البحث

عبارات مقترحة:

اللطيف

كلمة (اللطيف) في اللغة صفة مشبهة مشتقة من اللُّطف، وهو الرفق،...

العزيز

كلمة (عزيز) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعيل) وهو من العزّة،...

มาตรวจสอบตนเองกันเถิด

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อัสรัน นิยมเดชา ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الرقائق والمواعظ
การทบทวนพิจารณาตนเองนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก จำเป็นจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากขาดการทบทวนแล้ว คนเราจะจมดิ่งอยู่ใต้ท้องทะเลแห่งความชั่วร้าย ความลุ่มหลง ที่จะสิ้นสุดยังไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันนั้นคือ มนุษย์ และก้อนหิน.. ความเสื่อมโทรมในโลกดุนยานี้ ก็ล้วนแต่เกิดจากการที่บุคคลหรือสังคมไม่คิดถึงผลของการกระทำ ไม่คิดถึงการตอบแทนของเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลา หรือจากผู้นำ หรือแม้แต่สังคมรอบข้าง.. และเมื่อใดที่บุคคลหรือสังคมไม่คำนึงถึงผลของการกระทำของตน พวกเขาเหล่านั้นก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างตามแต่ใจต้องการ และใช้ชีวิตดั่งม้าที่ไร้บังเหียน ไร้คนควบคุม และทำตัวคล้ายชาวนรกโดยที่รู้ตัว หรือไม่รู้ตัว

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   มาตรวจสอบตนเองกันเถิด     หากเรามองดูสภาพของผู้คนทุกวันนี้ จะเห็นถึงความไร้ค่า ไร้ซึ่งราคาของชีวิตในสายตาของคนเหล่านั้น..จะเห็นความขาดทุนในชีวิตอันเนื่องมาจากการไม่คิดทบทวน พิจารณาตนเอง ผู้ที่ไม่คิดจะทบทวนตัวเองนั้น จะต้องเสียใจในวันซึ่งความโศกเศร้า เสียใจไม่มีประโยชน์ใดๆ อีกต่อไป ﴿أَن تَقُولَ نَفْسٌ يَا حَسْرَتَى علَى مَا فَرَّطتُ فِي جَنبِ اللهِ وَإِن كُنتُ لَمِنَ السَّاخِرِينَ﴾ (الزمر : 56 ) ความว่า “มิฉะนั้น ชีวิตหนึ่งจะกล่าวว่า โอ้ความหายนะจงประสบแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ทอดทิ้ง (หน้าที่) ที่มีต่ออัลลอฮฺ และข้าพระองค์เคยอยู่ในหมู่ผู้เยาะเย้ยอีกด้วย” (อัซซุมัร 56)   ซึ่งจิตใจมนุษย์นั้นไซร้ช่างเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในหลายๆ ครั้งก็โอนเอียงหาความชั่วร้าย ﴿وَمَا أُبَرِّئُ نَفْسِي إِنَّ النَّفْسَ لأَمَّارَةٌ بِالسُّوءِ إِلاَّ مَا رَحِمَ رَبِّيَ إِنَّ رَبِّي غَفُورٌ رَّحِيمٌ﴾ (يوسف : 53 ) ความว่า “และฉันไม่อาจชำระจิตใจของฉันให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ แท้จริงจิตใจนั้นถูกครอบงำไว้ด้วยความชั่ว นอกจากที่พระเจ้าของฉันทรงเมตตา แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (ยูซุฟ 53)   ณ จุดนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่บ่าวทุกคนที่หวังจะได้เข้าเฝ้าเอกองค์อัลลอฮฺ จะต้องคิดทบทวน พิจารณาตัวเองให้มาก ด้วยการมองย้อนกลับไปตรวจสอบทุกหน้าของชีวิต ว่าตนได้บันทึกอะไรลงไปบ้าง? อะไร คือการคิดทบทวน และตรวจสอบตนเอง? ท่านอิมามอัลมาวัรดีย์ กล่าวถึงการตรวจสอบตนเองว่า : “คือการที่คนเราคิดทบทวนไตร่ตรองในยามกลางคืนถึงสิ่งที่ตนได้กระทำในช่วงกลางวัน หากเป็นสิ่งที่ดีก็จะปล่อยไว้ และกระทำสิ่งที่ดีที่คล้ายหรือดีกว่าสิ่งนั้นเพิ่ม แต่ถ้าเป็นสิ่งไม่ดีก็จะแก้ไขหากยังมีเวลา และจะไม่ทำสิ่งนั้นอีกในอนาคต” ท่านอิบนุล ก็อยยิม กล่าวว่า : “การทบทวน คือการที่บ่าวแยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นของตน(บุญ) และสิ่งที่ไม่ใช่ของตน(บาป) โดยที่เขานำสิ่งที่เป็นของตนเองติดตัว และคืนสิ่งที่ไม่ใช่ของตนไป เพราะเขาคือผู้เดินทางที่จะไม่กลับมาอีก”   การตรวจสอบตนเองนั้นสำคัญหรือ? การทบทวนพิจารณาตนเองนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก จำเป็นจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ..เพราะหากขาดการทบทวนแล้ว คนเราจะจมดิ่งอยู่ใต้ท้องทะเลแห่งความชั่วร้าย ความลุ่มหลง ที่จะสิ้นสุดยังไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันนั้นคือ มนุษย์ และก้อนหิน.. ความเสื่อมโทรมในโลกดุนยานี้ ก็ล้วนแต่เกิดจากการที่บุคคลหรือสังคมไม่คิดถึงผลของการกระทำ ไม่คิดถึงการตอบแทนของเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลา หรือจากผู้นำ หรือแม้แต่สังคมรอบข้าง.. และเมื่อใดที่บุคคลหรือสังคมไม่คำนึงถึงผลของการกระทำของตน พวกเขาเหล่านั้นก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างตามแต่ใจต้องการ และใช้ชีวิตดั่งม้าที่ไร้บังเหียน ไร้คนควบคุม และทำตัวคล้ายชาวนรกโดยที่รู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ﴿إِنَّهُمْ كَانُوا لَا يَرْجُونَ حِسَاباً، وَكَذَّبُوا بِآيَاتِنَا كِذَّاباً﴾ (النبأ : 27-28 ) ความว่า “แท้จริง เพราะพวกเขามิได้ หวังว่าจะมีการชำระสอบสวน และพวกเขาได้ปฏิเสธโองการต่างๆ ของเราอย่างถนัดแท้” (อันนะบะอ์ 27-28) เราจะเริ่มทำการตรวจสอบตนเองจากจุดใด? ข้อแรก : เริ่มด้วยสิ่งที่เป็นฟัรฎฺ (วาญิบ) หากเห็นว่ามีความบกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไข ข้อที่สอง : พิจารณาส่วนที่เป็นข้อห้าม หากพบว่าตนได้กระทำสิ่งต้องห้ามลงไป ก็จงแก้ไขด้วยการเตาบะฮฺ อิสติฆฟารฺ และทำความดีลบล้างความผิด ข้อที่สาม : พิจารณาตนเองกับความหลงลืม(ที่เกิดขึ้นได้เสมอ) ด้วยการซิกรุลลอฮฺ และกลับไปหาพระองค์ ข้อที่สี่ : พิจารณา ทบทวนการกระทำ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย คำพูด การเดิน การจับต้องของมือ การมองของสองตา การฟัง ว่าสิ่งที่ทำไปทั้งหมดนั้น ทำเพื่ออะไร? ทำเพื่อใคร? และทำอย่างไร? ประเภทของการตรวจสอบ ประเภทแรก : การตรวจสอบก่อนปฏิบัติ คือการพิจารณาไตร่ตรองดูว่าสิ่งที่จะทำนั้นมีประโยชน์ต่อดุนยาและอาคิเราะฮฺหรือไม่? หรือเป็นโทษทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ เพื่อจะได้ละทิ้ง? ..และพิจารณาดูว่าสิ่งที่จะ ทำนั้นเพื่ออัลลอฮฺ หรือเพื่อมนุษย์? ประเภทที่สอง : การตรวจสอบหลังปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่สามประเภท 1- การตรวจสอบความบกพร่องที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติ เช่น การไม่อิคลาศ หรือไม่ปฏิบัติตามแบบอย่างท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) หรือ ละทิ้งสิ่งที่ควรกระทำ เช่น ซิกรุลลอฮฺ การอ่านกุรอาน หรือการละหมาดญะมาอะฮฺ ซึ่งการตรวจสอบประเภทนี้จะเป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาด และแก้ไขส่วนที่ผิด และรีบกระทำความดีชดเชย พร้อมละทิ้งสิ่งไม่ดี สิ่งต้องห้ามทั้งหลาย และเตาบะฮฺสำนึกผิด เป็นต้น 2- การตรวจสอบการงานที่หากละทิ้งแล้วจะเป็นการดีกว่า ท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวไว้ความว่า “จงละทิ้งสิ่งที่ท่านเคลือบแคลงสงสัย และ ทำสิ่งที่ไม่สงสัย” 3- การตรวจสอบสิ่งที่อนุญาติให้กระทำได้ ทำไมถึงทำ? ทำเพื่ออัลลอฮฺหรือไม่? สิ่งที่นำพาไปสู่การตรวจสอบตนเอง 1- การตระหนักอยู่เสมอว่า ยิ่งอดทนพยายามตรวจสอบตนเองมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งสบาย และรอดพ้นจากการสอบสวนในอาคิเราะฮฺ ในทางกลับกัน หากทำเพิกเฉย ไม่ยอมตรวจสอบตนเอง ในวันนั้นก็จะถูกสอบสวนอย่างหนักหน่วง 2- การนึกถึงผลดีของการตรวจสอบตนเอง เช่น การได้เข้าสรวงสวรรค์ ได้มองเห็นอัลลอฮฺ และพำนักอยู่กับบรรดานบี และคนศอลิฮฺ(ผู้มีคุณธรรม) 3- การมองถึงผลเสียของการไม่ตรวจสอบตนเอง เช่น ต้องตกนรก ต้องอยู่กับบรรดากาฟิรฺ และถูกปิดกั้นจากองค์อัลลอฮฺตะอาลา 4- คบหากับคนดีๆ ที่หมั่นตรวจสอบตนเอง และสามารถตักเตือนแนะนำเราได้ 5- ศึกษาประวัติชนรุ่นแรก และการตรวจสอบตนเองของพวกเขาเหล่านั้น 6- การเยี่ยมสุสาน และครุ่นคิดถึงความเป็นอยู่ของคนที่ตายไปแล้ว ซึ่งมิอาจจะตรวจสอบตนเองได้อีก 7- เข้าร่วมฟังการบรรยาย และนะศีหะฮฺ ตักเตือน 8- กิยามุลลัยลฺ อ่านอัลกุรอาน และคุณความดีอื่นๆ 9- ห่างไกลสถานที่ที่ทำให้ลืมตัว และเพลิดเพลินจนเกินไป 10- ซิกรุลลอฮฺ และขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺทรงดลใจให้เป็นหนึ่งในผู้ที่หมั่นตรวจสอบตนเอง 11- ไม่มองตัวเองในแง่ดีจนเกินไป เพราะจะทำให้ลืมการตรวจสอบ ทบทวน และทำให้เห็นสิ่งไม่ดีกลายเป็นสิ่งดี      ประโยชน์ของการตรวจสอบตนเอง 1- ทำให้มองเห็นความผิดพลาด และสิ่งไม่ดีของตนเอง ทำให้เกิดความอ่อนน้อมภักดีต่อองค์อัลลอฮฺ และไม่พึงพอใจกับการงานแม้ว่าจะยิ่งใหญ่เพียงใด และไม่มองข้ามบาปแม้ว่าจะเล็กน้อยเพียงไร 2- ทำให้รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลา และความกรุณาอันล้นพ้นของพระองค์ เมื่อเปรียบเทียบสิ่งที่พระองค์ทรงประทานแก่เรา กับความบกพร่องของเราในหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เราพึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาและพยายามห่างไกลความชั่วร้าย 3- ทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ อัลลอฮฺตะอาลาตรัสไว้ว่า ﴿ قَدْ أَفْلَحَ مَن زَكَّاهَا وَقَدْ خَابَ مَن دَسَّاهَا﴾ (الشمس : 9-10 ) ความว่า “แน่นอน ผู้ขัดเกลาชีวิตย่อมได้รับความสำเร็จ และแน่นอนผู้หมกมุ่นมัน (ด้วยการทำชั่ว) ย่อมล้มเหลว” (อัชชัมซฺ 9-10)   4- ทำให้เกิดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมการกระทำต่างๆ ให้เป็นไปตามครรลองของศาสนา 5- ทำให้รู้หน้าที่และสิ่งที่ต้องปฎิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตัวอย่างภาคปฎิบัติของการตรวจสอบตนเอง ตรวจสอบการละหมาด หากคุณเป็นผู้ที่รักษาละหมาด ลองนั่งอยู่กับตัวเองหลังละหมาดและกล่าวซิกิรฺทุกครั้ง แม้ว่าจะเพียงไม่กี่นาที แล้วถามตัวเองดูว่า เราได้ทำละหมาดอย่างถูกต้องสมบูรณ์หรือยัง ทั้งที่เป็นรุก่นและซุนนะฮฺ? เรามีความคุชูอฺในละหมาดหรือเปล่า? ละหมาดของเรานั้นมีผลต่อชีวิตเรา และเปลี่ยนแปลงตัวเราบ้างหรือไม่? พยายามมองดูข้อผิดพลาดในการละหมาดของเรา จะมองเห็นสิ่งนั้นแล้วจะพยายามทำละหมาดครั้งต่อไปให้ดีขึ้นตรงตามที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการละหมาด ก็จงนั่งคิดกับตัวเองว่า ทำไมเราถึงชอบละหมาดช้า? เราได้ประโยชน์อะไรที่ทำอย่างนั้น? สมควรหรือที่จะให้หน้าที่การงาน ครอบครัว และดุนยามาทำให้เราละเลยการละหมาด? ทำไมเราถึงชักช้ากับหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่ออัลลอฮฺ ในขณะที่เราไม่เคยชักช้ากับหน้าที่ที่มีต่อมนุษย์? และหากท่านเป็นผู้ที่บกพร่องในส่วนของละหมาดซุนนะฮฺ และซิกิรฺหลังละหมาด ก็ลองถามตัวเองดูว่า ทำไมเราถึงไม่ปฏิบัติสิ่งนั้น? มันทำให้เสียเวลามากหรือ? การซิกิรฺ และ ละหมาดซุนนะฮฺรวมกันใช้เวลาเพียง 5 นาที หรือมากกว่าเล็กน้อย มันจะมีผลต่อหน้าที่การงานเราหรือ? ตรงกันข้าม มันจะยิ่งเพิ่มความเป็นบะเราะกะฮฺให้แก่ชีวิตเรา     ตรวจสอบการปฏิบัติต่อบิดามารดา และญาติพี่น้อง หากคุณบกพร่องหรือเนรคุณต่อบิดามารดา ก็ลองคิดไตร่ตรองให้ดี และถามตัวเองดูว่า พ่อแม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเพื่อเลี้ยงดูเรามา ต้องลำบากอยากเข็ญเพื่อให้เราสบาย แล้วทำไมเราถึงปฏิบัติกับท่านเช่นนี้? ทำไมเราไม่นั่งคุยกับท่าน? ทำไมไม่พยายามที่จะทำให้ท่านมีความสุขแม้จะด้วยคำพูดบางคำ หรือรอยยิ้ม? กับญาติพี่น้องก็เช่นกัน ตรวจสอบตนเองก่อนนอน ก่อนเข้านอน ครุ่นคิดสักนิดถึงวันที่ผ่านไปว่าได้ทำความดี หรือบาปอะไรไปบ้าง? ได้นินทาว่าร้ายใครใหม? ได้เบียดเบียนใครหรือเปล่า? ถ้าเราตายไปตอนนี้โดยที่ยังไม่ได้เตาบะฮฺจะเป็นอย่างไร? ใครจะช่วยเราได้? และเราจะตอบอย่างไรในวันสอบสวน?   وآخر دعوانا أن الحمد لله رب العالمين، سبحانك اللهم وبحمدك، أستغفرك وأتوب إليك، وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين

المرفقات

2

มาตรวจสอบตนเองกันเถิด
มาตรวจสอบตนเองกันเถิด