البحث

عبارات مقترحة:

القوي

كلمة (قوي) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) من القرب، وهو خلاف...

الوهاب

كلمة (الوهاب) في اللغة صيغة مبالغة على وزن (فعّال) مشتق من الفعل...

الوتر

كلمة (الوِتر) في اللغة صفة مشبهة باسم الفاعل، ومعناها الفرد،...

ความประเสริฐของการจ่ายซะกาต

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ ، อันวา สะอุ
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات فضائل العبادات
อธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความประเสริฐของการซะกาต พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย

التفاصيل

  ความประเสริฐของการจ่ายซะกาต    ความประเสริฐของการจ่ายซะกาตفضائل الزكاةมุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجريhttp://islamhouse.com/145010จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلاميความประเสริฐของการจ่ายซะกาต. 1ความประเสริฐของการจ่ายซะกาต. 3ความประเสริฐของการบริจาคทานจากทรัพย์สินที่ดีและหะลาล(เป็นที่อนุมัติ) 8 ความประเสริฐของการจ่ายซะกาตความประเสริฐของการจ่ายซะกาต1. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้กล่าวว่าإِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ وَآتَوُا الزَّكَاةَ لَهُمْ أَجْرُهُمْ عِندَ رَبِّهِمْ وَلَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ (277)ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธา และประกอบสิ่งที่ดีทั้งหลาย และดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาตนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระเจ้าของพวกเขา และไม่มีความกลัวอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นแก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็ไม่เสียใจ” (อัลบะเกาะรอฮฺ : 277)2. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้กล่าวว่าوَمَا آتَيْتُم مِّن رِّبًا لِّيَرْبُوَ فِي أَمْوَالِ النَّاسِ فَلَا يَرْبُو عِندَ اللَّهِ ۖ وَمَا آتَيْتُم مِّن زَكَاةٍ تُرِيدُونَ وَجْهَ اللَّهِ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الْمُضْعِفُونَ (39)ความว่า “และสิ่งที่พวกเขาจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูน ณ อัลลอฮฺ และสิ่งที่พวกเขาจ่ายไปจากซะกาต โดยพวกเขาปรารถนาประพักตร์ของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละ พวกเขาคือผู้ได้รับการตอบแทนอย่างทวีคูณ” (อัรฺรูม : 39)3. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้กล่าวว่าالَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمْوَالَهُم بِاللَّيْلِ وَالنَّهَارِ سِرًّا وَعَلَانِيَةً فَلَهُمْ أَجْرُهُمْ عِندَ رَبِّهِمْ وَلَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ (274)ความว่า “บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขาทั้งในเวลากลางคืนและกลางวัน ทั้งโดยปกปิดและเปิดเผยนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และไม่มีความกลัวอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นแก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็ไม่เสียใจ” (อัลบะเกาะรอฮฺ : 274)4. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้กล่าวว่าخُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَتُزَكِّيهِم بِهَا وَصَلِّ عَلَيْهِمْ ۖ إِنَّ صَلَاتَكَ سَكَنٌ لَّهُمْ ۗ وَاللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ (103)ความว่า “(มุหัมหมัด) เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็นทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยสิ่งที่เป็นทานนั้น และเจ้าจงขอพรให้แก่พวกเขาเถิด เพราะแท้จริงการขอพรของเจ้านั้น ทำให้เกิดความสุขแก่พวกเขา และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัตตเตาบะฮฺ : 103)5. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) أن أعرابياً أتى النبيﷺ‬   فقال: دُلَّني على عمل إذا عملتُـه دخلتُ الجنة. قال: «تَعْبُدُ الله لا تُشْرِكُ بِـهِ شَيْئاً، وَتُقِيمُ الصَّلاةَ المَكْتُوبَةَ، وَتُؤَدِّي الزَّكَاةَ المَفْرُوضَةَ، وَتَصُومُ رَمَضَانَ» قال: والذي نفسي بيده لا أزيد على هذا، فلما ولَّى قال النبي ﷺ‬: «مَنْ سَرَّهُ أَنْ يَنْظُرَ إلَى رَجُلٍ مِنْ أَهْلِ الجَنَّةِ فَلْيَنْظُرْ إلَى هَذَا».ความว่า “มีชาวชนบทผู้หนึ่งได้มาพบท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมและได้กล่าวขึ้นมาว่า “โอ้ท่านนบีจงสอนฉันในสิ่งที่เมื่อฉันได้ปฏิบัติแล้วฉันจะได้เข้าสวรรค์” ท่านนบีตอบว่า “ท่านจงภักดีต่ออัลลอฮฺโดยอย่าได้ตั้งภาคีใดๆต่อกับพระองค์ ท่านจงทำการละหมาดฟัรฎู(ห้าเวลา) และจงจ่ายซะกาตที่วาญิบสำหรับเจ้า และจงถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน” ชาวชนบทผู้นั้นได้กล่าวขึ้นมาว่า “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ฉันจะไม่ปฏิบัติเพิ่มเติมจากที่ท่านกล่าวมาข้างต้น” หลังจากที่ผู้ชายชาวชนบทผู้นั้นได้หันหลังกลับไปท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้กล่าวขึ้นมาว่า “ผู้ใดที่ต้องการเห็นชาวสวรรค์ก็จงดูชายผู้นี้” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1397 และมุสลิม หะดีษที่ 14 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)ความประเสริฐของการบริจาคทานจากทรัพย์สินที่ดีและหะลาล(เป็นที่อนุมัติ)จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า«مَنْ تَصَدَّقَ بِـعَدْلِ تَـمْرَةٍ مِنْ كَسْبٍ طَيِّبٍ، وَلا يَـقْبَلُ الله إلَّا الطَّيِّبَ، وَإنَّ الله يَتَقَبَّلُـهَا بِيَـمِينِـهِ، ثُمَّ يُرَبِّيهَا لِصَاحِبِـهِ كَمَا يُرَبِّي أَحَدُكُمْ فَلُوَّهُ حَتَّى تَـكُونَ مِثْلَ الجَبَلِ».ความว่า “ผู้ใดที่ได้ทำทานแม้ด้วยอินทผาลัมหนึ่งเม็ดจากสิ่งเขาขวนขวายมาอย่างสุจริต - และอัลลอฮฺจะไม่ตอบรับนอกจากสิ่งที่ดี - แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับ(การงำทานานของเขา)ด้วยพระหัตถ์ขวาของพระองค์ จากนั้นพระองค์จะทรงเพิ่มพูนขยาย(ผลบุญ)เพื่อผู้นั้น ดุจดังที่คนหนึ่งในหมู่พวกท่านเลี้ยงลูกอูฐและลูกแพะจนกระทั้งเติบใหญ่ดังภูเขา” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1410 และมุสลิม หะดีษที่ 1014 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)

المرفقات

2

ความประเสริฐของการจ่ายซะกาต
ความประเสริฐของการจ่ายซะกาต