البحث

عبارات مقترحة:

الكبير

كلمة (كبير) في اللغة صفة مشبهة باسم الفاعل، وهي من الكِبَر الذي...

الأعلى

كلمة (الأعلى) اسمُ تفضيل من العُلُوِّ، وهو الارتفاع، وهو اسمٌ من...

الشاكر

كلمة (شاكر) في اللغة اسم فاعل من الشُّكر، وهو الثناء، ويأتي...

เอาชนะอารมณ์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الرقائق والمواعظ
หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.

التفاصيل

มนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านรูปพรรณและสติปัญญา รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ อารมณ์และจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นแหล่งกำเนิดพฤติกรรมต่างๆ ของเขา คำพูดและการกระทำของมนุษย์มักจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางอารมณ์อย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยทั่วไปแล้ว อารมณ์ของมนุษย์แบ่งออกเป็นสามระดับหรือสามประเภท ตามที่มีระบุในอัลกุรอาน ระดับล่างสุดเรียกว่า “อัน-นัฟซุล อัมม่าเราะฮฺ” อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า إِنَّ النَّفْسَ لأَمَّارَةٌ بِالسُّوءِ (سورة يوسف:53) “แท้จริงแล้วอารมณ์ชั้นต่ำ (อัน-นัฟซุล อัมม่าเราะฮฺ) นั้น คอยบงการแต่ความชั่ว” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ ยูสุฟ: 53) อารมณ์ระดับนี้เป็นความรู้สึกที่คอยกระซิบกระซาบให้มนุษย์กระทำผิด ด้วยการประพฤติตามใจตัวเอง ฝ่าฝืนคำสั่งอัลลอฮฺ และไม่สนใจปฏิบัติความดีงามที่พระองค์ทรงใช้ให้ทำ อารมณ์ระดับกลางคือ “อัน-นัฟซุล เลาว่ามะฮฺ” เป็นอารมณ์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความดีและความชั่ว คือโดยปกติแล้วก็จะควบคุมให้มนุษย์ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ แสดงความภักดีต่อพระองค์ รักษาตนจากการทำผิดบาป แต่ในบางครั้งก็พลั้งเผลอไม่สามารถควบคุมจิตใจให้ดีตลอดเวลา จึงพลาดทำผิดลงไป แต่หลังจากนั้นก็จะพยายามทำดีอีกครั้งเพื่อลบล้างความผิดนั้น และคอยกล่าวโทษตัวเองที่ไม่รู้จักป้องกันความพลั้งเผลอจนพลาดกระทำผิดบาป อัลลอฮฺได้ตรัสถึงอารมณ์ประเภทนี้ไว้ว่า وَلاَ أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ (سورة القيامة:2) “และขอสาบานด้วยอารมณ์ที่คอยกล่าวโทษ (อัน-นัฟซุล เลาว่ามะฮฺ)” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-กิยามะฮฺ: 2) อารมณ์ระดับสูงที่สุดคือ “อัน-นัฟซุล มุ๊ฏมะอินนะฮฺ” เป็นอารมณ์สงบเสงี่ยมที่สามารถควบคุมตัวเองให้ดำรงตนอยู่ในครรลองได้ตลอดเวลา ไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ และไม่ตกเป็นทาสของอามรณ์ใฝ่ต่ำ มนุษย์ผู้เป็นเจ้าของอารมณ์ประเภทนี้จะได้เกียรติและผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺ พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า يَا أَيَّتُهَا النَّفْسُ الْمُطْمَئِنَّةُ، ارْجِعِي إِلَى رَبِّكِ رَاضِيَةً مَّرْضِيَّةً، فَادْخُلِي فِي عِبَادِي، وَادْخُلِي جَنَّتِي (سورة الفجر:27-30)  “โอ้ จิตที่สงบนิ่ง (อัน-นัฟซุล มุ๊ฏมะอินนะฮฺ) เอ๋ย จงกลับไปยังพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยความพอใจและเป็นที่พอพระทัยเถิด แล้วจงเข้าไปเป็นหนึ่งในหมู่บ่าวของข้า และจงเข้าไปพำนักอยู่ในสวรรค์ของข้าเถิด” (อัลกุรอาน   สูเราะฮฺ อัล-ฟัจรฺ: 27-30) ผลตอบแทนของผู้ที่สามารถเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำได้ก็คือสวรรค์ เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า وَأَمَّا مَنْ خَافَ مَقَامَ رَبِّهِ وَنَهَى النَّفْسَ عَنِ الْهَوَى، فَإِنَّ الْجَنَّةَ هِيَ الْمَأْوَى (سورة النازعات:40-41) “และแม้นผู้ใดที่เกรงกลัวต่อสถานะของพระผู้เป็นเจ้า และได้หักห้ามตนจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ แน่แท้ว่าสวรรค์นั้นคือที่พำนักของเขา” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัน-นาซิอาต : 40-41) เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำนั้นคือเส้นทางสู่นรก ในขณะที่เส้นทางสู่สวรรค์คือการต่อสู้กับความไม่พอใจของอารมณ์ เช่นที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า “นรกถูกห้อมล้อมด้วยความอยากของตัณหา (คือบาปทั้งหลายที่เป็นการตามอารมณ์) ส่วนสวรรค์นั้นถูกห้อมล้อมด้วยสิ่งที่พวกเจ้าไม่ชอบ (นั่นคือการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ)” (รายงานโดย อิบนุ หิบบาน) ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงต้องศึกษาวิธีการเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง ด้วยการสร้างความผูกพันกับอัลลอฮฺอยู่เสมอ เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ชัยฏอนเข้ามาอาศัยจุดอ่อนอารมณ์ของมนุษย์ในการล่อลวงเขา - ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน 1. อารมณ์และจิตใจของมนุษย์เป็นแหล่งกำเนิดของพฤติกรรมต่างๆ ทั้งในด้านดีและชั่ว 2.อารมณ์ใฝ่ต่ำ คืออารมณ์ที่คอยกระซิบกระซาบให้มนุษย์ทำแต่ความผิด 3.มุสลิมที่ทำพลาดพลั้งทำผิดในบางครั้ง ถือว่ามีอารมณ์ระดับกลาง นั่นคือ อัน-นัฟซุล เล๊าว่ามะฮฺ 4.อารมณ์ระดับสูงสุดคือจิตที่สงบหรือ อัน-นัฟซุล มุ๊ฏมะอินนะฮฺ เป็นระดับอารมณ์ที่อัลลอฮฺชื่นชมและเตรียมผลตอบแทนอันใหญ่หลวงไว้ให้ 5.มุสลิมต้องพยายามเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน เพราะการเอาชนะอารมณ์ให้ได้คือการต่อสู้เพื่อเส้นทางสู่ผลตอบแทนอันใหญ่หลวงในสวรรค์ - คำถามหลังบทเรียน 1.กรุณายกตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากอารมณ์ระดับล่าง(อัน-นัฟซุล อัมม่าเราะฮฺ) และอารมณ์ระดับกลาง(อัน-นัฟซุล เลาว่ามะฮฺ)? 2.ท่านคิดว่ามีวิธีใดบ้างเพื่อเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง? กรุณาแสดงความคิดเห็น 3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าการทำผิดบาปส่วนใหญ่มักสอดคล้องกับความอยากและตัณหา? เพราะเหตุใด?