البحث

عبارات مقترحة:

البر

البِرُّ في اللغة معناه الإحسان، و(البَرُّ) صفةٌ منه، وهو اسمٌ من...

الغني

كلمة (غَنِيّ) في اللغة صفة مشبهة على وزن (فعيل) من الفعل (غَنِيَ...

الآخر

(الآخِر) كلمة تدل على الترتيب، وهو اسمٌ من أسماء الله الحسنى،...

มุสลิมกับวันวาเลนไทน์

التايلاندية - ไทย / Phasa Thai

المؤلف มุรีด ทิมะเสน ، ซุฟอัม อุษมาน
القسم مقالات
النوع نصي
اللغة التايلاندية - ไทย / Phasa Thai
المفردات الأعياد الممنوعة - عيد الحب
บทความนี้อธิบายถึงที่มาของวันวาเลนไทน์โดยวิเคราะห์เป็นข้อๆ อย่างน่าสนใจ พร้อมทั้งอภิปรายจุดยืนของมุสลิมเกี่ยวกับการร่วมวันวาเลนไทน์ตามข้อมูลที่วิเคราะห์ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีหลักฐานจากทั้งอัลกุรอานและหะดีษสนับสนุน.

التفاصيل

- ที่มาของวันวาเลนไทน์ เรื่องราวเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์นั้นก็เป็นเรื่องที่คลุมเครือ จะสืบหาประวัติอะไรที่แน่นอนก็ไม่ได้ได้แต่สันนิษฐานกันไป ไม่มีต้นกำเนิดของเรื่องและความเป็นมาที่ชัดเจน ในหนังสือหลักๆเท่าที่สันนิษฐานกัน พอสรุปได้ว่า ก. วันวาเลนไทน์นี้เดิมเป็นการฉลองการเจริญพันธุ์ของพวกโรมันโบราณ ซึ่งเป็นการระลึกถึงเทพเจ้าลูเปอร์คุส (เทพแห่งการเจริญพันธุ์) ต่อมาภายหลังจึงได้รับเอาเข้ามาเป็นของคริสต์ศาสนา โดยโยงเข้ากับเรื่องการพลีชีพเพื่อศาสนาของนักบุญที่ชื่อวาเลนไทน์ ซึ่งมีวันฉลองใกล้กัน(ของเดิม 15 กุมภาพันธ์ ส่วนของนักบุญวันที่ 14 กุมภาพันธ์) ข. ว่ากันว่า เซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ ซึ่งถูกประหารชีวิตในกรุงโรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ.269 หรือ 270 และมี 2 ท่านชื่อซ้ำกัน แต่ประวัติของทั้งสองท่านเป็นเรื่องเล่ากันมาแบบปรัมปรา ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นเรื่องที่เล่าต่างกัน แต่ตัวบุคคลเป็นคนเดียวกัน  ค. การฉลองวันวาเลนไทน์เริ่มมีขึ้นในสมัยกลางของยุโรป แต่การที่ถือว่าเซนต์วาเลนไทน์เป็นนักบุญผู้อุดหนุนคู่รัก เป็นเรื่องที่กลายมาในช่วงหลัง โดยถือว่าเป็นผู้ช่วยเหลือคนมีความรักที่ตกอยู่ในความทุกข์ถูกข่มบังคับ  ง. การที่วันที่ระลึกเซนต์วาเลนไทน์กลายมาเป็นวันแห่งความรักนั้นเป็นเรื่องบังเอิญ ซึ่งที่จริงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเซนต์วาเลนไทน์เลย แต่เรื่องมาโยงกันและกลายไป    คงจะเนื่องจากชาวยุโรปสมัยกลางมีความเชื่อว่านกเริ่มฤดูผสมพันธุ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ การเขียนข้อความแสดงความรักส่งถึงกันในวันนี้ก็ว่าเริ่มมาแต่ปลายสมัยกลาง โดยถือว่าเป็นวันเริ่มฤดูผสมพันธุ์ของนกนั่นเอง (บ้างก็ว่าเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16) ส่วนในสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการจัดทำการ์ดวาเลนไทน์เป็นธุรกิจในช่วง ค.ศ.1840-1849 จ. "วาเลนไทน์" คือวันที่ชาวคริสต์ใช้เป็นสัญญลักษณ์แทนความระลึกถึง "เซนต์วาเลนไทน์" บุรุษผู้มีความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์จนทำให้เขาต้องจบชีวิตตัวเอง และหนุ่มผู้มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักนี้ ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.270 เรื่องราวทั้งหมดก็มีอยู่ว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 สมัยที่จักรพรรดิคลอดิอุสที่  2 ปกครองอาณา-จักรโรมัน นักบุญวาเลนไทน์ซึ่งมีชื่อจริงว่า "วาเลนตินัส" เป็นผู้นำคริสเตียนที่มีความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์เป็นอย่างมาก นักบุญผู้นี้มักลอบนำข้าวของเครื่องใช้และอาหารไปวางไว้หน้าประตูบ้านของคนยากจนเสมอๆ เป็นเรื่องน่าเศร้า ที่สมัยนั้นอาณาจักรโรมันเป็นสังคมเทวนิยมจึงมีกฎห้ามไม่ให้ชาวโรมันนับถือคริสต์ เมื่อเป็นเช่นนั้นทำให้วาเลนตินัสถูกทางการจับเข้าคุกโทษฐานที่เขาเป็นคริสเตียน ครั้นพอเข้าไปอยู่ในคุก เขาก็บังเอิญไปพบรักกับหญิงตาบอดซึ่งเป็นลูกสาวผู้คุม วาเลนติ นัสอธิษฐานต่อพระเจ้าขอให้ดวงตาของหญิงอันเป็นที่รักกลับมามองเห็นได้อย่างคนปกติทั่วไปอีกครั้ง แล้วคำขอก็สัมฤทธิ์ผล ทำให้ครอบครัวของหญิงคนนั้นหันมานับถือพระเจ้า และพระเยซูตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อจักรพรรดิทราบเรื่องก็โกรธมาก สั่งให้ทหารโบยวาเลนตินัสก่อนจะบัญชาการให้ทหารนำเอาตัวไปตัดศีรษะในตอนรุ่งเช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คืนสุดท้ายก่อนตาย เขาได้เขียนจดหมายอำลาคนรักลงท้ายว่า "จากวาเลนไทน์ของเธอ" เรื่องราวของวาเลนตินัสเป็นที่ร่ำลือไปทั่วโลก เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งโลกโดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้น ชาวคริสต์จึงถือเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์เพื่อระลึกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของหนุ่มนักบุญคนนี้ ฉ. วันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรัก เริ่มต้นขึ้นมาจากวันฉลองเพื่อระลึกถึงคริสเตียน 2 คนที่เสียสละเพื่อมนุษย์ ชื่อ วาเลนไทน์ (Valentine) แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ ก็ไม่มีสิ่งไหนที่เกี่ยวพันถึงชีวิตของนักบุญเหล่านี้ ประเพณีนี้บางทีจะมาจากประเพณีโรมันโบราณที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย(Lupercalia)ชาวโรมันฉลองวันลูเปอร์คาเลียเป็นประเพณีแห่งความรักของหนุ่มสาว ชายและหญิงสาวจะเลือกคู่สำหรับประเพณีนี้โดยการเขียนชื่อตนใส่กล่องและจับฉลาก เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความรัก และปกติเขาจะยังคงติดต่อสัมพันธ์กันเป็นเวลานานหลังจากประเพณีนี้ผ่านไปแล้ว หลายคู่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงาน หลังจากที่ความเป็นคริสเตียนแพร่หลายออกไป ชาวคริสเตียนก็พยายามที่จะให้ความหมายของประเพณีนี้ในแง่ของคริสเตียน และพวกเขาเปลี่ยนมาใช้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่ความหมายตามความรู้สึกแบบประเพณีเก่าก็ยังคงมีมาถึงปัจจุบัน - ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ก. จากข้อสันนิษฐาณในข้อ ก. ผู้เขียนพอสรุปเนื้อหาได้ว่า วันวาเลนไทน์เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าลูเปอร์คุส ของพวกโรมันโบราณต่อมาได้โยงเข้ากับเรื่องการพลีชีพของนักบุญที่ชื่อ "วาเลนไทน์" ซึ่งอยู่ในวันที่ใกล้เคียงกัน หากวันวาเลนไทน์มีที่มาจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจริง นั่นเท่ากับว่าไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด เพราะถ้ามุสลิมคนใดมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในวันดังกล่าว ก็เท่ากับว่าเขามีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองพิธีกรรมการรำลึกถึงพระเจ้าลูเปอร์คุสซึ่งเป็นพระเจ้าที่ชาวโรมันสมัยโบราณนับถืออยู่ ดังนั้น วันวาเลนไทน์ที่มาจากความเชื่อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงวันที่ถูกกล่าวถึงวันแห่งความรักประการเดียว ทว่ายังเป็นวันที่รวมเอาความเชื่อ(อะกีดะฮ) ทางศาสนาของชาวโรมันโบราณเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ในหลักการของอิสลามได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนและรัดกุมว่า มุสลิมจะต้องไม่เคารพภักดีหรือเชื่อมั่นพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮเท่านั้น พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน (وَاعْبُدُوا اللَّهَ وَلا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئاً ) (سورة النساء: من الآية 36) ความว่า "และพวกท่านจงเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺเถิด และพวกท่านจงอย่าตั้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์" (อัน-นิสาอ์ : 36) ประเด็นต่อมา ความเชื่อในการรำลึกถึงพระเจ้าลูเปอร์คุสถูกผนวกกับการพลีชีพเพื่อศาสนาของนักบุญที่ชื่อ "วาเลนไทน์" ยิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มุสลิมไม่สามารถร่วมกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ได้เลยแม้แต่น้อย เพราะมุสลิมคนใดก็ตามที่ร่วมฉลองวันวาเลนไทน์ เท่ากับว่าเขาได้ร่วมเฉลิมฉลองแสดงความรำลึกถึงนักบุญที่ชื่อว่าวาเลนไทน์ อีกทั้งยังแสดงความอาลัยต่อการจากไปของนักบุญผู้นั้นอันสืบเนื่องมาจากการพลีชีพเพื่อศาสนาของเขา เพราะหลักการของอิสลามมิได้บัญญัติถึงการอนุญาตให้ร่วมแสดงความอาลัยหรือเฉลิมฉลองให้แก่บุคคลสำคัญท่านใดทั้งสิ้น - ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ข. ข้อสันนิษฐาณเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ในข้อนี้พอสรุปได้ว่า เซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ซึ่งถูกประหารชีวิตในกรุงโรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ.269 หรือ 270 ด้วยสาเหตุข้างต้น จึงกลายมาเป็นวันวาเลนไทน์จวบจนถึงปัจจุบันนี้ หากข้อมูลข้างต้นคือที่มาอันถูกต้องของวันวาเลนไทน์แล้ว ศาสนาอิสลามก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมกิจจกรรมเกี่ยวกับวันดังกล่าว พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่า (لَكُمْ دِينُكُمْ وَلِيَ دِينِ) (سورة الكافرون: 6) ความว่า "สำหรับพวกท่านคือศาสนาของท่าน และสำหรับฉันคือศาสนาของฉัน" (อัล-กาฟิรูน : 6) ประการถัดมา เซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ ซึ่งถูกประหารชีวิตที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ.269 หรือ 270 แสดงให้เห็นว่านักบุญวาเลนไทน์เกิดก่อนท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ประมาณ 300 ปี เพราะท่านนบีเกิดประมาณ ค.ศ.570 แสดงว่าท่านน่าจะต้องทราบเรื่องราวของนักบุญวาเลนไทน์อยู่บ้าง  เพราะผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ที่อาศัยอยู่ในเมืองมักกะฮฺและมะดีนะฮมีจำนวนมากมาย แต่ไม่พบหลักฐานว่าท่านสั่งให้บรรดามุสลิมที่อยู่ร่วมกับท่าน(คือบรรดเศาะหาบะฮ) ทำการเฉลิมฉลองวันแห่งความรักดังกล่าว ใช่แต่เท่านั้น ท่านยังกำชับให้บรรดามุสลิมออกห่างจากการเลียนแบบชนกลุ่มอื่น โดยเฉพาะยะฮูดีย์(ยิว)และนัศรอนีย์(คริสเตียน)ไว้อีกด้วย ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ไม่ใช่พวกเรา ผู้ที่เลียนแบบแนวทางอื่นไปจากเรา พวกท่านอย่าได้เลียนแบบตามพวกยะฮูดีย์และนัศรอนีย์(ยิวและคริสต์)" (อัต-ติรมิซีย์ : 2695) - ข้อมูลชี้แจงข้อ ค. ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ในข้อนี้พอสรุปได้ว่า การฉลองวันวาเลนไทน์เริ่มขึ้นในสมัยกลางของยุโรป แต่เซนต์วาเลนไทน์ซึ่งเป็นนักบุญผู้อุดหนุนคู่รักกลายมาในช่วงหลัง โดยถือว่าเป็นผู่ช่วยเหลือบุคคลที่มีความรักซึ่งตกอยู่ในความทุกข์และถูกขู่บังคับ หากข้อมูลข้างต้นเป็นที่มาที่ถูกต้องของวันวาเลนไทน์ ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมกิจจกรรมในวันดังกล่าวด้วยเช่นกันเพราะนักบุญวาเลนไทน์เป็นผู้อุดหนุนคู่รัก และช่วยเหลือบุคคลที่มีความรักให้สมหวัง หรือช่วยให้ผู้ที่มีความรักที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์ได้รับความสุข ด้วยเหตุดังกล่าว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีจึงเป็นวันแห่งความรัก อันสืบเนื่องมาจากนักบุญวาเลนไทน์ได้ช่วยเหลือบุคคลที่มีความรัก หากมุสลิมร่วมฉลองในวันดังกล่าวก็เท่ากับว่าเห็นด้วยกับแนวคิดของนักบุญวาเลนไทน์ในการให้บุคคลที่มีความรักได้สมหวัง แต่อิสลามสอนให้มุสลิมเห็นด้วยกับแนวทางที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺ และแนวทางที่มาจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เท่านั้น ส่วนแนวทางที่มิได้มาจากพื้นฐานทั้งสองถือว่าจำเป็นต้องละทิ้ง ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า  "สิ่งใดก็ตามที่ฉันสั่งใช้พวกท่าน พวกท่านจงยึดมั่นสิ่งนั้นไว้ และสิ่งใดก็ตามที่ฉันห้ามพวกท่าน พวกท่านจงละทิ้งสิ่งนั้นเสีย" (อิบนุ มาญะฮฺ : 1-2) ประการต่อมา อิสลามไม่อนุมัติให้เชื่อฟังและปฎิบัติตามแนวความคิดของบรรดานักพรต บาทหลวง หรือผู้นำของศาสนาอื่นได้เลย ท่านอะดีย์ บุตรของหาติม กล่าวว่า "ฉันมาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่ฉันสวม(สร้อยคอ)ไม้กางเขนซึ่งทำมาจากทองที่คอของฉันเมื่อท่านนบีเห็นเช่นนั้นจึงกล่าวแก่ฉันว่า "โอ้อะดีย์ท่านจงโยนรูปเจว็ดนั้นทิ้งไปเสียเถิด!" จากนั้นฉันได้ยินท่านนบีอ่านอายะฮฺในสูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ ว่า (اتَّخَذُوا أَحْبَارَهُمْ وَرُهْبَانَهُمْ أَرْبَاباً مِنْ دُونِ اللَّهِ ) (سورة التوبة: من الآية 31) ความว่า "พวกเขาได้ยึดเอาบรรดาพวกนักพรต(นักปราชญ์ของยิว) และบรรดาบาทหลวง(ของคริสเตียน) ของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากพระองค์อัลลอฮฺ" (อัต-เตาบะฮฺ : 31)  แล้วท่านนบีกล่าวต่ออีกว่า "พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพวกเขามิได้เคารพบรรดาบาทหลวงของพวกเขาหรอก แต่ทว่าเมื่อพวกเขา(หมายถึงนักปราชญ์ของยิว และบรรดาบาทหลวงของคริสเตียน)ทำสิ่งหนึ่งให้เป็นที่อนุมัติแก่พวกท่าน พวกท่านก็ทำให้สิ่งนั้นเป็นที่อนุมัติไปด้วย และเมื่อพวกเขาทำให้สิ่งหนึ่งเป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกท่าน พวกท่านก็จะทำให้สิ่งนั้นเป็นที่ต้องห้ามไปด้วย" (อัต-ติรมิซีย์ : 3095) คำกล่าวของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สิ่งใดก็ตามที่มาจากนักปราชญ์ของยิวหรือบรรดาบาทหลวงของคริสเตียน หรือบรรดาผู้นำจากศาสนาอื่นๆ ซึ่งเป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเขา มุสลิมจะนำมาปฏิบัติไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะการปฏิบัติตามพวกเขาถือเสมือนหนึ่งว่าได้ไปเคารพภักดีพวกเขาแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงภาพแห่งความเคารพด้วยท่าทางก็ตาม แต่เป็นการเคารพทางความคิดที่ถูกกลั่นกรองมาจากพื้นฐานเดิมของศาสนาที่พวกเขานับถืออยู่ ดังที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งให้ท่านอะดีย์โยนสร้อยคอที่มีรูปไม้กางเขนทิ้ง  เนื่องจากไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าท่านอะดีย์จะไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม แต่ประหนึ่งว่าท่านอะดีย์ได้เชื่อฟังคำสั่งของบาทหลวงของพวกเขาที่สั่งใช้ให้แขวนไม้กางเขนดังกล่าว ถ้าเช่นนั้นผู้เขียนขอถามมุสลิมว่า วันวาเลนไทน์มาจากแห่งใด? วันวาเลนไทน์มาจากตาสีตาสาตามท้องไร่ท้องนาใช่ไหม? บุคคลที่กำหนดวันวาเลนไทน์คือบุคคลที่เลี้ยงแพะเลี้ยงแกะใช่ไหม? ฉะนั้น จึงไม่ต้องตั้งคำถามอีกแล้วว่า มุสลิมจะร่วมกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ได้หรือไม่? เพราะผู้เขียนเชื่อว่าพี่น้องมุสลิมทุกท่านคงตอบคำถามข้างต้นนี้ได้ทุกคน - ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ง. ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวาเลนไทน์ในข้อนี้พอสรุปได้ว่า การฉลองวันวาเลนไทน์เป็นเรื่องบังเอิญซึ่งไม่เป็นความจริง เพียงแต่ไปผนวกไว้กับช่วงที่นกเริ่มฤดูผสมพันธุ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวยุโรปในสมัยกลาง หากข้อสันนิษฐานข้างต้นคือที่มาของวันวาเลนไทน์ที่แท้จริงแล้ว ศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดเข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้นอย่างเด็ดขาด ประการแรก มุสลิมจะไม่เชื่อโชคลางใดๆทั้งสิ้น ไม่เชื่อว่าเมื่อนกผสมพันธุ์กันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะกลายเป็นวันแห่งความรักของมนุษย์ด้วย ประการที่สอง มุสลิมจะต้องมอบหมายตนต่อพระองค์อัลลอฮเพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่อนุญาตให้มุสลิมมอบหมายตนยังสิ่งอื่น หรือมีความเชื่อต่อวันและเวลาอย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่น หากมุสลิมผู้หนึ่งกล่าวอ้างว่า ถ้าแต่งงานในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ชีวิตคู่ของบ่าวสาวภายหลังจากนั้นจะมีแต่ความสุขสดชื่นตลอดไป ตามหลักการถือว่ามุสลิมผู้นั้นได้ตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮแล้ว เนื่องจากเขาถือชีวิตคู่จะมีความสุขไม่ได้นอกจากจะต้องแต่งงานกันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์เท่านั้น เช่นนี้ถือว่ามุสลิมผู้นั้นมิได้มอบหมายตนต่อพระองค์อัลลอฮ แต่มอบหมายตนต่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์แทน ประการที่สาม ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมทำการอวยพรหรือแสดงความยินดีสำหรับผู้ที่แต่งงานในวันวาเลนไทน์ด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคคลอื่นมีความเชื่อต่อวันดังกล่าวว่าเป็นวันแห่งความดีงามและจะมีความรักอันยั่งยืนตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ (ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด) ประการที่สี่  เนื่องจากชาวยุโรปในสมัยกลางมีความเชื่อว่านกเริ่มผสมพันธุ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์จึงผนวกเข้ากับวันวาเลนไทน์ ซึ่งถือว่าเป็นวันแห่งความรักจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เช่นนี้เองศาสนาจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว เพราะถือว่าไปนำแบบอย่างของศาสนาอื่นมาปฏิบัติ ซึ่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า "บุคคลใดที่เลียนแบบกลุ่มชนอื่น ดังนั้นเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มนั้นด้วย" (อบู ดาวูด 4031) - ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ จ. หากข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์มีข้อสรุปว่า ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ถือว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อระลึกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของนักบุญที่ชื่อ วาเลนตินัส เช่นนั้นศาสนาอิสลามก็ไม่อนุมัติให้มุสลิมร่วมกิจกรรมดังกล่าว ประการแรก การกำหนดวันวาเลนไทน์นั้นมาจากศาสนาคริสต์ ซึ่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวสำทับต่อบรรดามุสลิมว่า "พวกท่านจงอย่าเลียนแบบตามชาวยะฮูดีย์(ยิว) และชาวนัศรอนีย์(คริสเตียน)" (อ้างแล้ว) ฉะนั้น มุสลิมจึงต้องเข้มงวดในเรื่องการไม่ปฎิบัติตามพฤติกรรมที่มีพื้นฐานความเชื่อมาจากศาสนาอื่น ประการที่สอง ศาสนาจะอนุญาตให้ปฏิบัติตามแนวทางของศาสนาอื่นได้ โดยมีเงื่อนไขว่าท่านนบีจะต้องเป็นผู้อนุมัติสิ่งนั้นเสียก่อน หรือท่านนบีปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่น การถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมุหัรร็อม ซึ่งครั้งหนึ่งนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เดินทางกลับมายังเมืองมะดีนะฮฺ ก็พบว่าพวกยิวกำลังถือศีลอดอยู่ ท่านนบีจึงเอ่ยถามขึ้นว่า พวกท่านถือศีลอดอะไรกัน? พวกเขาตอบว่า วันนี้(หมายถึงวันที่ 10 มุหัรร็อม ) พระองค์อัลลอฮฺทรงช่วยเหลือนบีมูซา(โมเสส)ในวันดังกล่าว ส่วนฟิรเอาน์จมน้ำสิ้นชีวิต(ในวันนั้นด้วย) ดังนั้นท่านนบีมูซาจึงถือศีลอดในวันดังกล่าวเพื่อขอบคุณ(ต่อพระองค์อัลลอฮฺ) ท่านนบีจึงกล่าวขึ้นว่า เรามีสิทธิต่อท่านนบีมูซามากกว่าพวกท่าน และท่านนบีจึงได้กำชับให้บรรดามุสลิมถือศีลอดกันในวันนั้น ถึงแม้ว่าท่านนบีจะกำชับให้ถือศีลอดในวันดังกล่าว แต่ทว่าท่านก็ยังได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติตัวของมุสลิมชาวยิว โดยให้บรรดามุสลิมถือศีลอดในวันที่ 9 มุหัรร็อมเพิ่มอีกหนึ่งวัน และท่านนบียังตั้งเจตคติไว้ว่า เมื่อถึงเดือนมุหัรร็อมในปีหน้าจะถือศีลอดในวันที่ 9 เพิ่มอีกวันหนึ่ง ครั้นยังไม่ถึงปีหน้าท่านนบีก็สิ้นชีวิตเสียก่อน จึงเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้บรรดามุสลิมถือศีลอดในวันที่ 9 และ 10 ของเดือนมุหัรร็อมรวมเป็นสองวัน ซึ่งต่างจากชาวยิวที่ถือศีลอดเพียงวันเดียว ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ฉ. ประเด็นชี้แจงเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์สำหรับข้อนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเนื้อหาก็ไม่แตกต่างจากประเด็นอื่นๆ ซึ่งได้อธิบายมาแล้วค่อนข้างละเอียด ดังนั้นจึงไม่ขออธิบายอีก สรุป จากรายละเอียดที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด พอที่จะสรุปให้เป็นบทเรียนและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้ 1. มุสลิมจะต้องไม่นำสิ่งอื่นที่มิใช่อิสลาม หรือนำระบอบการดำเนินชีวิตอื่นจากอิสลามมาปฏิบัติ ดังที่พระองค์อัลลอฮได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า (وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ الْإِسْلامِ دِيناً فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْهُ ) (سورة آل عمران: من الآية 85) ความว่า "และบุคคลใดก็ตามที่แสวงหาศาสนาอื่นจากศาสนาอิสลาม ศาสนานั้นจะไม่ถูกรับจากเขา (หมายความว่าพระองค์อัลลอฮจะไม่ทรงรับศาสนานั้นจากเขาเป็นอันขาด)" (อาล อิมรอน : 85) ดังนั้นวิถีชีวิตของมุสลิมจะต้องดำเนินตามแนวทางของอิสลามเท่านั้น จะนำวิถีอื่นจากอิสลามมาปฏิบัติมิได้ หากมุสลิมไปปฏิบัติตามแนวทางอื่น แน่นอน การงานที่เขาปฏิบัตินั้นจะไม่ถูกตอบรับจากพระองค์อัลลอฮอย่างเด็ดขาด ดังที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ในอายะฮฺอัลกุรอานข้างต้น 2. ไม่อนุญาตให้มุสลิมเลียนแบบพฤติกรรมพวกยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวเตือนไว้ว่า "แน่นอนอย่างยิ่ง พวกท่านจะปฏิบัติตามแนวทางของกลุ่มชนก่อนหน้าพวกท่านคืบตามคืบ ศอกตามศอก ตามจนกระทั่งว่า หากพวกเขาเข้าลงรูแย้ พวกท่านก็จะตามพวกเขาเข้ารูแย้เช่นกัน" บรรดาเศาะหาบะฮกล่าวถามว่า "พวกเราจะตามพวกยะฮูดีย์และนัศรอนีย์ใช่ไหม?"  ท่านนบีตอบว่า "แล้วจะมีพวกไหนอีกล่ะ!" (อัล-บุคอรีย์ : 3269 มุสลิม : 2669) คำกล่าวของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ข้างต้นได้ฉายภาพแห่งการเลียนแบบได้อย่างชัดเจนที่สุด มุสลิมจะเลียนแบบพวกยิว และคริสเตียนทุกย่างก้าว ไม่ว่าพวกเขาจะปฏิบัติอย่างไร มุสลิมเก็บตกมาปฏิบัติจนเกือบหมดไม่เว้นแม้แต่วันวาเลนไทน์ซึ่งมาจากศาสนาคริสเตียนอันเป็นที่รู้กันดีอยู่ แต่มุสลิมก็ยังปฏิบัติตามพวกเขาอยู่ ทั้งๆที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวสำทับไว้อย่างหนักแน่นว่า อย่าเดินตามแนวทางของพวกเขาโดยเด็ดขาด เพราะมิเช่นนั้น แล้วภาพลักษณ์ของความเป็นมุสลิมจะหายไป แล้วมีมุสลิมกี่คนที่ตอบสนองต่อคำสอนและคำสำทับดังกล่าวนั้น 3. มุสลิมจะต้องดำเนินชีวิตอย่างคนแปลกหน้า ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า "แท้จริง อิสลามเริ่มต้นอย่างคนแปลกหน้า และจะหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่งอย่างคนแปลกหน้า ดังนั้นจงแจ้งข่าวดีกับคนแปลกหน้าเถิด(คนแปลกหน้าหมายถึง) บรรดาผู้ซึ่งฟื้นฟูแนวทางของฉันขณะที่ผู้คนทั้งหลายสร้างความเสื่อมเสียภายหลังจากฉัน(หมายถึงภายหลังจากที่ท่านนบีมุหัมมัดสิ้นชีวิตไปแล้ว)” (มุสลิม : 145, อะห์มัด : 16736 สำนวนนี้เป็นของท่าน) ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กำลังจะบอกกับบรรดามุสลิมว่า ให้มุสลิมดำรงชีวิตเฉกเช่นคนแปลกหน้า แปลกหน้าในที่นี้หมายถึงให้ปฏิบัติตามแนวทางที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺ และแนวทางที่มาจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในการใช้ชีวิตประจำวัน ถึ