البحث

عبارات مقترحة:

السميع

كلمة السميع في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعيل) بمعنى (فاعل) أي:...

الآخر

(الآخِر) كلمة تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

الرب

كلمة (الرب) في اللغة تعود إلى معنى التربية وهي الإنشاء...

ข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ อิสระ และความเสมอภาคของสตรีในอิสลาม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบนุรอมลี ยูนุส
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็นซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตี และทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลามเกี่ยวกับสิทธิ อิสระภาพ และความเสมอภาคของสตรี ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวนี้ถูกนําเสนอและถกเถียงกันอย่างแพร่หลายในงานพบปะหรือ งานสัมมนา บทความเดิมคัดจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

التفاصيل

ข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ อิสระ และความเสมอภาคของสตรีในอิสลาม﴿شبهة حول حقوق المرأة وحريتها والمساواة في الإسلام﴾อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺแปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุสผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา, ซุฟอัม อุษมานعبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحةترجمة: ابن رملي  يونسمراجعة: عصران إبراهيم ، صافي عثمانด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ อิสระ และความเสมอภาคของสตรีในอิสลามการสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ  เราขอสรรเสริญพระองค์ เราความช่วยเหลือจากพระองค์   เราขออภัยโทษจากพระองค์  ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายในตัวของเรา  จากการงานที่เลวร้ายของเรา  ผู้ใดก็ตามที่อัลลอฮฺทรงนำทาง  เขาจะไม่หลงทาง   และผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขาหลงทาง  ก็จะไม่มีผู้ใดนำทางเขา   ข้าพเจ้าขอปฎิญานตนว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น  และไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์  และข้าพเจ้าขอปฎิญานตนว่ามุฮัมมัดคือบ่าว และศาสนทูตแห่งพระองค์ ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน และครอบครัวของท่าน  สาวกของท่าน และบรรดาผู้ปฏิบัติตามเขาเหล่านั้นด้วยความดีงาม อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา  ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า : ﴿يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّا خَلَقْنَاكُم مِّن ذَكَرٍ وَأُنثَى وَجَعَلْنَاكُمْ شُعُوباً وَقَبَائِلَ لِتَعَارَفُوا إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِندَ اللهِ أَتْقَاكُمْ إِنَّ اللهَ عَلِيمٌ خَبِيرٌ﴾ (الحجرات : 13 )“โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง  และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน  แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า” ( อัล-หุญุรอต : 13) อนึ่ง ถือเป็นความผิดอันใหญ่หลวง สำหรับการกล่าวถึงอิสลามในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ตัวอย่างเช่น การเข้าใจว่า  อิสลามคือศาสนาที่ไม่ให้เกียรติเเก่สตรี  หรือไม่เคารพเธออย่างสมควร   อิสลามคือศาสนาที่ข่มเหง เเละรังแกสตรีมาตลอด  อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า : ﴿فَإِن كَرِهْتُمُوهُنَّ فَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ شَيْئاً وَيَجْعَلَ اللّهُ فِيهِ خَيْراً كَثِيراً﴾ (النساء : 19)“หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่งขณะเดียวกันอัลลอฮฺก็ทรงให้มีในสิ่งนั้นซึ่งความดีอันมากมาย” (อัน-นิสาอ์ : 19 ) เเละอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานอีกว่า :﴿وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُم مِّنْ أَنفُسِكُمْ أَزْوَاجاً لِّتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُم مَّوَدَّةً وَرَحْمَةً إِنَّ فِي ذَلِكَ لَآيَاتٍ لِّقَوْمٍ يَتَفَكَّرُونَ﴾ (الروم : 21)“และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และทรงมีความรักใคร่ และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า  แท้จริงในการนี้ แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ” (อัรฺรูม : 21 )ในโลกยุคปัจจุบันนี้เราจะเห็นกันบ่อยครั้งว่า มีกลุ่ม และองค์กรต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวในการเรียกร้องเพื่อสิทธิสตรี เเละความอิสระของเธอ    ด้วยจุดประสงค์คือ ต้องการความเท่าเทียมกันระหว่างชาย และหญิง   การเรียกร้องในลักษณะนี้อาจได้รับการยอมรับ  หากกระทําในสังคมที่ไม่เคยให้ความยุติธรรมเเก่เหล่าสตรี หรือไม่เคยเคารพสิทธิความชอบธรรมของพวกเธอเลย แต่ในสังคมมุสลิมมีการเคารพสิทธิ เเละให้อิสรภาพเเก่พวกเธออย่างสมํ่าเสมอนับตั้งเเต่ยุคเริ่มเเรกของอิสลามก่อนที่พวกเธอจะเรียกร้องสิทธิของพวกเธอเองเสียอีก การเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นจึงถือเป็นเรื่องน่าขันยิ่ง อันเนื่องจากว่าอิสลามได้วางกรอบ และจัดระเบียบของสิทธิความชอบธรรมเหล่านั้นไว้ในข้อบังคับทางศาสนาประการหนึ่งที่มิอาจต่อรองได้ ซึ่งอาจจะสร้างความคลางแคลงใจให้กับผู้คนในสังคมที่มิได้มีความเข้าใจในระบอบอิสลาม แต่กระนั้นก็เป็นไปได้ว่า อาจจะมีผู้ที่ข่มเหงรังเเกสตรีหรือละเมิดสิทธิของเธอในสังคมมุสลิมบางสังคม เพราะความบกพร่องในการปฏิบัติตามคําสอนของอิสลามนั่นเอง เเท้จริงเเล้ว  บรรดาผู้คนที่ได้เรียกร้องเพื่อความอิสระ เเละสิทธิของสตรี - ตามที่พวกเขากล่าวอ้าง[1] - ก็คงไม่พ้นจากจุดประสงค์ดังต่อไปนี้ : 1-    ต้องการปลดปล่อยสตรีให้เป็นอิสระเสรี 2-    เพื่อให้สตรีได้รับความเท่าเทียมกันกับผู้ชาย3-    เรียกร้องสิทธิความชอบธรรมของสตรี การเรียกร้องเพื่อปลดปล่อยสตรีให้เป็นอิสระคําว่า ปลดปล่อยให้เป็นอิสระ  ฟังดูเหมือนว่าเธอนั้นกําลังโดนกีดกันจนไม่มีอิสระเลย ซึ่งเป็นการกล่าวที่ห่างไกลจากความเป็นจริงมาก เพราะบ่งบอกให้เราเข้าใจว่า สตรีเปรียบเสมือนทาสคนหนึ่งที่สมควรปลดปล่อยเธอให้เป็นอิสระ พึงรู้เถิดว่า ความอิสระที่ให้ความหมายอย่างไม่มีขอบเขตนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากว่าตามธรรมชาติของมนุษย์ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขต  ทั้งนี้ก็เพราะความสามารถ เเละพลังของมนุษย์มีขีดจํากัด ดังนั้นถึงเเม้ว่ามนุษย์จะอาศัยอยู่ในสังคมที่ก้าวหน้าหรือสังคมสมัยเก่าดั้งเดิมก็ตาม ล้วนย่อมต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ซึ่งคอยควบคุมการดําเนินชีวิตของพวกเขา หรือคอยจัดระเบียบความเรียบร้อยของชีวิตเเต่ละวันของพวกเขา    เช่นนี้เราจะบอกว่าพวกเขาไม่ได้รับอิสระกระนั้นหรือ ?  ดังกล่าวนี้เราจะเห็นได้ว่าความอิสระย่อมมีขอบเขต ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ความอิสระของมนุษย์เกินเลยเกินขอบเขต  มนุษย์ก็คงไม่ต่างอะไรจากสัตว์ที่ไม่มีการเคารพกฎระเบียบเเละกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น ดร. เฮนรี่ มาโคว์ ( PhD Henry  Makow )[2] กล่าวว่า  “เเท้จริงเเล้วการเรียกร้องเพื่ออิสระของสตรีคือ การหลอกลวงชนิดหนึ่งในโลกปัจจุบัน  การหลอกลวงที่โหดเหี้ยมทําให้สตรีอเมริกาหลงผิด เเละทําลายอารยธรรมยุโรป” อิสลาม เป็นศาสนาเเรกที่ให้อิสระเเก่สตรีในการเข้าร่วมกับสังคมส่วนรวมโดยตรง  แต่ความอิสระนั้นย่อมมีขอบเขตภายใต้การดูแลและการอนุญาตของผู้ปกครองของเธอ  หรือผู้รับหน้าที่ดูเเลเธอเท่านั้น  เพื่อปกป้องมิให้เธอเสื่อมเสียเกียรติ ไร้ค่าไร้ราคา ซึ่งความอิสระในทํานองนี้ก็มีขอบเขตจำกัดสําหรับบุรุษเช่นเดียวกัน ความอิสระในอิสลามที่เเท้จริง คือตามนิยามของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด – ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน - กล่าวความว่า : “อุปมาผู้ที่ยืนหยัดบนขอบเขตแห่งอัลลอฮฺกับผู้ที่ล่วงเกินนั้น ดั่งคนกลุ่มหนึ่งซึ่งทั้งหมดอยู่ในเรือลําเดียวกัน บางคนได้อยู่ชั้นบน  บางคนได้อยู่ชั้นล่าง  สําหรับคนที่อยู่ชั้นล่างต้องเดินผ่านคนชั้นบนเมื่อต้องการตักน้ำมาใช้  ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า  ถ้าพวกเราเจาะรูที่ไหนสักเเห่งใกล้ตัวเรา  พวกเราคงไม่จําเป็นต้องไปรบกวนคนชั้นบน  ฉะนั้นถ้าพวกเขาละเลย เเละวางเฉยปล่อยให้คนที่อยู่ชั้นล่างกระทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยไม่ห้ามปรามกัน  พวกเขาทั้งหมดต้องเผชิญกับความหายนะ หากพวกเขาต่างห้ามปรามซึ่งกันและกัน พวกที่อยู่ชั้นล่างเเละทุกคนก็จะปลอดภัยกันหมด” [3]เช่นนี้คือ นิยามอันเเท้จริงของความอิสระในทัศนะอิสลาม  โดยความอิสระส่วนตัวต้องเป็นไปด้วยเงื่อนไขเเห่งศาสนบัญญัติ ด้วยการไม่สร้างผลเสียต่อตนเองเเละสังคมฉะนั้น สิ่งที่พวกเขาควรเรียกร้องเพื่อความอิสระของสตรี  ก็คือ ต้องหาว่ากฎหมายใดกันที่สมควรยิ่ง เเละมีประโยชน์ในการพิทักษ์รักษาเกียรติของสตรีเเละปกป้องสังคมมนุษย์มากกว่า ? และแน่นอนเราสามารถกล่าวได้ว่า กฎหมายอิสลามคือกฎหมายที่ยกระดับของสตรีได้ดีที่สุด ในฐานะที่เธอคือส่วนหนึ่งของบุรุษเพศเเละเป็นพี่น้องร่วมชีวิตในโลกนี้ ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด-ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน -  กล่าวความว่า “ท่านจงรักเพื่อนของท่านเสมือนที่ท่านรักตัวของท่านเอง” เช่นนี้แล้ว  พวกเขายังต้องการเรียกร้องกฎหมายอื่นๆ ที่เขียนขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ซึ่งเเอบเเฝงด้วยจุดมุ่งหมายเเละเจตนาเฉพาะที่เป็นอื่นอีกหรือ  ?การเรียกร้องให้สตรีได้รับความเท่าเทียมกันเสมอชายการเรียกร้องเพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในทุกด้านนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  เนื่องจากธรรมชาติของเพศชาย และหญิงนั้นมีความเเตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นในด้านสรีระร่างกาย  มันสมอง  หรือด้านจิตใจ แม้แต่ระหว่างเพศเดียวกันก็ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล เช่นนี้แล้วหากจะกล่าวถึงความเท่าเทียมกันระหว่างเพศย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :﴿وَمِن كُلِّ شَيْءٍ خَلَقْنَا زَوْجَيْنِ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ﴾ (الذاريات : 49 )“และจากทุก ๆ สิ่งนั้น เราได้สร้าง (มัน) ขึ้นเป็นคู่ ๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใคร่ครวญ” [4]เนื่องจากอัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ออกเป็นสองเพศ กําหนดให้เเต่ละเพศมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากเพศตรงข้าม และทั้งสองมีหน้าที่ที่เเตกต่างซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกิดความสมบูรณ์ซึ่งกันและกัน การสร้างมนุษย์ออกเป็นสองเพศแสดงให้เห็นว่า เเต่ละเพศนั้นมีคุณลักษณะพิเศษบางอย่าง ตัวอย่างที่จะเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจนในเรื่องนี้คือ เวลากลางวันและกลางคืน ทั้งสองมีลักษณะร่วมกันคือ เวลา แต่เวลาทั้งสองนั้นก็มีความพิเศษต่างกันออกไป หน้าที่ของเวลากลางคืนคือให้ความสงบ  และหน้าที่ของเวลากลางวันคือการให้โอกาสในการเเสวงหาปัจจัยยังชีพ   เช่นเดียวกันนี้ มนุษย์เพศชายและหญิงก็มีลักษณะร่วมกันคือความเป็นมนุษย์ แต่หน้าที่บางประการระหว่างทั้งสองนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไป บางประการมีไว้สำหรับเพศชายเท่านั้น  เเละบางประการก็เฉพาะเจาะจงสำหรับเพศหญิง ณ ที่นี้เราสามารถสรุปได้ว่า ทั้งสองมาจากจุดร่วมเดียวกัน มีหน้าที่ที่เหมือนกันในฐานะของความเป็นมนุษย์ และมีหน้าที่อื่นๆ เป็นการเฉพาะในฐานะเพศที่เเตกต่างกัน [5]จะเห็นได้ว่าความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในทุกเรื่องย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นการเรียกร้องเพื่อความเท่าเทียมกันดูจะเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะเป็นการพยายามปรับเปลี่ยนธรรมชาติดั้งเดิมที่ถูกสร้างมา ในขณะเดียวกันถือว่าเป็นการดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นสตรีของเธอ เพราะการเรียกร้องในเชิงนี้ดูเหมือนว่าต้องการให้เธอเฉออกจากธรรมชาติดั้งเดิมที่อัลลลอฮฺสร้างมาเพื่อเธอ  ซึ่งจะส่งผลสะท้อนในเเง่ร้ายต่อสังคมการเรียกร้องเพื่อสิทธิความชอบธรรมของสตรีไม่มีกฎหมายใดหรือระบบใดในอดีต และปัจจุบันที่ปกป้องรักษาสิทธิของสตรี เเละยกฐานะของเธออันสูงส่งนอกเหนือจากอิสลาม  นับตั้งเเต่รัศมีเเห่งอิสลามเริ่มฉายพร้อมๆ กับการมาเยืยนของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด-ขออัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานเเก่ท่านด้วยเถิด - นับว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่สร้างความอัศจรรย์ใจเเก่เหล่าผู้ศรัทธาในสมัยนั้น เเละผู้คนอื่นๆ ที่ศรัทธาต่อมา  อันเนื่องมาจากการทุ่มเทของพวกเขาในการเผยเเผ่อิสลาม จนกระทั่งอิสลามได้รับการยอมรับจากผู้คนอย่างกว้างขวาง   เนื่องด้วยความสมบูรณ์เเบบของอิสลาม  ความละเอียดอ่อน  เเละง่ายต่อการเข้าใจ   เหมาะสมกับธรรมชาติของมนุษย์  ผู้เขียนขอหยิบยกส่วนหนึ่งจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนะของอิสลามต่อฐานะความเป็นอยู่ของสตรี เเละเรื่องอื่นๆ ด้านสิทธิความชอบธรรมของสตรีในทัศนะอิสลาม ซึ่งถือว่าสําคัญที่สุดที่จะกล่าวถึงในหนังสือฉบับนี้ เจ้าของหนังสือ อารยธรรมชาวอาหรับ [6] กล่าวว่า : “ความประเสริฐของอิสลามนั้นไม่เพียงเเต่เน้นหนักด้านการยกฐานะของสตรีเท่านั้น  ทว่าอิสลามคือศาสนาเเรกที่ได้ปฏิบัติต่อสตรีในลักษณะเช่นนี้  หลักฐานที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในเรื่องนี้  คือ ศาสนาอื่นๆ แเละประชาชาติต่างๆ ก่อนอาหรับล้วนเเล้วแต่ทําลายเกียรติอันสูงส่งของเธอ” ท่านได้กล่าวในหน้า 497 อีกว่า : “สิทธิความชอบธรรมระหว่างสามีภรรยาที่ถูกจารึกไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีความประเสริฐยิ่งกว่าสิทธิ เเละความชอบธรรมที่ใช้กันในสังคมยุโรป” เเท้จริงเเล้ว การเรียกร้องเพื่อสิทธิของสตรีน่าจะกระทํากันในสังคมยุโรปที่พยายามยึดครองสิทธิของเธออย่างไม่ชอบธรรม  หรือในสังคมที่ให้อิสระแก่เธออย่างไม่มีขอบเขตจนทําให้เธอต้องตกอยู่ในหนทางที่ไร้ความบริสุทธิ์   สร้างความเสื่อมเสียกับชีวิตเธอ  เป็นเหตุให้เธอต้องตกเป็นเหยื่อเพื่อสนองตอบความสนุกสนาน เเละความต้องการบางอย่าง หรือเเค่เพียงได้รับความสุขจากเธอเท่านั้น ถ้าเรามองตามบทบัญญัติของอิสลามเเล้ว  อิสลามคือศาสนาที่ให้ความยุติธรรมเเก่สตรีมากที่สุด ปกป้องรักษาเธอซึ่งสิทธิของเธอ ทําให้เธอได้มีชีวิตในโลกนี้ที่เปี่ยมด้วยความสุขที่เเท้จริง    เธอจึงได้รับความสงบ เเละความปลอดภัยที่เเท้จริง  ส่งผลให้เธอปฏิบัติทําหน้าที่ในฐานะความเป็นสตรีของเธอตามที่อัลลลอฮฺทรงมอบให้เธออย่างเต็มรูปเเบบ[1] ถ้าไม่เช่นนั้นเเล้ว  ไหนล่ะสิ่งที่พวกเขาเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของผู้คนที่โดนไล่ฆ่าฟันหรือโดนยึดถิ่นกําเนิดของพวกเขา  ซึ่งบางทีพวกเขาโดนขับไล่ออกจากมันโดนยึดทรัพย์สมบัติ? ไหนล่ะสิ่งที่พวกเขาเรียกเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของเหล่าผู้ยากไร้อดอยากเเละบรรดาคนป่วยที่เราพบเห็นในบางประเทศที่ยากจนในโลกนี้    ดังนั้น พวกเราเพียงเเค่ขอร้องให้พวกเขาอย่าขัดขวางในการปฏิบัติหน้าที่ของประเทศมุสลิม เพื่อช่วยเหลือกลุ่มชนเหล่านั้น ทั้งๆ ที่จุดประสงค์คือ การภักดีต่ออัลลอฮฺ เเละเเสวงผลบุญจากพระองค์เท่านั้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 [2]  นักวิชาการชาวอเมริกา  นักวิจัยเเละผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสังคมสตรีระดับโลก ( ดูวารสารอิสลามที่ชื่อ อัลมุสตักบัล อัลอิสลามีย์  ฉบับ 146  วันที่ 6/ 1424 ฮ.ศ. TheDebuchery Of American Womanhoot Bikini vs Burka [3] อัลบุคอรีย์ 2/ 882 เลขที่ 2361 [4] อัซ-ซาริยาต อายะฮฺที่ 49 [5] จากหนังสืออัลเกาะฎออ์ วัลเกาะดัร โดย มุฮัมมัด มุตะวัลลี อัช-ชะอฺรอวีย์ หน้า 130-132 [6] Dr.  G Lebon  หน้า 488  เเปลโดย อาดิล ซุอัยตัร

المرفقات

2

ข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ อิสระ และความเสมอภาคของสตรีในอิสลาม
ข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ อิสระ และความเสมอภาคของสตรีในอิสลาม