البحث

عبارات مقترحة:

الخلاق

كلمةُ (خَلَّاقٍ) في اللغة هي صيغةُ مبالغة من (الخَلْقِ)، وهو...

المحسن

كلمة (المحسن) في اللغة اسم فاعل من الإحسان، وهو إما بمعنى إحسان...

ทำไมบรรดาฟุเกาะฮาอ์จึงส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่ 11 (มุหัรร็อม) พร้อมกับวันที่ 10 (วันอาชูรออ์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف นะอีม วงศ์เสงี่ยม ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات مناسبات دورية - يوم عاشوراء
คำถาม : ผมได้อ่านหะดีษทั้งหมดเกี่ยวกับวันอาชูรออ์ไม่พบแม้หะดีษเดียวว่าท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แนะนำให้ถือศีลอดวันที่ 11 เพื่อทำให้แตกต่างกับพวกยิว ท่านกล่าวเพียงแค่ว่า “หากฉันมีชีวิตอยู่ต่อไปแน่นอนฉันจะถือศีลอดในวันที่ 9 และ 10” เป็นการทำให้แตกต่างกับพวกยะฮูด ขณะเดียวกันท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยบอกให้บรรดาเศาะหาบะฮฺถือศีลอดในวันที่ 11 แต่อย่างใด ดังกล่าวนี้จะไม่ถือเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ดอกหรือการที่เราจะปฏิบัติในสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านมิได้ปฏิบัติ? เพียงพอหรือไม่สำหรับคนที่พลาดการถือศีลอดวันที่ 9 (วันตาสูอาอ์) จะถือศีลอดวันที่ 10 (อาชูรออ์) วันเดียว ?

التفاصيل

> > > > ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ   ทำไมบรรดาฟุเกาะฮาอ์จึงส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่ 11 (มุหัรร็อม) พร้อมกับวันที่ 10 (วันอาชูรออ์)     คำถาม : ผมได้อ่านหะดีษทั้งหมดเกี่ยวกับวันอาชูรออ์ไม่พบแม้หะดีษเดียวว่าท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แนะนำให้ถือศีลอดวันที่ 11 เพื่อทำให้แตกต่างกับพวกยิว  ท่านกล่าวเพียงแค่ว่า “หากฉันมีชีวิตอยู่ต่อไปแน่นอนฉันจะถือศีลอดในวันที่ 9 และ 10” เป็นการทำให้แตกต่างกับพวกยะฮูด ขณะเดียวกันท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยบอกให้บรรดาเศาะหาบะฮฺถือศีลอดในวันที่ 11 แต่อย่างใด ดังกล่าวนี้จะไม่ถือเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ดอกหรือการที่เราจะปฏิบัติในสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านมิได้ปฏิบัติ? เพียงพอหรือไม่สำหรับคนที่พลาดการถือศีลอดวันที่ 9 (วันตาสูอาอ์) จะถือศีลอดวันที่ 10 (อาชูรออ์) วันเดียว ?   คำตอบ :  การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ             บรรดานักวิชาการส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่ 11 เดือนมุหัรร็อม เพราะมีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านใช้ให้ถือศีลอดในวันนั้น ดังหะดีษที่อะหฺมัดรายงานไว้ (หะดีษที่ 2155) จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : «صُومُوا يَوْمَ عَاشُورَاءَ ، وَخَالِفُوا فِيهِ الْيَهُودَ ، صُومُوا قَبْلَهُ يَوْمًا أَوْ بَعْدَهُ يَوْمًا» “พวกท่านจงถือศีลอดวันอาชูรออฺ และจงทำให้แตกต่างกับพวกยะฮูด (ยิว) จงถือศีลอดก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน หรือหลังจากนั้นหนึ่งวัน”               บรรดานักวิชาการขัดแย้งกันถึงความถูกต้องของหะดีษบทนี้ โดยเชคอะหฺมัด ชากิร บอกว่าเป็นหะดีษหะสัน ส่วนผู้ตรวจสอบสายสืบรายงานหลายท่านบอกว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟ               อิบนุคุซัยมะฮฺได้รายงาน (หะดีษที่ 2095) ด้วยสำนวนนี้ เชค อัล-อัลบานียฺ กล่าวว่า : “สายรายงานนี้เฏาะอีฟ เพราะอิบนุอบีลัยลาเป็นคนที่ความจำไม่ดี อะฏออ์และท่านอื่นๆ ได้ขัดแย้งกับท่าน (อิบนุ อบีลัยลา) พวกเขาได้รายงานจากอิบนุ อับบาสในฐานะที่เป็นหะดีษเมากูฟ (สายรายงานสิ้นสุดที่เศาะหาบะฮฺ) และเป็นสายรายงานที่เศาะฮีฮฺตามทัศนะของอัฏ-ฏอหาวีย์ และอัล-บัยฮะกีย์” จบการอ้าง             ดังนั้นหากเป็นหะดีษที่หะสันย่อมถือว่าดี แต่หากเป็นหะดีษเฎาะอีฟแล้ว หะดีษเฎาะอีฟในลักษณะนี้นักวิชาการอนุโลมให้เพราะถือว่าอ่อนไม่มาก ไม่ได้เป็นหะดีษที่กุขึ้นหรือแต่งขึ้นมา และเนื่องด้วยมันอยู่ในการส่งเสริมให้กระทำความดี โดยเฉพาะได้มีหะดีษที่รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดในเดือนมุหัรร็อมอยู่แล้ว ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : «أَفْضَلُ الصِّيَامِ بَعْدَ رَمَضَانَ شَهْرُ اللهِ الْمُحَرَّمُ» “การถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดรองจากเดือนเราะมะฎอนคือเดือนของอัลลอฮฺ เดือนมุหัรร็อม” รายงานโดยมุสลิม หะดีษที่ 1163               อัล-บัยฮะกีย์ได้รายงานหะดีษนี้ใน “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ” ตามสำนวนข้างต้น และมีสายรายงานอื่นด้วยสำนวนที่ว่า : «صوموا قبله يوماً وبعده يوماً» “พวกท่านจงถือศีลอดก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน และหลังจากนั้นหนึ่งวัน”   โดยใช้ตัวเชื่อม “วะ” (และ) แทนคำว่า “เอาวฺ“ (หรือ)             อัล-หาฟิซ อิบนุหะญัร ได้นำมารายงานไว้ใน “อิตหาฟุล มะฮะเราะฮฺ” หะดีษที่ 2225 ด้วยสำนวนที่ว่า : “พวกท่านจงถือศีลอดก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน และหลังจากนั้นหนึ่งวัน” โดยกล่าวว่า : “อะหฺมัด และอัลบัยฮะกียฺได้รายงานด้วยสายรายงานที่เฎาะอีฟ เพราะมุฮัมมัด อิบนุ อบีลัยลาเป็นคนเฎาะอีฟ แต่ว่าเขาไม่ได้รายงานเพียงคนเดียว ทว่าศอลิหฺ อิบนุ อบีศอลิหฺ อิบนุ หัยยฺ ได้รายงานเช่นกัน” จบการอ้าง   สายรายงานนี้ได้บ่งบอกว่าการถือศีลอดในวันที่ 9, 10 และ 11 นั้นส่งเสริมให้ปฏิบัติ             นักวิชาการบางท่านได้กล่าวถึงสาเหตุอื่นของการส่งเสริมให้ถือศีลอดในวันที่ 11 ไว้ว่า เป็นการเผื่อไว้สำหรับวันที่ 10 บางทีผู้คนอาจผิดพลาดด้านการเข้าเดือนมุหัรร็อมจึงไม่ทราบว่าวันใดกันแน่คือวันที่ 10 ดังนั้นหากมุสลิมได้ถือศีลอดวันที่ 9, 10 และ 11 ย่อมทำให้เกิดความแน่นอนว่าได้ถือศีลอดวันอาชูรออ์แล้ว อิบนุ อบีชัยบะฮฺได้รายงานไว้ใน “อัลมุศ็อนนัฟ” (เล่ม 2 หน้า 313) จาก ฏอวูส (ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน) ว่าท่านได้ถือศีลอดก่อนและหลังจากวันที่ 10 มุหัรร็อมหนึ่งวัน เพราะเกรงว่าจะถือศีลอดพลาดไม่ตรงกับวันที่ 10             อิหม่ามอะหฺมัด กล่าวว่า ใครต้องการถือศีลอดวันอาชูรออ์ให้ถือวันที่ 9 และวันที่ 10 นอกเสียจาก (การเข้า) เดือนนั้นจะสับสนก็ให้ถือศีลอดทั้งสามวัน อิบนุ ซีรีนก็กล่าวเช่นเดียวกันนี้ (จบการอ้างจาก “อัลมุฆนียฺ” เล่มที่ 4 หน้า 441)             ด้วยเหตุดังกล่าวย่อมชัดเจนว่าไม่ถูกต้องสำหรับคำกล่าวว่าการถือศีลอดสามวันเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ)             ส่วนใครที่พลาดถือศีลอดวันที่ 9 หากเขาจะถือศีลอดวันที่ 10 เพียงวันเดียวก็ไม่เป็นที่ต้องห้าม และไม่ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) ด้วย แต่หากจะถือศีลอดวันที่ 11 ด้วยย่อมมีความประเสริฐกว่า             อัล-มัรดาวียฺ กล่าวไว้ใน “อัลอินศอฟ” (เล่มที่ 3 หน้าที่ 346) ความว่า : “ตามทัศนะที่ถูกต้องนั้นการถือศีลอดวันที่ 10 วันเดียวไม่เป็นที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) เชคตะกียฺยุดดีน อิบนุ ตัยมียฺยะฮฺ ก็เห็นด้วยว่าไม่น่ารังเกียจแต่อย่างใด” จบการอ้างแบบสรุป             วัลลอฮุอะอฺลัม   คำตอบโดย เว็บอิสลามถามตอบ ฟัตวาหมายเลข 128423

المرفقات

2

ทำไมบรรดาฟุเกาะฮาอ์จึงส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่ 11 (มุหัรร็อม) พร้อมกับวันที่ 10 (วันอาชูรออ์
ทำไมบรรดาฟุเกาะฮาอ์จึงส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่ 11 (มุหัรร็อม) พร้อมกับวันที่ 10 (วันอาชูรออ์