البحث

عبارات مقترحة:

المهيمن

كلمة (المهيمن) في اللغة اسم فاعل، واختلف في الفعل الذي اشتقَّ...

الكبير

كلمة (كبير) في اللغة صفة مشبهة باسم الفاعل، وهي من الكِبَر الذي...

الخالق

كلمة (خالق) في اللغة هي اسمُ فاعلٍ من (الخَلْقِ)، وهو يَرجِع إلى...

บิดอะฮฺบางส่วนในเดือนเศาะฟัร

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ การฟัตวา การเชิญชวน และการแนะนำ ، อัสรัน นิยมเดชา
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات مناسبات دورية - شهر صفر
คำถาม ผู้รู้บางท่านในบ้านเรากล่าวว่า ในอิสลามนั้นมีการละหมาดสุนัตในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ในช่วงสายๆ โดยให้ละหมาด 4 ร็อกอัต ด้วยสลามหนึ่งครั้ง ในทุกร็อกอัตให้อ่าน ฟาติหะฮฺ ตามด้วยสูเราะฮฺอัลเกาษัรฺ 17 ครั้ง สูเราะฮฺอัลอิคลาศ 50 ครั้ง และสูเราะฮฺอันนาส กับอัลฟะลักอีกอย่างละครั้ง ... ส่วนผู้ที่ไม่สามารถทำการละหมาดด้วยขั้นตอนดังกล่าวได้อย่างเด็กๆ เป็นต้น ก็ให้ทำน้ำแล้วดื่มแทน...สิ่งเหล่านี้กระทำได้หรือไม่?

التفاصيل

บิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัร  บิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัรمن بدع صفرแปล: อัสรัน นิยมเดชา ترجمة:  عصران إبراهيمบิดอะฮฺในเดือนเศาะฟัรถาม : “ผู้รู้บางท่านในบ้านเรากล่าวว่า ในอิสลามนั้นมีการละหมาดสุนัตในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ในช่วงสายๆ โดยให้ละหมาด 4 ร็อกอัต ด้วยสลามหนึ่งครั้ง ในทุกร็อกอัตให้อ่าน ฟาติหะฮฺ ตามด้วยสูเราะฮฺอัลเกาษัรฺ 17 ครั้ง สูเราะฮฺอัลอิคลาศ 50 ครั้ง และสูเราะฮฺอันนาส กับอัลฟะลักอีกอย่างละครั้ง จากนั้นก็ให้สลาม โดยขณะที่ให้สลามนั้นให้อ่านالله غالب على أمره ولكن أكثر الناس لا يعلمون360 ครั้ง ตามด้วยเญาฮัรุลกะมาล 3 ครั้ง และปิดท้ายด้วยการกล่าวسبحان ربك رب العزة عما يصفون وسلام على المرسلين والحمد لله رب العالمينจากนั้นก็ให้บริจาคอาหารแก่ผู้ยากไร้ ซึ่งประโยชน์ของการกระทำเช่นนี้ คือทำให้ห่างไกลจากบะลาที่จะลงมาในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร  โดยพวกเขาได้กล่าวว่า ทุกๆ ปีนั้น จะมีบะลาลงมา 320,000 บะลา ในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ทำให้วันนั้นเป็นวันที่สร้างความเดือดร้อนลำบากมากที่สุดในรอบปี แต่ถ้าผู้ใดได้ทำการละหมาดด้วยขั้นตอนดังเช่นที่กล่าวมานั้น อัลลอฮฺตะอาลาก็จะทรงปกป้องเขาให้รอดพ้นจากบะลาที่ลงมาในวันนั้นทุกประการ ส่วนผู้ที่ไม่สามารถทำการละหมาดด้วยขั้นตอนดังกล่าวได้ ก็ให้ทำน้ำแล้วดื่มแทน...สิ่งเหล่านี้กระทำได้หรือไม่?” ตอบ : الحمد لله والصلاة والسلام على رسوله وآله وصحبه ، وبعد : “การละหมาดสุนัตด้วยรูปแบบดังที่กล่าวในคำถามมานั้น เราไม่ทราบว่ามีที่มาที่ไปในอัลกุรอาน หรือสุนนะฮฺแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีท่านหนึ่งท่านใดจากบรรพชนยุคแรกของประชาชาตินี้ และบรรดาคนศอลิหฺในหมู่ผู้ที่มาหลังจากท่านเหล่านั้นได้กระทำการดังกล่าวแต่ อย่างใด แต่มันเป็นบิดอะฮฺที่น่าเกลียดยิ่งมีรายงานเศาะฮีหฺ จากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านกล่าวว่า«من عمل عملاً  ليس عليه أمرنا فهو رد» ความว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆที่ไม่ใช่แบบอย่างของเรา การงานนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" และท่านกล่าวว่า :«من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد» ความว่า "ผู้ใดประดิษฐ์การงานซึ่งไม่มีแบบอย่างจากสิ่งที่เราสอน แน่นอนว่ามันจะถูกปฏิเสธ"และผู้ใดแอบอ้างพาดพิงรูปแบบการละหมาดดังกล่าว และสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นว่าเป็นแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หรือเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งท่านใด แท้จริงแล้วเขาได้โกหกอย่างน่ารังเกียจยิ่งนัก และขอให้เขาได้รับการตอบแทนการกระทำของเขาจากอัลลอฮฺอย่างสาสม” (รวมฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ และการฟัตวา เล่ม 2 หน้า 354)