البحث

عبارات مقترحة:

الواحد

كلمة (الواحد) في اللغة لها معنيان، أحدهما: أول العدد، والثاني:...

العليم

كلمة (عليم) في اللغة صيغة مبالغة من الفعل (عَلِمَ يَعلَمُ) والعلم...

สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อับดุลเราะหฺมาน บิน อับดุลกะรีม อัลชีหะฮฺ ، อิบนุรอมลี ยูนุส
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات نوازل الأحوال الشخصية وقضايا المرأة
อิสลามได้บังคับใช้ให้กระทําความดีต่อสตรี ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวว่า “คนมุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)กับมุอ์มินด้วยกัน เปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่แต่ละคนต่างเสริมสร้างความแข็งแรงซึ่งกันและกัน” แล้วท่านก็เอานิ้วมือทั้งสองข้างมาสอดเข้าหากัน สตรี ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพี่น้องทางพ่อหรือทางแม่ หรือญาติใกล้ชิด พวกเขาคือ เครือญาติที่อัลลอฮฺสั่งให้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ควรตัดขาดกัน เพราะการตัดขาดกันในเรื่องนี้ถือว่า เป็นการเผชิญกับโทษมหันต์

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม   อิสลามได้บังคับใช้ให้กระทําความดีต่อสตรี  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวว่า “คนมุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)กับมุอ์มินด้วยกัน เปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่แต่ละคนต่างเสริมสร้างความแข็งแรงซึ่งกันและกัน”  แล้วท่านก็เอานิ้วมือทั้งสองข้างมาสอดเข้าหากัน [1] - สตรี ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพี่น้องทางพ่อหรือทางแม่  หรือญาติใกล้ชิด  พวกเขาคือ เครือญาติที่อัลลอฮฺสั่งให้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ไม่ควรตัดขาดกัน เพราะการตัดขาดกันในเรื่องนี้ถือว่า เป็นการเผชิญกับโทษมหันต์ซึ่งอัลลอฮฺตรัสว่า ﴿فَهَلْ عَسَيْتُمْ إِن تَوَلَّيْتُمْ أَن تُفْسِدُوا فِي الْأَرْضِ وَتُقَطِّعُوا أَرْحَامَكُمْ﴾ (محمد : 22 ) ความว่า “ดังนั้น หวังกันว่า หากพวกเจ้าผินหลังให้(กับการอีมานแล้ว)พวกเจ้าก็จะก่อความเสียหายในแผ่นดินและตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้ากระนั้นหรือ?” [2]   ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “คนที่ตัดขาดทางเครือญาติจะไม่เข้าสวรรค์” [3] การทําดีต่อเครือญาติจะได้รับผลบุญเป็นสองเท่า  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “การบริจาคทานให้กับคนยากไร้ได้ผลบุญแห่งการบริจาคทาน  ถ้าได้บริจาคแก่ญาติผู้ใกล้ชิดจะได้รับสองผลบุญ คือ ผลบุญของการบริจาคทาน  และผลบุญของการเชื่อมมิตรไมตรีในหมู่เครือญาติ” [4]   - ถ้านางเป็นเพื่อบ้านที่อยู่ใกล้ชิด  สําหรับนางคือสองสิทธิที่สมควรได้รับ  คือ สิทธิแห่งอิสลาม  และสิทธิแห่งเพื่อนบ้าน   อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า ﴿وَاعْبُدُواْ اللهَ وَلاَ تُشْرِكُواْ بِهِ شَيْئاً وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً وَبِذِي الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَالْجَارِ ذِي الْقُرْبَى وَالْجَارِ الْجُنُبِ وَالصَّاحِبِ بِالجَنبِ﴾ (النساء : 36 ) ความว่า “และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง”[5]   หน้าที่ของผู้ที่ใกล้ชิดนาง ในฐานะเพื่อนบ้าน คือต้องทําดีต่อนาง  หมั่นรักษาคํามั่นสัญญาต่อกัน  ส่งความช่วยเหลือในยามที่นางต้องการความช่วยเหลือ  ทั้งในด้านความจําเป็นในการดําเนินชีวิต หรือ เรื่องอื่นๆ ที่นางต้องการความช่วยเหลือ  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “มลาอิกะฮฺญิบรีล(เทวทูตของอัลลอฮฺ)ได้สั่งเสียฉันอยู่เสมอเป็นเนืองนิจเพื่อให้ทำดีต่อเพื่อนบ้าน  จนทำให้ฉันคิดเหมือนว่าเขาต้องการให้เพื่อนบ้านสามารถที่จะรับส่วนแบ่งของมรดกได้ด้วย” [6] นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปกป้องเกียรติ  และตัวของนาง  ไม่ทําร้ายและกล่าวละเมิดด้วยวาจาที่ไม่สุภาพหรือการปฏิบัติต่อนางอย่างไม่ชอบธรรม  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน-  กล่าวว่า “วัลลอฮฺ ! (ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ) เขาคนนั้นไม่ศรัทธาพอ  วัลลอฮฺ ! เขายังไม่ศรัทธาพอ  วัลลอฮฺ ! เขายังไม่ศรัทธาพอ (ท่านได้สาบานกับนามของอัลลอฮฺสามครั้ง)”   มีคนถามว่า ใครเล่าโอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ?  ท่านตอบว่า “ผู้ซึ่งเพื่อนบ้านของเขาไม่ปลอดภัยจากความชั่วของเขา” [7]    - เพื่อประกันสิทธิความชอบธรรมของนางในฐานะสตรีคนหนึ่ง   อิสลามจึงประกาศแก่มุสลิมทุกคนให้รับรู้ว่า  การทําดีต่อนางตลอดจนการช่วยเหลือนาง  คือสิ่งที่มุสลิมทุกคนควรแข่งกันทํา และเช่นนี้คือการงานที่ประเสริฐยิ่ง  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีแด่ท่าน- กล่าวว่า “ผู้ที่ออกตระเวนหาหญิงหม้ายและผู้ยากจน(เพื่อช่วยเหลือ) เปรียบเสมือนคนที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺหรือคนที่หมั่นละหมาดกลางคืนและถือศีลอดกลางวัน” [8] เหล่าสาวกของท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้ออกตระเวนอย่างสมํ่าเสมอเพื่อไต่ถามข่าวคราวความทุกข์สุขของเพื่อนบ้านของพวกเขา โดยเฉพาะผู้ยากไร้  และพวกเขาให้ความสําคัญต่อบรรดาสตรีเป็นพิเศษ รายงานโดยฏ็อลหะฮฺ - ขออัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานแก่ท่านด้วยเถิด- ซึ่งกล่าวว่า ท่านอุมัรฺ บิน อัลค็อฏฏอบ - ขออัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานแก่ท่านด้วยเถิด- ได้ออกเดินจากบ้านในคํ่าคืนหนึ่ง ฉันจึงตามหลังเขาไปด้วย  ท่านได้เข้าบ้านหลังหนึ่งแล้วอีกบ้านหนึ่งถัดไป   เมื่อถึงรุ่งเช้าฉันได้เดินผ่านบ้านหลังนั้น ฉันเลยเข้าไปดู  ปรากฎว่ามีหญิงวัยชราตาบอดคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่  ฉันถามนางว่า  ชายคนนั้นที่มาเมื่อวานเพื่อเหตุใด? นางตอบว่า เขาคือผู้ชายที่ได้สัญญากับฉันเมื่อวันก่อนที่ผ่านมาว่าต้องการช่วยเหลือในสิ่งที่ฉันต้องการ  สร้างบ้านให้ฉัน และขจัดสิ่งเลวร้ายทั้งปวงให้ออกห่างจากตัวฉัน  ฏ็อลหะฮฺกล่าวแก่ตัวเอง ว่า  “ฉันกําลังเสาะหาความผิดของอุมัรฺอีกหรือ ?” ที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่การยกอ้างถึงสิทธิและหน้าที่ของสตรีอย่างกว้าง ๆ  เพราะนอกจากนี้ยังมีสิทธิและหน้าที่อื่นๆ อีกมากมายซึ่งแตกแขนงมาจากสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว   แต่จะขอไม่อธิบายรายละเอียดลึกลงไปในหนังสือฉบับนี้เพราะเกรงว่าจะยืดยาว   กระนั้นที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้ทำให้ประจักษ์แก่เราแล้วถึงภาพลักษณ์อันดีงามของอิสลามที่มีต่อบรรดาสตรี [1] เศาะฮีฮฺ บุคอรีย์ 1/182 เลขที่ 467 [2] มุฮัมมัด 22 [3] เศาะฮีฮฺ มุสลิม 4/ 1981 เลขที่ 2556 [4] เศาะฮีฮฺ อิบนิคุซัยมะฮฺ 3/ 278 หมายเลข 2067 [5] อัลกุรอาน บท อัน-นิสาอ์ 36 [6] อัลบุคอรีย์ 5/ 2239 หมายเลข  5668 [7] อัลบุคอรีย์ 5/2240 เลขที่ 5670 [8] เศาะฮีฮฺ อัลบุคอรีย์ 5/2047 หมายเลข 5038

المرفقات

2

สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม
สิทธิของสตรีในอิสลามในฐานะผู้หญิงทั่วไปในสังคม