البحث

عبارات مقترحة:

الملك

كلمة (المَلِك) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فَعِل) وهي مشتقة من...

المقيت

كلمة (المُقيت) في اللغة اسم فاعل من الفعل (أقاتَ) ومضارعه...

الأول

(الأوَّل) كلمةٌ تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

เราะมะฎอน ระหว่างศิยามและอัลกุรอาน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน ، อุษมาน อิดรีส
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل العبادات - أحكام الصيام
บทความที่พยายามจะสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างการศิยาม (การถือศีลอด) และการประทานอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน ซึ่งแท้จริงแล้ว หากสังเกตโดยไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก็จะเห็นว่า ฟัรฎูการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนมีความเกี่ยวข้องแนบแน่น กับการที่อัลลอฮฺประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนอันยิ่งใหญ่นี้

التفاصيل

เราะมะฎอน : ระหว่างศิยามและอัลกุรอานرمضان ... بين الصيام والقرآنซุฟอัม อุษมานصافي عثمانตรวจทาน: อุษมาน อิดรีสمراجعة: عثمان إدريسเราะมะฎอน : ระหว่างศิยามและอัลกุรอานทำไมต้องเราะมะฎอน?อัลลอฮฺ สุบหานาฮูวะตะอาลา ผู้สูงส่งเป็นผู้ที่เปี่ยมยิ่งด้วยวิทยปัญญา พระองค์ทรงสิทธิสมบูรณ์ในการสร้าง การเลือก คัดสรรสิ่งที่พระองค์พอพระทัย พระองค์ไม่ใช่ผู้ที่เราต้องตั้งคำถามว่าทำไมจึงทรงทำเช่นนั้นหรือเช่นนี้ สิทธิเหล่านี้แท้จริงแล้วคือความลับซึ่งไม่มีใครสามารถครอบครองกุญแจแห่งความลับนี้นอกจากพระองค์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยพระเมตตาและความกรุณาอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อบ่าวทั้งปวง ความลับบางอย่างได้ถูกไขให้มนุษย์รับรู้บางส่วน เพื่อเป็นความรู้ที่จะให้พวกเขาได้ใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต กรณีนี้รวมถึงเหตุผลที่พระองค์เลือกเดือนเราะมะฎอนให้เป็นเดือนที่ประเสริฐเหนือเดือนอื่นๆ ทั้งหมด ทั้งๆ ที่พระองค์เป็นผู้กำหนดเดือนทั้งสิบสองเดือนด้วยพระองค์เอง เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความรับรู้ของเราว่า เหตุใดองค์อัลลอฮฺจึงเลือกเดือนเราะมะฎอนให้เป็นเดือนแห่งความประเสริฐมากมายล้นเหลือที่แทบจะหาไม่ได้เลยในเดือนอื่นๆ ที่เรารู้ก็คือเดือนเราะมะฎอนเป็นฤดูกาลแห่งความดีงามมากมายเหลือเกิน เป็นเดือนที่เพียบพร้อมไปด้วยบรรยากาศที่แสนวิเศษสำหรับผู้ศรัทธา«إِذَا كَانَ أَوَّلُ لَيْلَةٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ صُفِّدَتْ الشَّيَاطِينُ وَمَرَدَةُ الْجِنِّ، وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ، فَلَمْ يُفْتَحْ مِنْهَا بَابٌ، وَفُتِّحَتْ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ فَلَمْ يُغْلَقْ مِنْهَا بَابٌ، وَيُنَادِي مُنَادٍ : يَا بَاغِيَ الْخَيْرِ أَقْبِلْ، وَيَا بَاغِيَ الشَّرِّ أَقْصِرْ، وَلِله عُتَقَاءُ مِنَ النَّارِ، وَذٰلِكَ كُلُّ لَيْلَةٍ» (الترمذي رقم 618، صحيح الجامع الصغير للألباني رقم 759 : حسن)“เมื่อคืนแรกของเดือนเราะมะฎอนมาถึง เหล่าชัยฏอนและญินที่ชั่วร้ายทั้งหลายจะถูกมัด ประตูทั้งหลายของนรกจะถูกปิดตรึง ไม่มีประตูใดของมันที่ถูกเปิดอยู่เลย ในขณะที่ประตูทั้งหลายของสวรรค์จะถูกเปิดอ้า ไม่มีประตูใดๆ เลยของมันที่ถูกปิด และจะมีผู้ที่ป่าวประกาศเรียกร้องว่า ‘โอ้ผู้ที่ขวนขวายความประเสริฐ จงรีบมาเถิด โอ้ที่ผู้ขวนขวายความชั่วร้าย จงหยุดเถิด’ และสำหรับอัลลอฮฺนั้นมีผู้ที่พระองค์จะทรงปลดปล่อยพวกเขาจากนรก สิ่งเหล่านั้น (การเรียกร้องและการปลดปล่อย) จะเกิดขึ้นทุกค่ำคืน (ของเดือนเราะมะฎอน)” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์)เราะมะฎอน เหตุใดจึงวิเศษนัก?อันที่จริงเหตุผลที่ทำให้เราะมะฎอนเป็นเดือนพิเศษที่สุดในหมู่เดือนทั้งหลายนั้น ได้ถูกชี้แจงไว้เรียบร้อยแล้วในอัลกุรอานว่า(شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِيَ أُنزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِّنَ الْهُدٰى وَالْفُرْقَانِ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ) (البقرة : 185 )ความว่า "เดือนเราะมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับทางนำและสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าได้เห็นเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 185)มีอายะฮฺอีกสองแห่งที่เกี่ยวข้องกับอายะฮฺข้างต้นนี้ นั่นคือ(إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُّبَارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنذِرِينَ) (الدخان : 3 )ความว่า "แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันบะเราะกะฮฺ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน" (อัด-ดุคอน : 3)إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ ( 1 ) وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ ( 2 ) لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِّنْ أَلْفِ شَهْرٍ ( 3 ) تَنَزَّلُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ فِيهَا بِإِذْنِ رَبِّهِم مِّن كُلِّ أَمْرٍ ( 4 ) سَلَامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ ( 5 )ความว่า "แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดรฺ และอะไรเล่าจะทำให้เจ้ารู้ได้ว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นคืออะไร คืนอัลก็อดรฺนั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน บรรดามลาอิกะฮฺและอัรรูห์(ญิบรีล) จะลงมาในคืนนั้นโดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขาด้วยกำหนดการของทุกสิ่ง(หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงกำหนดกิจการต่างๆ เช่นริซกี อายุขัยของมัคลูก ฯลฯ และประทานลงมาในคืนนี้) คืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณ" (สูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ)สรุปแล้ว เหตุที่ทำให้เราะมะฎอนเป็นเดือนพิเศษ นั่นก็เพราะว่า เป็นเดือนที่ "กิตาบ มุบาร็อก" หรือคัมภีร์อัลกุรอานอันเปี่ยมด้วยบะเราะกะฮฺถูกประทานลงมา จึงกล่าวได้ว่า "เราะมะฎอน อัล-มุบาร็อก" ความประเสริฐของเราะมะฎอน แท้ที่จริงแล้วเป็นผลพวงมาจากความประเสริฐของอัลกุรอานนั่นเอง หาเป็นเพราะเหตุอื่นไม่"กิตาบ มุบาร็อก" ถูกประทานลงมาในค่ำคืน "ลัยละตุล ก็อดรฺ อัล-มุบาเราะกะฮฺ" ในเดือน "เราะมะฎอน อัล-มุบาร็อก"  ช่างเป็นสิ่งที่งามยิ่งแท้ อัลลอฮุอักบัร !อะไรคือบทเรียนจากข้อเท็จจริงนี้?อัลลอฮฺได้ตรัสถึงคุณลักษณะของอัลกุรอานว่าเป็น "กิตาบ มุบาร็อก" คัมภีร์ที่มากด้วยบะเราะกะฮฺ (บะเราะกะฮฺ คือ ความดีงาม ประโยชน์ ความประเสริฐ อันมากมาย) ไว้หลายที่ในพระดำรัสของพระองค์ นั่นคือโองการเหล่านี้(وَهَـذَا كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ مُبَارَكٌ مُّصَدِّقُ الَّذِي بَيْنَ يَدَيْهِ وَلِتُنذِرَ أُمَّ الْقُرَى وَمَنْ حَوْلَهَا وَالَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِالآخِرَةِ يُؤْمِنُونَ بِهِ وَهُمْ عَلَى صَلاَتِهِمْ يُحَافِظُونَ) (الأنعام : 92 )ความว่า "นี้คือ คัมภีร์(อัลกุรอาน) ที่เราได้ให้ลงมา อันเป็นคัมภีร์ที่มีบะเราะกะฮฺมากมาย ที่ยืนยันสิ่งซึ่งอยู่เยื้องหน้าคัมภีร์นี้(หมายถึงยืนยันตามคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาก่อนหน้านี้) และเพื่อที่เจ้าจะได้ตักเตือนแม่แห่งเมืองทั้งหลายและผู้ที่อยู่รอบๆ แม่เมืองนั้น และบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออาคิเราะฮฺนั้น พวกเขาย่อมศรัทธาต่อคัมภีร์นี้ และขณะเดียวกันพวกเขาก็จะรักษาการละหมาดของพวกเขา" (อัล-อันอาม : 92)(وَهَـذَا كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ مُبَارَكٌ فَاتَّبِعُوهُ وَاتَّقُواْ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ) (الأنعام : 155 )ความว่า "และนี่แหละคือคัมภีร์ที่มีบะเราะกะฮฺอันมากมาย ซึ่งเราได้ให้คัมภีร์ลงมายังเจ้า จงปฏิบัติตามคัมภีร์นั้นเถิดและจงตักวา เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความกรุณาเมตตา" (อัล-อันอาม : 155)(وَهَذَا ذِكْرٌ مُّبَارَكٌ أَنزَلْنَاهُ أَفَأَنتُمْ لَهُ مُنكِرُونَ) (الأنبياء : 50 )ความว่า "และนี่คือ อัลกุรอานอันมากด้วยบะเราะกะฮฺ ซึ่งเราได้ให้มันลงมา แล้วพวกเจ้ายังจะปฏิเสธมันอีกหรือ" (อัล-อันบิยาอ์ : 50)(كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ مُبَارَكٌ لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ) (ص : 29 )ความว่า "คัมภีร์(อัลกุรอาน)เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีบะเราะกะฮฺอันมากมาย เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการต่างๆ ของอัลกุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ" (ศอด : 29)อัช-เชากานีย์ ได้ให้คำอธิบายของคำว่า "อัล-มุบาร็อก" คือ มากด้วยบะเราะกะฮฺ เพราะเหตุที่อัลกุรอานมีคุณประโยชน์ทั้งในเรื่องโลกและเรื่องศาสนา (ดู ฟัตฮุล เกาะดีร อธิบายอายะฮฺ 155 สูเราะฮฺ อัล-อันอาม) ข้อสังเกตก็คือ บะเราะกะฮฺ เองก็หมายถึงการเพิ่มพูน ความประเสริฐและประโยชน์อันมากมายแล้ว (ดู ลิสานุลอะหรับ, ตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์, ตัฟซีร อัล-บะห์รุล มุหีฏ) มุบาร็อก จึงย่อมหมายถึงความประเสริฐที่ทบทวีคูณยิ่งขึ้นอีกหลายเท่าคุณลักษณะนี้คู่ควรยิ่งแล้วกับมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เพราะมันถูกขยายความด้วยคุณลักษณะย่อยอีกมากมายที่บ่งบอกถึงความเป็นบะเราะกะฮฺของคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้เอง เช่น(شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِيَ أُنزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِّنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ) (البقرة : 185 )ความว่า "เดือนเราะมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับทางนำและสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าได้เห็นเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 185) (وَلَقَدْ جِئْنَاهُم بِكِتَابٍ فَصَّلْنَاهُ عَلَى عِلْمٍ هُدًى وَرَحْمَةً لِّقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ) (الأعراف : 52 ) ความว่า "และแท้จริงนั้นเราได้นำคัมภีร์ฉบับหนึ่งมาให้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งเราได้แจกแจงคัมภีร์นั้นด้วยความรอบรู้ ทั้งนี้เพื่อเป็นทางนำและเป็นความเมตตาแก่กลุ่มชนที่ศรัทธา" (อัล-อะอฺรอฟ : 52)(وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاء وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ وَلاَ يَزِيدُ الظَّالِمِينَ إَلاَّ خَسَاراً) (الإسراء : 82 ) ความว่า "และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมาซึ่ง เป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธาและมันมิได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรม นอกจากการขาดทุนเท่านั้น" (อัล-อิสรออ์ : 82)(قُلْ هُوَ لِلَّذِينَ آمَنُوا هُدًى وَشِفَاء وَالَّذِينَ لَا يُؤْمِنُونَ فِي آذَانِهِمْ وَقْرٌ وَهُوَ عَلَيْهِمْ عَمًى أُوْلَئِكَ يُنَادَوْنَ مِن مَّكَانٍ بَعِيدٍ) (فصلت : 44 )ความว่า "จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) อัลกุรอานนั้นเป็นทางนำและการบำบัดแก่บรรดาผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่ศรัทธานั้น อัลกุรอานจะทำให้พวกเขาหูหนวกตาบอด ชนเหล่านี้จะถูกร้องเรียกจากสถานที่อันไกล(เป็นการเปรียบเทียบผู้ที่อยู่ห่างไกลจากทางนำ)" (ฟุศศิลัต : 44) (يَا أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ جَاءتْكُم مَّوْعِظَةٌ مِّن رَّبِّكُمْ وَشِفَاء لِّمَا فِي الصُّدُورِ وَهُدًى وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ) (يونس : 57 ) ความว่า "โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริง ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)จากพระเจ้าของพวกท่านได้มายังพวกท่านแล้ว และ(มัน)เป็นการบำบัดสิ่งที่มีอยู่ในทรวงอก และเป็นทางนำ และเป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา" (ยูนุส : 57)(يَا أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ جَاءكُم بُرْهَانٌ مِّن رَّبِّكُمْ وَأَنزَلْنَا إِلَيْكُمْ نُوراً مُّبِيناً) (النساء : 174 ) ความว่า "มนุษยชาติทั้งหลาย! แท้จริง ได้มีหลักฐานจากพระเจ้าของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว(หมายถึงท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) และเราได้ให้แสงสว่างอันแจ่มแจ้ง(หมายถึงอัลกุรอาน)ลงมาแก่พวกเจ้าด้วย" (อัน-นิสาอ์ : 174)สรุปคุณลักษณะบางส่วนที่บ่งบอกถึงบะเราะกะฮฺของอัลกุรอานคือ- หุดา (هدى) ทางนำ ช่วยนี้นำทางที่ถูกต้องจากทางที่หลงผิด- เราะห์มะฮฺ (رحمة) ความเมตตา เพราะการมีทางนำจะทำให้มนุษย์ประสบแต่ความสุข- ชิฟาอ์ (شفاء) การบำบัดและการเยียวยาให้หาย โดยเฉพาะโรคทางจิตใจ- เมาอิเซาะฮฺ (موعظة) การตักเตือน มิให้มนุษย์หลงทำผิดที่อาจจะก่อภัยต่อตนเองและผู้อื่น- บัยยินาต (بينات) การชี้แจง บอกกล่าวทุกเรื่องราวที่จำเป็นแก่มนุษย์- นูรฺ (نور) แสงที่ส่องประกาย ส่องให้มนุษย์ได้เห็นทางสว่างเพื่อการรอดพ้นจากความมืดมนหลงทางด้วยเหตุนี้ จึงมีหะดีษซึ่งแม้จะเป็นสายรายงานที่อ่อน แต่ความหมายของมันช่างสัจยิ่งว่า«فَضْلُ القُرْآنِ عَلٰى سَائِرِ الكَلاَمِ كَفَضْلِ الرَّحْمٰنِ عَلٰى سَائِرِ خَلْقِهِ» (ضعيف الجامع 3970) ความว่า "ความประเสริฐของอัลกุรอานเหนือถ้อยคำทั้งปวงนั้น เปรียบเหมือนความประเสริฐของเอกองค์อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาเหนือมัคลูกทั้งปวงของพระองค์"ทั้งหมดที่กล่าวมาคือคุณลักษณะแห่งมหาคัมภีร์อัลกุรอานอันบะเราะกะฮฺนี้ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะนี่คือถ้อยดำรัสแห่งองค์อัลลอฮฺพระเจ้าผู้ทรงอภิบาล ความยิ่งใหญ่ของถ้อยดำรัสแห่งพระองค์ไหนเลยจะหาสิ่งอื่นมาเทียบเคียงได้ และเพราะเป็นถ้อยดำรัสแห่งพระองค์ อัลกุรอานจึงเป็นแหล่งรวมความดีงามและความประเสริฐอันแสนวิเศษมากมายเหนือคำบรรยาย ... อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลหัมด์ !อัลกุรอานกับเดือนแห่งการศิยามในเดือนที่อัลลอฮฺทรงประทานอัลกุรอานลงมา เหตุใดจึงทรงมีบัญชาให้บรรดาผู้ศรัทธาทำการศิยาม (ถือศีลอด) ? นี่เป็นคำถามที่น่าศึกษายิ่งอีกข้อหนึ่งและจำเป็นทีเดียวที่ต้องรู้จนเข้าใจอัลลอฮฺได้บอกถึงจุดประสงค์ของการถือศีลอดหรือการศิยามว่า เพื่อสร้างตักวา (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ) (البقرة : 183 )ความว่า "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าซึ่งการศิยาม(ถือศีลอด) เช่นที่ได้ถูกบัญญัติแก่บรรดาคนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะตักวา" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 183)แท้จริงแล้ว ศิยามมีจุดประสงค์เพื่อสร้างตักวา เพราะตักวามีความเกี่ยวพันกับอัลกุรอาน ตักวาคือกุญแจที่เป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการรับทางนำของอัลกุรอาน ในต้นสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ซึ่งเป็นสูเราะฮฺเดียวกันที่มีบัญชาให้ถือศีลอด อัลลอฮฺได้ทรงประกาศชัดเจนว่าทางนำแห่งอัลกุรอานจะมีผลต่อ "มุตตะกีน" บรรดาผู้ที่มีตักวา โดยไม่มีข้อกังขาหรือข้อสงสัยใดๆ เลย(ذٰلِكَ الْكِتَابُ لاَ رَيْبَ فِيهِ هُدًى لِّلْمُتَّقِينَ) (البقرة : 2 )ความว่า "คัมภีร์(อัลกุรอาน)นั้น ไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัยอยู่ในนั้น มันคือทางนำสำหรับบรรดามุตตะกีน(ผู้มีตักวา)" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 2)สร้างตักวาเพื่อรับทางนำอัลกุรอานเนื่องจากทางนำแห่งมหาคัมภีร์อันบะเราะกะฮฺคู่ควรกับบรรดามุตตะกีนผู้ตักวา จึงจำเป็นที่เราต้องสร้างตักวาเพื่อรองรับอัลกุรอาน การสร้างตักวาคือการสร้างที่หัวใจ เพราะตักวาอยู่ที่หัวใจ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า «التَّقْوَى هَاهُنَا» وَيُشِيرُ إِلَى صَدْرِهِ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ. (مسلم 4650)ความว่า "ตักวา อยู่ตรงนี้" แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ชี้ไปยังหน้าอกของท่าน ท่านทำเช่นนั้นสามครั้ง (มุสลิม 4650)สร้างตักวาก็คือสร้างหัวใจให้พร้อมที่จะน้อมรับทางนำอัลกุรอาน เพราะเดิมทีนั้นอัลลอฮฺประทานอัลกุรอานลงมายังหัวใจของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม การน้อมรับอัลกุรอานจึงต้องรับมันด้วยหัวใจเท่านั้น(وَإِنَّهُ لَتَنزِيلُ رَبِّ الْعَالَمِينَ، نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ، عَلَى قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنذِرِينَ) (الشعراء : 192 - 194)ความว่า "และแท้จริงมัน เป็นการประทานลงมาของพระเจ้าแห่งสากลโลก อัรรูห์(มลาอิกะฮฺญิบรีล) ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมายังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง" (อัช-ชุอะรออ์ : 192-194)คุณค่าและประโยชน์ของอัลกุรอานจะมีผลสัมฤทธิ์ที่เด่นชัดก็ต่อเมื่อได้เข้าซึมซับในหัวใจของบรรดาผู้ตักวา เปรียบได้เช่นว่าหัวใจของผู้ตักวาคือภาชนะที่สะอาดใสซึ่งเปิดอ้าพร้อมรองรับสายน้ำแห่งบะเราะกะฮฺจากอัลกุรอานที่โปรยปรายลงมาในเดือนเราะมะฎอน ส่วนหัวใจของผู้ไม่มีตักวาเปรียบเหมือนภาชนะที่โสโครก แม้จะมีน้ำฝนลงมาเต็มปริ่มแต่น้ำนั้นเมื่ออยู่ในภาชนะที่สกปรกก็กลายเป็นน้ำที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรืออาจจะเปรียบได้เช่นภาชนะที่ปิดฝาสนิท แม้จะมีฝนเทกระหน่ำลงมาหนักเพียงใด ภาชนะนั้นก็จะว่างเปล่าหาได้รองรับน้ำฝนนั้นไม่ ยังคงเป็นภาชนะที่ไร้น้ำอยู่เช่นนั้นเรื่อยไป ... อัลลอฮุลมุสตะอานเมื่อตักวาจำเป็นสำหรับการรองรับทางนำของอัลกุรอาน ดังนั้น ในเดือนที่มีการประทานอัลกุรอาน อัลลอฮฺจึงมีบัญชาให้เราสร้างตักวาด้วยศิยามนั่นเอง เช่นที่อัลลอฮฺระบุไว้ชัดเจนแล้วในพระดำรัสของพระองค์ "ถูกบัญชาแก่สูเจ้าซึ่งการศิยาม ... เผื่อสูเจ้าจะตักวา" ศิยามสร้างตักวาได้อย่างไร?เมื่ออัลลอฮฺประสงค์จะให้มนุษย์สร้างตักวา พระองค์จึงมีบัญชาให้ศิยาม เพราะมันคืออะมัลที่ประกอบไปด้วยปัจจัยมากมายอันพร้อมยิ่งที่จะปลูกตักวาให้เกิดขึ้นในหัวใจของผู้ศิยาม ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ศิยามเป็นสุดยอดกระบวนการสร้างตักวา คือหะดีษเหล่านี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า«كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ، الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعمِائَة ضِعْفٍ، قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ : إِلَّا الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَطَعَامَهُ مِنْ أَجْلِي» (مسلم 1945)ความว่า "อะมัลของลูกหลานอาดัม (มนุษย์) นั้นจะถูกเพิ่มให้ทวีคูณ หนึ่งความดีจะถูกคูณสิบเท่าจนถึงเจ็ดร้อยเท่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า 'ยกเว้นการศิยาม เพราะแท้จริงมันเป็นของข้า และข้าจะเป็นผู้ตอบแทนมันเอง (โดยไม่กำหนดผลบุญตายตัวเหมือนการปฏิบัติอะมัลอื่นๆ) เขา(ผู้ศิยาม) นั้นได้งดสนองความใคร่และละทิ้งอาหาร (ด้วยความบริสุทธิ์ใจ) เพราะข้า' " (บันทึกโดยมุสลิม 1945)หะดีษนี้ได้บอกถึงลักษณะแห่งตักวาในการศิยามชัดเจนยิ่ง กล่าวคือ ผู้ศิยามจะไม่แตะต้องอาหารและเครื่องดื่มเลยในช่วงที่ถือศิยามตอนกลางวัน ทั้งๆ ที่มีโอกาสจะทำเช่นนั้นได้ในที่ลับตาเพียงคนเดียว แต่ที่ไม่ทำ เพราะจิตสำนึกยังคงนึกถึงอัลลอฮฺ และให้ความสำคัญต่อคำสั่งของพระองค์เหนือสิ่งอื่นใด และนี่ก็คือหัวใจของการตักวาต่อพระองค์ในอีกหะดีษหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า «الصِّيَامُ جُنَّةٌ، فَلَا يَرْفُثْ وَلَا يَجْهَلْ وَإِنْ امْرُؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَمَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي صَائِمٌ مَرَّتَيْنِ» (البخاري 1761)ความว่า "การถือศิยามนั้นเป็นโล่ป้องกัน ดังนั้น (เมื่อผู้ใดศิยาม) เขาอย่าได้กระทำ(หรือพูด)สิ่งอันลามกและอย่าได้ประพฤติไม่ดีเยี่ยงคนไม่รู้ และหากแม้นมีผู้ใดมาทำร้ายหรือด่าทอเขา ให้เขาตอบกลับ(ไปเพียงว่า) แท้จริงฉันเป็นผู้ศิยาม แท้จริงฉันเป็นผู้ศิยาม" (อัล-บุคอรีย์ 1761)การศิยามส่งผลให้ผู้ปฏิบัติอะมัลศิยามมีขันติธรรมในตนเอง ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดสันติกับคนรอบข้างด้วย แม้กระทั่งกับผู้ที่ต้องการทำร้ายเขา สิ่งนี้หากไม่เป็นเพราะคำนึงถึงความยิ่งใหญ่ของศิยามอันเป็นบัญชาแห่งอัลลอฮฺที่เขาต้องพยายามรักษามันให้สมบูรณ์แล้ว ก็คงจะเกิดภาวะตึงเครียดจนถึงขั้นแลกปากแลกเสียงหรือต่อยหมัดต่อยมวยเป็นแน่แท้ แต่ด้วยศิยามซึ่งท่านนบีบอกว่าเป็น "โล่ป้องกัน" ทำให้เขามีตักวาและไม่แสดงออกด้วยอาการไม่เหมาะสม นี่คือภาพลักษณ์หนึ่งของตักวาที่ซ่อนอยู่ในศิยามในหะดีษอีกบทหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม บอกว่า«مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ لِلَّهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ» (البخاري رقم 1770)ความว่า "ผู้ใดที่ไม่ละทิ้งการพูดเท็จและการกระทำอันเป็นเท็จ ดังนั้นย่อมไม่เป็นการจำเป็นสำหรับอัลลอฮฺที่เขาผู้นั้นต้องละทิ้งอาหารและเครื่องดื่มของเขา" (อัล-บุคอรีย์ 1770)หะดีษนี้ให้บทเรียนว่า การศิยามคือการละทิ้งไม่ทานอาหารและเครื่องดื่ม และไม่สนองอารมณ์ทางเพศ หลักการนี้กำหนดมาเพื่อฝึกฝนให้ผู้ศิยามอดทนกับวัตถุปัจจัยซึ่งแต่เดิมนั้นเคยเป็นที่อนุมัติ(หะลาล)แก่เขา เมื่อสามารถยับยั้งชั่งใจและงดจากสิ่งที่หะลาลได้ ก็ย่อมต้องหักห้ามจากสิ่งที่หะรอมซึ่งไม่เป็นที่อนุมัติแต่แรกได้เช่นกัน  กระบวนการนี้เห็นชัดเจนว่า เป็นกระบวนการสร้างตักวาให้เกิดขึ้นในตัวมนุษย์ เพราะฉะนั้น ถ้าหากผู้ศิยามยังคงพูดโกหกและประพฤติไม่เหมาะไม่ควรในขณะที่ถือศีลอด ก็แสดงว่าการศิยามของเขาไม่มีผลใดๆ ในการสร้างตักวาเลย ... นะอูซุบิลลาฮฺมินซาลิกในหะดีษอีกบทหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า«اتَّقُوا النَّارَ وَلَوْ بِشِقِّ تَمْرَةٍ، فَإِنْ لَمْ تَجِدْ فَبِكَلِمَةٍ طَيِّبَةٍ» (البخاري 5564، مسلم 1689)ความว่า "พวกท่านจงเกรงกลัวต่อนรก (หมายถึงปกป้องตัวเองให้พ้นจากการลงโทษในนรก) แม้เพียงด้วยการให้ทานซีกหนึ่งของผลอินทผลัม หากผู้ใดไม่มี(ของที่จะให้ทาน) ก็ให้เขาพูดจาด้วยคำพูดที่ดี" (อัล-บุคอรีย์ 5564, มุสลิม 1689)เศาะดะเกาะฮฺหรือการให้ทานคือผลแห่งตักวา เพราะมันเป็นการบังคับจิตใจให้อยู่เหนือวัตถุ เป็นการมองการณ์ไกลทะลุผ่านไปถึงอาคิเราะฮฺ ไม่ให้ผูกพันกับโลกอันไม่จีรังนี้จนเกินขอบเขต การสร้างตักวาด้วยการบริจาคทานนั้นได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างยิ่งให้ปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน เช่น การจ่ายเศาะดะเกาะฮฺ การให้อาหารแก่ผู้ละศีลอด ฯลฯ และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เองก็เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในเรื่องความใจบุญสุนทานในเดือนอันบะเราะกะฮฺนี้ การให้ทานไม่จำเป็นต้องมีเงื่อนไขว่าต้องออกเป็นทรัพย์สมบัติหรือให้สิ่งที่คิดว่ามีค่ามีราคาเท่านั้น ในหะดีษเองก็บอกชัดว่า แม้เพียงด้วยซีกหนึ่งของผลอินทผลัมเล็กก็สามารถทำทานได้ สิ่งที่มากกว่านั้นอย่างอาหารคาวหวานหรือแม้แต่น้ำก็ย่อมใช้ทำทานแก่ผู้ละศีลอดได้เช่นกัน จึงไม่ควรละเลย และหากไม่มีสิ่งใดจะให้ทานจริงๆ ก็ให้พูดด้วยถ้อยคำที่ดี ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการให้ทานเลย ... อัลลอฮุอักบัร !สรุปจากศิยามและอะมัลต่างๆในเดือนเราะมะฎอน ... นำไปสู่การสร้างความพร้อมให้กับตัวเองด้วยตักวา ... เพื่อน้อมรับทางนำแห่งอัลกุรอานโดยสมบูรณ์นี่คือข้อเท็จจริงอันเป็นโครงสร้างของเราะมะฎอน นั่นคือสร้างตนให้พร้อมเพื่อการเป็น "อะฮฺลุล กุรอาน" หมายถึง คนของอัลกุรอานที่ปฏิบัติตามคำสอนต่างๆ ของอัลกุรอานนั่นเอง (มีปรากฏการเรียกขานชื่อนี้ในหะดีษที่บันทึกโดยมุสลิม 1338)อะมัลต่างๆ อันมากมายทั้งที่บังคับและส่งเสริมให้ทำในเดือนเราะมะฎอน ล้วนเป็นกระบวนการเพื่อสร้างตักวาให้เกิดขึ้นในตัวผู้ศรัทธา เพื่อเตรียมพร้อมรองรับทางนำแห่งอัลกุรอาน ซึ่งถูกประทานลงมาในเดือนนี้ เมื่อมนุษย์คนหนึ่งได้รับทางนำแห่งอัลกุรอานและได้นำทางนำนั้นมาใช้ในชีวิตของเขา ก็ไม่เป็นที่กังขาอีกเลยว่าชีวิตของเขาจะสมบูรณ์แค่ไหน เราทั้งผองต่างก็มุ่งมั่นที่จะเป็นเช่นนั้น เยี่ยงตัวอย่างอันยิ่งใหญ่ของเราคือท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้บอกว่า«كان خلقه القرآن» (صحيح الجامع 4811)ความว่า "ลักษณะนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ก็คืออัลกุรอาน" (เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 4811)เมื่ออัลกุรอานคือวิถีในการดำเนินชีวิต จนเสมือนว่าได้หลอมรวมกับทางนำอันงดงามนี้ เมื่อนั้นความ    บะเราะกะฮฺแห่งถ้อยดำรัสของเอกองค์อัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงอภิบาล ผู้ทรงเมตตาและปรานี ก็จะแผ่กระจายความประเสริฐให้เจ้าของชีวิตนั้น นี่แหละคือ "หะยาต ฎ็อยยิบะฮฺ" ชีวิตที่ดีอันแท้จริง  ที่เราทุกคนต่างปรารถนา(مَنْ عَمِلَ صَالِحاً مِّن ذَكَرٍ أَوْ أُنثَى وَهُوَ مُؤْمِنٌ فَلَنُحْيِيَنَّهُ حَيَاةً طَيِّبَةً وَلَنَجْزِيَنَّهُمْ أَجْرَهُم بِأَحْسَنِ مَا كَانُواْ يَعْمَلُونَ) (النحل : 97 )ความว่า "ผู้ใดที่กระทำความดี ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง โดยที่เขาผู้นั้นเป็นผู้ศรัทธา แน่แท้เราจะให้เขามีชีวิตด้วยชีวิตที่ดี และเราจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขาด้วยผลบุญที่ดีที่สุดจากที่พวกเขาได้ปฏิบัติมา" (อัน-นะห์ลฺ : 97)ขออัลลอฮฺทรงประทานให้เราะมะฎอนของเราเป็นเดือนแห่งการสร้างตักวา เพื่อการได้รับทางนำจาก     อัลกุรอาน ที่จะสร้างชีวิตที่ดีให้กับเราทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อามีน

المرفقات

2

เราะมะฎอน ระหว่างศิยามและอัลกุรอาน
เราะมะฎอน ระหว่างศิยามและอัลกุรอาน