (66) พวกเขาหยิ่งจองหองต่ออัลกุรอาน พวกเจ้าจับกลุ่มสนทนากันในเวลากลางคืน (67) พวกเขามิได้พิจารณาพระดำรัสดอกหรือ? ว่าได้มีมายังพวกเขา สิ่งที่มิได้มีมายังบรรพบุรุษของพวกเขารุ่นก่อน ๆ (68)” (อัลมุอ์มินูน : 64-68)   การใช้ชีวิตอย่างสำราญนั้นเป็นคุณลักษณะหนึ่งของผู้ปฎิเสธการศรัทธาอัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า وَأَصْحَابُ الشِّمَالِ مَا أَصْحَابُ الشِّمَالِ ﴿٤١﴾ فِي سَمُومٍ وَحَمِيمٍ ﴿٤٢﴾ وَظِلٍّ مِّن يَحْمُومٍ ﴿٤٣﴾ لَّا بَارِدٍ وَلَا كَرِيمٍ ﴿٤٤﴾ إِنَّهُمْ كَانُوا قَبْلَ ذَٰلِكَ مُتْرَفِينَ ﴿٤٥﴾ [الواقعة:41-45] ความว่า “และกลุ่มทางซ้าย(ผู้ได้รับบันทึกด้วยมือซ้าย) เจ้ารู้หรือไม่ว่ากลุ่มทางซ้ายเป็นอย่างไร? (41) อยู่ในลมร้อน และน้ำกำลังเดือด (42) อยู่ใต้ร่มเงาของควันที่ดำทึบ (43) ไม่ร่มเย็น และไม่เป็นที่น่าชื่มชม (44) แท้จริงพวกเขาแต่กาลก่อนนั้นเป็นพวกเจ้าสำราญ (45)” (อัลวากิอะห์: 41-45)   กลุ่มคนดังกล่าวคือผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสบายปล่อยเนื้อปล่อยตัว ตอบรับอารมณ์ใคร่ใฝ่ต่ำและสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินในโลกนี้ อัลลอฮฺตะอาลาทรงบอกให้เราทราบว่าบั้นปลายของผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสำราญนั้นขาดทุนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า พระองค์ทรงเล่าถึงเรื่องราวของนบีซอและห์ขณะที่ท่านได้เรียกร้องเชิญชวนกลุ่มชนของท่านชาวษะมูด(ษะมูดเป็นอาหรับเผ่าพันธุ์หนึ่งที่เคยอาศัยในเมืองหิจรฺ) เมืองนี้เป็นเมืองที่อยู่ระหว่าง วาดิ้ลกุรอ และดินแดนชาม ที่พำนักของพวกเขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันเรียกว่า มะดาอิน ศอและหฺ أَتُتْرَكُونَ فِي مَا هَاهُنَا آمِنِينَ ﴿١٤٦﴾ فِي جَنَّاتٍ وَعُيُونٍ ﴿١٤٧﴾ وَزُرُوعٍ وَنَخْلٍ طَلْعُهَا هَضِيمٌ ﴿١٤٨﴾ وَتَنْحِتُونَ مِنَ الْجِبَالِ بُيُوتًا فَارِهِينَ ﴿١٤٩﴾ [الشعراء:146-149] ความว่า “พวกท่านจะถูกปล่อยให้อยู่อย่างสงบปลอดภัย ณ ที่นี้หรือ? (146) ในสวนอันหลากหลาย ลำธารหลายแห่ง (147) ไร่นา และต้นอินทผลัม ซึ่งกิ่งก้านของมันสุกงอม (148) และพวกท่านสกัดภูเขาเป็นที่อยู่อาศัยอย่างชำนาญ (149)” (อัช-ชุอะรออ์ :146-149)   จนถึงพระดำรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า فَأَخَذَهُمُ الْعَذَابُ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَآيَةً وَمَاكَانَأَكْثَرُهُم مُّؤْمِنِينَ ﴿١٥٨﴾ وَإِنَّ رَبَّكَ لَهُوَ الْعَزِيزُ الرَّحِيمُ ﴿١٥٩﴾ [الشعراء:158-159] ความว่า “ดังนั้นการลงโทษได้คร่าพวกเขา แท้จริงในการนี้ย่อมเป็นสัญญาณหนึ่งอย่างแน่นอน แต่ส่วนมากของพวกเขาไม่เป็นผู้ศรัทธา (158) และแท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น แน่นอนพระองค์เป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงเมตตาเสมอ(159)” (อัช-ชุอะรออฺ:158-159)   ท่านอิบนุกะษีรร่อฮิมะหุ้ลลอฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺตะอาลาทรงกล่าวเตือนสติพวกเขาว่าการลงโทษของพระองค์จะประสบแก่พวกเขา และตักเตือนให้พวกเขาให้รำลึกถึงความโปรดปรานของพระองค์ที่มีต่อพวกเขาในการที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพมากมายให้แก่พวกเขา พระองค์ทรงทำให้พวกเขาปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ ทรงให้เรือกสวนงอกงาม ให้ธารน้ำที่ไหลริน ทรงให้พืชผลและผลหมากรากไม้งอกเงยเป็นประโยชน์แก่พวกเขา พระองค์ตรัสว่า ﴿وَنَخْلٍ طَلْعُهَا هَضِيمٌ﴾ [الشعراء: 148] ความว่า ”และต้นอินทผลัม ซึ่งกิ่งก้านของมันสุกงอม” (อัชชุอะรออ์: 148)             ท่านอิบนุกะษีรกล่าวถึงอายะห์นี้ว่า หมายถึงเมื่อมันเปลี่ยนเป็นอินทผลัมสดและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะเก็บเกี่ยว ﴿وَتَنْحِتُونَ مِنَ الْجِبَالِ بُيُوتًا فَارِهِينَ ﴾ [الشعراء: 149 ] ความว่า” และพวกเจ้าสกัดภูเขาที่เป็นที่อยู่อาศัยอย่างชำนาญ” (อัชชุอะรออฺ:149) ท่านอิบนุ อับบาสและนักตัฟซีรท่านอื่นกล่าวว่า คำว่า  فَارِهِينَหมายถึง “อย่างผู้เชี่ยวชาญ” และในอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่าหมายถึง “ด้วยความโอ้อวดโอหัง” ท่านมุญาฮิดและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งก็เลือกทรรศนะนี้เช่นกัน  ซึ่งทรรศนะต่างๆ ที่กล่าวมาก็ไม่ได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด คือพวกเขาได้อาศัยในบ้านเรือนที่สกัดจากภูเขาในสภาพที่โอ้อวดโอหังและไม่มีความจำเป็น และในขณะเดียวกันพวกเขายังสกัดภูเขาได้อย่างชำนิชำนาญและละเอียดประณีต ให้เป็นลวดลายต่างๆที่วิจิตรงดงาม ดังที่ได้เห็นจากสภาพของพวกเขาสำหรับคนที่ได้มีโอกาสผ่านไปแถบนั้น สรุปคือ พวกเขาเคยใช้ชีวิตอย่างสุขสำราญ แต่พวกเขากลับปฏิเสธเราะสูลที่ถูกส่งมา ด้วยเหตุนี้จึงต้องพบกับความพินาศย่อยยับทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่าบรรดาผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสำราญในโลกนี้พวกเขาจะลืมความความสุขในโลกนี้อย่างสิ้นเชิงเมื่อไปถึงโลกหน้า มีรายงานจากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ บันทึกโดยท่านอิหม่ามมุสลิมว่า ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: « يُؤْتَى بِأَنْعَمِ أَهْلِ الدُّنْيَا مِنْ أَهْلِ النَّارِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، فَيُصْبَغُ فِي النَّارِ صَبْغَةً، ثُمَّ يُقَالُ: يَا ابْنَ آدَمَ هَلْ رَأَيْتَ خَيْرًا قَطُّ؟ هَلْ مَرَّ بِكَ نَعِيمٌ قَطُّ؟ فَيَقُولُ: لَا، وَاللهِ يَا رَبِّ وَيُؤْتَى بِأَشَدِّ النَّاسِ بُؤْسًا فِي الدُّنْيَا، مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ، فَيُصْبَغُ صَبْغَةً فِي الْجَنَّةِ، فَيُقَالُ لَهُ: يَا ابْنَ آدَمَ هَلْ رَأَيْتَ بُؤْسًا قَطُّ؟ هَلْ مَرَّ بِكَ شِدَّةٌ قَطُّ؟ فَيَقُولُ: لَا، وَاللهِ يَا رَبِّ مَا مَرَّ بِي بُؤْسٌ قَطُّ، وَلَا رَأَيْتُ شِدَّةً قَطُّ» ความว่า “ในวันกิยามะห์ คนที่มีความสุขสำราญมากที่สุดในดุนยาจะถูกนำออกมาจากนรก เขาจะถูกจุ่มลงในนรกเพียงครู่หนึ่ง หลังจากนั้นจะมีคนกล่าวแก่เขาว่า โอ้ เจ้าลูกอาดัมเอ๋ย เจ้าเคยรับรู้ถึงความดีมาบ้างไหม?  เจ้าเคยสัมผัสกับความสุขสบายมาบ้างไหม? เขาจะกล่าวตอบว่า ไม่เลย ขอสาบานต่ออัลลอฮ โอ้พระผู้เป็นเจ้าของเรา และเช่นเดียวกัน  คนที่เคยมีความทุกข์ที่สุดในดุนยาที่เป็นชาวสวรรค์ เขาจะถูกนำไปจุ่มลงในสวรรค์เพียงชั่วครู่หนึ่ง จากนั้นจะมีผู้ถามขึ้นว่า โอ้ เจ้าลูกอาดัมเอ๋ย เจ้าเคยรับรู้ถึงทุกข์บ้างหรือไม่?  หรือเจ้าเคยผ่านความลำบากยากแค้นมาบ้างหรือไม่? เขาจะตอบว่า ไม่เลย ขอสาบานต่ออัลลอฮ พระผู้อภิบาลของเรา ข้าพระองค์ไม่เคยได้ประสบกับความทุกข์หรือความยากลำบากใดๆเลยแม้แต่น้อย”  ( มุสลิม : 2807)   ท่านนบีมูหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่ปลีกตัวออกห่างจากการใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยและสุขสำราญ รายงานจากท่านอิหม่ามบุคอรีย์ และท่านอิหม่ามมุสลิม จากหะดีษท่านอุมัรเราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ว่าท่านได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านเห็นท่านนบีนอนอยู่บนเตียงที่ทำจากทางอินทผาลัม จนมีรอยปรากฏบนสีข้างของท่าน เมื่อท่านอุมัรเห็นเช่นนั้น น้ำตาท่านก็ไหลและร้องไห้พลางกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูล บรรดากษัตริย์เปอร์เซียและโรมันล้วนมีชีวิตที่โอ่อ่าสุขสบาย ทั้งท่านเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างทั้งปวง” ขณะนั้นท่านกำลังนอนเอกเขนกอยู่ท่านก็ได้เปลี่ยนอิริยาบถ และลุกขึ้นนั่งพร้อมกับกล่าวขึ้นว่า  «أَوَفِي شَكٍّ أَنْتَ يَا ابْنَ الْخَطَّابِ» ความว่า “ท่านกำลังสงสัยอยู่หรือ อิบนุค็อฏฏอบ?”   และท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวต่อไปว่า «أُولَئِكَ قَوْمٌ عُجِّلَتْ لَهُمْ طَيِّبَاتُهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا» ความว่า “พวกเขาเหล่านั้นเป็นกลุ่มชนที่ความดีของพวกเขาจะได้รับการรีบเร่งตอบแทนก่อนในโลกนี้”(มุสลิม : 1479)   และอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า «أَمَا تَرْضَى أَنْ تَكُونَ لَهُمُ الدُّنْيَا وَلَنَا الآخِرَةُ؟»  ความว่า“ท่านไม่พอใจดอกหรือที่จะให้โลกนี้เป็นของพวกเขาและโลกหน้าเป็นของพวกเรา” (บุคอรีย์:4913)   รูปแบบบางส่วนที่เราพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้ที่เป็นการแสดงออกถึงการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ได้แก่  การหมกมุ่นอยู่กับสิ่งแต่งเติมสีสันให้กับชีวิตในด้านต่างๆอย่างไม่ลืมหูลืมตา เช่น บางคนจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนในบ้านทุกๆปี ถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในสภาพที่ดีอยู่ก็ตาม หรือบางครอบครัวที่สั่งอาหารและเครื่องดื่มราคาแพงจากภัตตาคารชื่อดังเป็นเนืองนิจ โดยไม่มีความจำเป็น หรือผู้หญิงบางคนที่ตัดชุดใหม่ในทุกๆโอกาสสำคัญ ถึงแม้ว่าเสื้อผ้าที่มีอยู่นั้นจะใช้เพียงครั้งเดียวก็ตาม หรือบางคนที่เดินทางท่องเที่ยวทุกๆปี โดยใช้จ่ายเงินไปจำนวนมหาศาลแม้ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นจะต้องเป็นหนี้เป็นสิน และรูปแบบอื่นๆอีกมากมายที่เป็นการแสดงถึงความหรูหราฟุ่มเฟือย เป็นต้น   ผลเสียบางอย่างที่เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ประการแรก การใช้ชีวิตอย่างสำราญก่อให้เกิดโรคต่างๆเช่นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด และโรคอื่นๆอีกมากมาย ประการที่สอง ความฟุ่มเฟือยทำให้เกิดความเกียจคร้าน สันหลังยาว จิตใจผูกติดอยู่กับดุนยา ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้ศัตรูของอิสลามโจมตี ทำลายความเชื่อมั่นของคนในประชาชาติ ซึ่งในความเป็นจริงประชาชาติอิสลามสมควรอย่างยิ่งที่ต้องเป็นประชาชาติที่เข้มแข็ง เตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อการเรียกร้องไปสู่แนวทางของอัลลอฮ และเผยแผ่ศาสนาให้ขจรขจายไปทุกหนทุกแห่ง ตะวันตกและตะวันออก นำมนุษย์ออกจากความมืดมิดของการตั้งภาคีไปสู่แสงสว่างแห่งการศรัทธาและการให้เอกภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้นอกเสียจากการปฏิบัติอย่างจริงจังและแข็งขัน ไม่ใช่ด้วยความสุขสบายและความหรูหราฟุ่มเฟือย อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า ﴿وَقُلِ اعْمَلُوا فَسَيَرَى اللَّـهُ عَمَلَكُمْ وَرَسُولُهُ وَالْمُؤْمِنُونَ﴾ ความว่า “พวกท่านจงทำงานเถิด แล้วอัลลอฮฺจะทรงเห็นการงานของพวกท่าน เราะสูลของพระองค์และบรรดามุอ์มินก็จะเห็นด้วย” (อัตเตาบะฮ์: 105)   ประการที่สาม ทำให้สูญเสียทรัพยากรของประชาชาติอิสลามไปโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่ประชาชาติกำลังต้องการทรัพยากรเหล่านี้เพื่อทำนุบำรุงประเทศและสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ และด้านการทหาร เพื่อให้สามารถยืนได้อย่างภาคภูมิในระหว่างกลุ่มประชาชาติต่างๆ อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า ﴿ وَأَعِدُّواْ لَهُم مَّا اسْتَطَعْتُم مِّن قُوَّةٍ وَمِن رِّبَاطِ الْخَيْلِ تُرْهِبُونَ بِهِ عَدْوَّ اللّهِ وَعَدُوَّكُمْ﴾ [الأنفال : 60] ความว่า “และพวกเจ้าจงตระเตรียมกำลังและม้าที่ถูกผูกไว้สำหรับ(ป้องกัน)พวกเขา ตามที่พวกเจ้าสามารถโดยที่พวกเจ้าจะทำให้ศัตรูของอัลลอฮฺและศัตรูของพวกเจ้าหวั่นเกรงด้วยสิ่งนั้น” (อัลอัมฟาล : 60)   ประการที่สี่ ความหรูหราฟุ่มเฟือยและการใช้ชีวิตอย่างสุขสำราญเกินพอดีนั้น ทำให้ประชาชาติมุสลิมเกิดความอ่อนแอและจำต้องพึ่งพาผู้อื่นโดยมิอาจใช้ประโยชน์จากคนหนุ่มสาวและศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูของอิสลามเข้ามารุกราน แย่งชิงทรัพยากรและทำลายศาสนาหรือสร้างความเสียหายในด้านอื่นๆแก่ประชาชาติมุสลิม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้หมายถึงในกรณีที่ความฟุ่มเฟือยจำกัดวงอยู่ในการกระทำที่เป็นที่ศาสนาอนุญาตให้กระทำได้(มุบาฮฺ) ส่วนในกรณีที่การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดข้อห้ามศาสนา ก็ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง อันจะนำไปสู่ความพินาศและความเสียหายดังที่อายะห์ที่ผ่านมาข้างต้น   การสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าแห่งโลกทั้งผอง ขอพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ขอทรงประทานพรและความสันติแด่ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และแก่วงศ์วานตลอดจนมิตรสหายของท่านโดยทั่วกัน

المرفقات

2

ตำหนิการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย
ตำหนิการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย