البحث

عبارات مقترحة:

الشاكر

كلمة (شاكر) في اللغة اسم فاعل من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

البصير

(البصير): اسمٌ من أسماء الله الحسنى، يدل على إثباتِ صفة...

الرحيم

كلمة (الرحيم) في اللغة صيغة مبالغة من الرحمة على وزن (فعيل) وهي...

หุก่มการเขียนอัลกุรอาน ด้วยตัวอักษรลาติน

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف อัสรัน นิยมเดชา ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات آداب القرآن الكريم وحملته
ขณะนี้ตามท้องตลาดประเทศอินโดนีเซียปรากฎว่า มีอัลกุรอาน ฉบับตีพิมพ์ด้วยตัวอักษรลาตินวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย จึงใคร่ขอทราบว่าจะทำอย่างไรกับปรากฏการณ์นี้ ? ตอบโดย สภาอุละมาอ์อาวุโสแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

التفاصيل

คำชี้ขาดของสภาอุละมาอ์อาวุโส ประเทศซาอุดิอารเบีย เลขที่ (67) ลงวันที่ 21/10/1399 (คำชี้ขาดเกี่ยวกับหุก่มการเขียนอัลกุรอานด้วยตัวอักษรลาติน) الحمد لله، والصلاة والسلام على رسوله وآله وصحبه، وبعد ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 14 ของคณะกรรมการสภาอุละมาอ์อาวุโสซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฏออิฟ ระหว่างวันที่ 10-21 เชาวาล ฮ.ศ.1399 นั้นทางคณะกรรมการได้พิจารณาหนังสือจากตัวแทนสำนักงานเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา ประจำสถานทูตซาอุฯ กรุงจาการ์ตา ที่ส่งถึงหัวหน้ากองการเผยแพร่ในต่างประเทศ ลงเลขที่ 9/1/15/155 (ไม่ระบุวันที่) ระบุว่า “ขณะนี้ตามท้องตลาดประเทศอินโดนีเซียปรากฎว่ามีอัลกุรอานฉบับตีพิมพ์ด้วยตัวอักษรลาติน วางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย จึงใคร่ขอทราบว่าจะทำอย่างไรกับปรากฏการณ์นี้?" ซึ่งหนังสือฉบับนี้นี้ถูกโอนไปยังสำนักเลขานุการคณะกรรมการสภาอุละมาอ์อาวุโส โดยท่านประธานสำนักงานเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา ตามหนังสือเลขที่ 255/1/ด ลงวันที่ 27/1/1399และทางคณะกรรมการยังได้พิจารณางานวิจัยเรื่อง "หุก่มการเขียนอัลกุรอานด้วยตัวอักษรลาติน"ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ และการฟัตวาตามคำขอของคณะกรรมการสภาอุละมาอ์อาวุโสในการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ 3ซึ่งภายหลังการพิจารณา และเสวนาแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ทางคณะกรรมการสภาอุละมาอ์อาวุโสมีความเห็น อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า :ไม่อนุญาต (หะรอม) ให้เขียนอัลกุรอานด้วยตัวอักษรลาติน หรือตัวอักษรภาษาอื่นๆ ด้วยเหตุผลดังนี้ :1- อัลกุรอานนั้นถูกประทานลงมาด้วยภาษาอาหรับที่มีความชัดแจ้งทั้งในด้านอักขระและความหมาย อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า«إِنَّهُ لَتَنزِيلُ رَبِّ الْعَالَمِينَ .. نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ .. عَلَى قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنذِرِينَ .. بِلِسَانٍ عَرَبِيٍّ مُّبِين»ความว่า “แท้จริงมันเป็นการประทานลงมาของพระเจ้าแห่งสากลโลก (มลาอิกะฮฺ)อัรรูหฺผู้ซื่อสัตย์ได้นำมันลงมายังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง ด้วยภาษาอาหรับอันชัดแจ้ง" (อัชชุอะรออ์ : 192-195)ซึ่งส่วนที่ถูกเขียนขึ้นด้วยตัวอักษรลาตินนั้นไม่อาจเรียกว่าเป็นอัลกุรอาน ดังโองการที่อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า«وَكَذَلِكَ أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ قُرْآناً عَرَبِيا»ความว่า “และเช่นนั้นแหละ เราได้วะฮีย์อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับแก่เจ้า" (อัชชูรอ : 7) และโองการที่ตรัสว่า«لِسَانُ الَّذِي يُلْحِدُونَ إِلَيْهِ أَعْجَمِيٌّ وَهَـذَا لِسَانٌ عَرَبِيٌّ مُّبِين»ความว่า “ภาษาที่พวกเขาพาดพิงไปถึงนั้นเป็นภาษาต่างถิ่น และนี่เป็นภาษาอาหรับที่ชัดแจ้ง" (อันนะหฺล์ : 103)2- อัลกุรอานตั้งแต่ถูกประทานลงมาจนกระทั่งได้รับการรวบรวมในยุคของท่านอบูบักรฺ และท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ล้วนถูกเขียนขึ้นด้วยตัวอักษรอาหรับ ด้วยความเห็นพ้องของบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ทุกท่านและเป็นความเห็นพ้องอย่างเป็นเอกฉันท์ของบรรดาตาบิอีน รวมถึงผู้ที่มาหลังจากพวกท่านเหล่านั้น ตราบจนถึงยุคสมัยของเรานี้ทั้งๆที่ในยุคสมัยที่ผ่านมานั้นก็มีผู้ที่ไม่ใช่ชาวอาหรับเช่นกันและมีรายงานถูกต้องจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านกล่าวว่า«عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين من بعدي»ความว่า “พวกท่านจงยึดมั่นกับสุนนะฮฺของฉัน และสุนนะฮฺของบรรดา คุละฟาอ์รอชิดีนหลังจากฉัน"ดังนั้น จำเป็นที่เราจะต้องอนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งเหล่านั้น เพื่อเป็นการเจริญรอยตามสิ่งที่มีอยู่ในยุคของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและยุคเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม และยังเป็นการยึดถือความเห็นอันเป็นเอกฉันท์ (อิจญ์มาอฺ) ของประชาชาติอิสลาม 3- ตัวอักษรภาษาอื่นนั้น เป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้นมาจากการตกลง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงแทนที่ด้วยตัวอักษรอื่นได้หลายต่อหลายครั้งจึงเกรงว่าหากเราเปิดช่องทางให้กระทำเช่นนั้นได้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัลกุรอานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการบัญญัติอักษร ซึ่งอาจทำให้เกิดการอ่านการออกเสียงที่เปลี่ยนไปตามการบัญญัติซึ่งเมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรือบิดเบือนได้และจะเป็นช่องทางให้ศัตรูอิสลามโจมตีอัลกุรอานได้ว่า มีความผิดพลาดและไม่แน่นอน ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับคัมภีร์ก่อนๆ จึงจำเป็นต้องห้ามกระทำการดังกล่าวเพื่อรักษาไว้ซึ่งรากฐานของอิสลาม และเป็นการปิดช่องทางที่อาจนำไปสู่ความเสียหาย4- เกรงว่าหากอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวแล้ว อัลกุรอานจะกลายเป็นของเล่นในมือของคนบางกลุ่มทุกกลุ่มทุกฝ่ายก็อาจจะเสนอให้เขียนอัลกุรอาน ด้วยภาษาของตนหรือภาษาอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยเลยว่ามันจะเป็นบ่อเกิดแห่งความขัดแย้งและความเสียหาย จึงจำเป็นต้องปกป้องรักษาอัลกุรอานจากสิ่งเหล่านั้น เพื่อปกป้องรักษาอิสลาม และกิตาบุลลอฮฺให้รอดพ้นจากความเสียหาย 5- การเขียนอัลกุรอานด้วยตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาอาหรับนั้นเป็นการทำลายความมุ่งมั่นของมุสลิม ในการที่จะศึกษาเรียนรู้ภาษาอาหรับซึ่งเปรียบเสมือนสื่อกลางของการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺตะอาลา และเป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจศาสนาได้هذا وبالله التوفيق. وصلى الله على محمد، وآله وصحبه وسلمสภาอุละมาอ์อาวุโส อับดุลลอฮฺ บิน มุหัมมัด บิน หุมัยด์ ประธานในที่ประชุมอับดุลอะซีซ บิน บาซ , อับดุรฺเราะซาก อะฟีฟี, มุหัมมัด บิน อะลี อัลหะเราะกาน, อับดุลลอฮฺ อัลค็อยยาฏ สุลัยมาน บิน อุบัยด์, อับดุลลอฮฺ บิน ฆุดัยยาน, มุหัมมัด บิน ญุบัยรฺ, รอชิด บิน คุนัยน์ อับดุลลอฮฺ บิน เกาะอูด, ศอลิหฺ บิน เฆาะศูน, อับดุลลอฮฺ บิน มะนีอฺ, ศอลิหฺ บิน ลุหัยดานอับดุลมะญีด หะสันที่มา //www.islamtoday.net/questions/show_articles_content.cfm?id=24&catid=184&artid=6163

المرفقات

2

หุก่มการเขียนอัลกุรอาน ด้วยตัวอักษรลาติน
หุก่มการเขียนอัลกุรอาน ด้วยตัวอักษรลาติน